ผู้สื่อข่าวรายงาน วันนี้ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เครือข่าย หมู่ที่19 บ้านหนองโสน ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว นายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานในพิธิ โดยมี นายประจักร์ ประสงค์สุข เกษตรจังหวัดสระแก้ว นายเอกภพ โสภณ นายอำเภอเมืองสระแก้ว หัวหน้าส่วนราชการ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก
นายประจักร์ ประสงค์สุข เกษตรจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการจัดงานวันถ่ายทอดความรู้และสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรทดแทนการเผา ภายใต้โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร จากสถานการณ์วิกฤตหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดขึ้น ในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่ต้นปี 2563 มาจนถึงปัจจุบัน กรมส่งเสริมการเกษตรได้ตะหนักถึงปัญหาและความเดือดร้อนดังกล่าว และในฐานะที่ได้รับรับมอบหมายให้ดำเนินการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ได้พยายามดำเนินการในทุกช่องทางให้เกษตรกรลดการเผาในพื้นที่การเกษตร โดยกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม และดำเนินการ ดังนี้ การสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์เชิงรุก จัดกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยในช่วงเดือนธันวาคม 2565 ถึงมกราคม 2566 ดำเนินการจัดงานรณรงค์ในท้องถิ่น จำนวนหลายครั้ง ในพื้นที่จังหวังสระแก้ว ทั้งงานที่จัดเฉพาะการรณรงค์หยุดเผาและที่จัดแบบบูรณาการร่วมกับกิจกรรมอื่นของกรมส่งเสริมการเกษตร การส่งเสริมแนวทางการเกษตรยั่งยืนเพื่อลดการเผาในพื้นที่การเกษตร โดยการถ่ายทอดความรู้ และสนับสนุนการทำการเกษตรปลอดการเผา ที่มุ่งเน้นให้มีการจัดการเศษวัสดุภาคการเกษตรโดยไม่เผาด้วยวิธีที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาและสภาพพื้นที่ เช่น การไถกลบตอซัง การทำปุ๋ยหมัก การผลิตพลังงานทดแทน การเพาะเห็ดฟาง รวมทั้งส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจบนพื้นที่สูง เป็นต้น
ด้านนายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า งานวันถ่ายทอดความรู้และสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรทดแทนการเผา ภายใต้โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่ง ของการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกอ้อยที่มีการเผา เพื่อการเก็บเกี่ยว อันมีสาเหตุมาจากจำนวนรถตัดอ้อยไม่เพียงพอ แรงงานตัดอ้อยไม่สะดวกในการตัดอ้อยสด รวมทั้งระยะการปลูกที่ไม่เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อย สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว จึงร่วมกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสระแก้ว สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดสระแก้ว และบริษัทน้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) จัดงานในครั้งนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการรับรู้ ให้เกษตรกรตระหนักถึงผลเสียที่จะได้รับจากการเผาในพื้นที่การเกษตร และแนวทางการจัดการพื้นที่เกษตรและเศษวัสดุทางการเกษตรทดแทนการเผา รวมทั้งเป็นช่องทางแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรประกอบการตัดสินใจลงทุนจัดหาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการผลิต เพื่อก้าวไปสู่การผลิตแบบมืออาชีพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างรายได้อย่างยั่งยืนในการผลิตอ้อย และส่งเสริมให้ผู้รับจ้าง เข้ามาให้บริการตัดอ้อยได้ทันเวลาต่อการเก็บเกี่ยว โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย
นายพงษ์ปิติ วงศ์ประเทศ ผู้อำนวยการสายเกษตร กล่าวว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์วิกฤตหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดขึ้น ในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่ต้นปี 2563 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสาเหตุหลักประการหนึ่งเกิดจากการเผาในพื้นที่การเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกสำหรับฤดูถัดไป และการเผาเพื่อเก็บเกี่ยวอ้อย ทำให้เกิดหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็กดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตร กล่าวคือ ทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งรัฐบาลจึงได้ให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบดำเนินการควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตร และมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่ มีเป้าหมายในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และนำเสนอทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรทดแทนการเผา สร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผา รวมทั้งสร้างต้นแบบในการเกษตรปลอดการเผาเพื่อสนับสนุนการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร