รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรณี เป็นประธานการประชุมโต๊ะกลมครั้งที่สองของบรรดารัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับกิจการเหมืองแร่ นาย บันดาร์ อัล-โคราเยฟ กล่าวเปิดการประชุมซึ่งจัดขึ้นภายใต้กรอบของการประชุมกิจการเหมืองแร่นานาชาติ ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 10-12 มกราคม 2023 ภายใต้การกำกับดูแล ของผู้รับใช้มัสยิด อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองแห่ง กษัตริย์ซัลมาน บิน อับดุลลาซิซ
อัล-โคราเยฟ กล่าวว่า “การประชุมโต๊ะกลมครั้งที่สองของรัฐมนตรี สอดคล้องกับบทบาทสำคัญของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ในการกำหนดการเปลี่ยนแปลงของเราไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนและนำมาซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นธรรม”
และยังได้ชี้ให้เห็นว่าภูมิภาคการขุดเหมืองแร่ที่เกิดขึ้นใหม่ ที่ขยายจากแอฟริกาไปยังตะวันตกและเอเชียกลาง มีศักยภาพและมีแนวโน้มในการขุดเจาะเหมืองแร่ และสามารถลดช่องว่างที่คาดว่าจะได้รับจากความต้องการในอนาคต
เขาได้ระบุต่อว่า ทุกประเทศที่เข้าร่วมการประชุม มีความเห็นเป็นเสียงเดียวกันเกี่ยวกับความจำเป็นในการทำงาน เพื่อรักษาอนาคตของห่วงโซ่อุปทานสำหรับแร่ธาตุ เพื่อให้บรรลุการเปลี่ยนผ่านพลังงานสีเขียวทั่วโลก และการพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในภาคการขุดเหมืองแร่และโลหะ โดยกล่าวว่า “สำหรับพวกเรา มีเสียงที่หนักแน่นขึ้นเมื่อต้องตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของเรา และเราร่วมกันกำหนดอนาคตของการขุดเหมืองแร่และแร่ธาตุได้ และร่วมกันสร้างเส้นทางสู่อนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
ในส่วนของผู้เข้าร่วมการประชุมต่างยกย่องโครงการ Middle East Green Initiative และการเริ่มต้นโครงการประชุมเหมืองแร่นานาชาติครั้งที่ 2 ซึ่งนำโดยเจ้าชาย มูฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอาซิซ มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรี และความคิดริเริ่มบุกเบิกที่ซาอุดีอาระเบียนำมาใช้เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านสภาพอากาศ
ผู้เข้าร่วมประชุมต่างชื่นชมความพยายามของวิสัยทัศน์ของซาอุดีอาระเบีย 2030 ซึ่งถือว่าภาคเหมืองแร่เป็นหนึ่งในรากฐานของเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นขุมทรัพย์ที่สำคัญลำดับที่สามของอุตสาหกรรมประเทศ บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมต่างชื่นชมบทบาทของมงกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรี เพื่อพัฒนาภาคการขุดเจาะเหมืองแร่
และได้ชี้แจงกับบรรดานักข่าวในตอนท้ายของการประชุม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจาก 60 ประเทศ ซึ่งเป็นตัวแทนและรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศต่างๆ และองค์กรต่างๆ ระบุว่า ผู้เข้าร่วมหารือเกี่ยวกับความท้าทายโดยรวมที่ภาคการขุดเหมืองแร่ทั่วโลกเผชิญอยู่ และเน้นว่าหนึ่งในความท้าทายที่โดดเด่นที่สุด คือความต้องการแร่ธาตุที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำเหมืองแร่ที่ต้องช่วยการลดโลกร้อน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ตกลงในสำหรับครั้งแรกของข้อตกลงปารีสในปี 2015 และในการประชุมครั้งที่ 27 ซึ่งเป็นการประชุมภาคีข้อตกลงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเพิ่งจัดขึ้นที่เมืองชาร์ม เอล-ชีค ประเทศอียิปต์ที่ผ่านมา
จากคำแถลงระบุว่าการหารือโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีครั้งที่สองมุ่งเน้นไปที่แกน 4 แกน แกนแรกคือความสามารถของภูมิภาคในการตอบสนองความต้องการแร่ธาตุที่สำคัญของโลกและเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ แกนที่สองคือการสร้างความเชื่อมั่นของชุมชนโดยการดำเนินงานเหมืองแร่ด้วยความรับผิดชอบ และใช้มาตรฐานระดับสูงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และแกนที่สามกำลังหารือถึงโอกาสในการมีส่วนร่วมและความร่วมมือในการพัฒนากลยุทธ์แร่ธาตุที่สำคัญและเชิงกลยุทธ์ และสิ่งที่โลกคาดหวังจากภูมิภาคเหมืองแร่ในเรื่องนี้
ในแกนที่สี่ ผู้เข้าร่วมการประชุมหารือถึงวิธีการทำให้ “ศูนย์กลางความเป็นเลิศ” เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์สำหรับเหมืองแร่ที่สำคัญ เพื่อให้ภูมิภาคตระหนักถึงศักยภาพในการพัฒนา โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาแรงงาน ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และนวัตกรรม