ชาวบ้าน คัดค้าน แผนศึกษาก่อสร้างสะพานข้ามแยกพัทยาใต้ หวั่นเศรษฐกิจซบเซา ด้านนายกเมืองพัทยา ชี้เป็นแค่การศึกษารองรับการแก้ไขปัญหาการจราจร ยันไม่มีงบประมาณก่อสร้างและไม่เคยเสนอของบส่วนกลาง พร้อมทบทวนแผนเพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์สูงสุด
(26ม.ค.66) ที่วัดธรรมสามัคคีพัทยาใต้ ดร.มาย ไชยนิตย์ อดีตนายกเมืองหนองปรือ ร่วมกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ จากโครงการศึกษาความเหมาะสม สำรวจ ออกแบบทางแยกต่างระดับจุดตัดถนนสุขุมวิทกับถนนพัทยาใต้ เมืองพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ได้รวมตัวคัดค้าน พร้อมนำเสนอทางออก เพื่อขอให้เมืองพัทยายกเลิกแนวทางการก่อสร้างแยกต่างระดับจุดตัดถนนสุขุมวิทกับถนนพัทยาใต้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนและชุมชน และยังสามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้อีกด้วย โดยมี นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา คณะผู้บริหารเมืองพัทยา และสมาชิกสภาเมืองพัทยา ร่วมกับฟังข้อเสนอแนะและชี้แจงรายละเอียดให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ในการประชาคมชุมชน รับฟังปัญหาชุมชนวัดธรรมสามัคคี พัทยาใต้
ดร.มาย ไชยนิตย์ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองหนองปรือ ได้เสนอปัญหาผลกระทบหากเมืองพัทยามีการก่อสร้างสะพานลอยข้ามแยกพัทยาใต้ ว่า ต้องของขอบคุณเมืองพัทยาที่มีแนวคิดจะดำเนินการพัฒนาเสริมสร้างสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดี แต่เหรียญก็มีสองด้านมีทั้งด้านบวกและลบ หลายโครงการหลายคนก็มองว่าเหมาะสม แต่อีกหลายโครงการและหลาย ๆคนที่มองอีกแง่มุมหนึ่งก็จะเกิดปัญหาผลกระทบด้านมลภาวะสุขภาพร่างกาย สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ ปัจจุบันนั้นตัวเองมาอาศัยอยู่ในเมืองพัทยาบ้านอยู่บริเวณตรงข้ามตำรวจทางหลวง โครงการศึกษาความเหมาะสม สำรวจ ออกแบบทางแยกต่างระดับจุดตัดถนนสุขุมวิทกับถนนพัทยาใต้ เมืองพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี นั้นส่งผลกระทบโดยตรงกับตัวเองและครอบครัว โครงการปรับปรุงการจราจรถนนสายสุขุมวิท จะเห็นว่า มพย.ได้ทำผ่านมา 1 โครงการซึ่งโครงการระดับ A+ คือ อุโมงค์ลอดสะพานทางแยกต่างระดับต่าง ๆ ก็ได้อำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชนได้ใช้ชีวิตได้อย่างรวดเร็วขึ้น มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม
ส่วน โครางการที่ 2 คือ โครงการอุโมงค์ลอดพัทยาใต้-เทพประสิทธิ์ คงจะเป็นการก่อสร้างระนาบเดียวกัน แต่ว่าโครงการนี้ติดปลายนวมมาด้วยคือ “สะพานลอย” ส่วนตัวไม่ทรบว่าเหตุผลและแนวคิดของเจ้าของโครงการในการเพิ่มเติมสะพานลอยเข้าไป ว่ามีเหตุผลอะไรบ้าง จะเกิดประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนมากกว่าอุโมงค์เพิ่มขึ้นอีกมากมายหรือไม่ ซึ่งหลังได้พูดคุยกับผู้ใหญ่หลาย ๆ ฝ่ายเกี่ยวกับแผนการก่อสร้างดังกล่าว ทั้งนี้การก่อสร้างสะพานลอยหากไปสร้างอยู่กลางทุ่ง ข้างเขา ริมทะเล ซึ่งไม่มีบ้านคนมันก็อำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชนได้อย่างเต็มที่ แต่ทีนี้สร้างพาดผ่านชุมชนหนาแน่น รถวิ่งวันหนึ่ง 5,000 คัน ฝุ่นควันไอเสียเท่าไร ละอองฝุ่นมากมาย นอกจากควันไอเสียมลภาวะต่าง ๆ แล้ว มันก็ยังมีมลภาวะทางเสียง นอกจากนั้นยังมีระหว่างการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างครอบคลุมถนน ทำให้สภาพภูมิทัศน์ของพัทยาใต้เสียหายไป ซึ่งปัญหาเหล่านี้อยากให้ทุกภาคส่วนมีการพูดคุยหารือร่วมกันสิ่งที่คิดไว้นั้นอาจจะก่อประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนบ้าง แต่ว่าผลเสียก็เยอะกว่า วันนี้ตัวเองและประชาชนจึงเข้ามาเพื่อที่จะให้ข้อเสนอในการที่จะทำโครงการนี้ แต่วิธีการที่ได้ยินได้ฟังคือบอกว่ายกเลิกโครงการ หรือไม่ยกเลิกโครงการเฉพาะสะพานลอย การยกเลิกโครงการถ้ายกเลิกในที่ประชุมเฉย ๆ มันไม่จบ วันดี คืนดีก็มาอีก เพราะมีแผนขบวนการก่อสร้างมันอยู่ในกองช่าง มันอยู่ในแผนงบประมาณเมืองพัทยา มันอยู่ในแผนงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลาง วันดีคืนดีก็มีการไปขอมาอีก มันก็กลายเป็นเรื่อง เพราะฉะนั้นการประชุมวันนี้ก็คือ ถ้าไม่เอาจะต้องยกเลิกแผนโดยมีมติให้เมืองพัทยายกเลิกแผนการสร้างสะพานลอย คือจะไม่มีในแผนงบประมาณ แผนพัฒนาไม่ว่าจะย้อนไป 20 ปี 15 ปีก็แล้วแต่ มันจะได้จบ ทั้งนี้ฝากรองนายก สม. ประธานสภา อบจ. ว่าโครงการนี้ไปทำต่อให้จบ ไม่ต้องไปทำอะไรแล้วหาเงินมาลงอย่างเดียว ประมาณ 600 ล้านบาท 3 ปีก็เสร็จแล้วมันก็จะเหมือนถนนข้าวหลาม บางแสน จะทำให้เมืองพัทยา หนองปรือ คล่องสัญจรไปมาได้มากขึ้น
ด้าน นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา ได้กล่าวชี้แจงกับชาวบ้านที่รวมตัวคัดค้านโครงการศึกษาความเหมาะสม สำรวจ ออกแบบทางแยกต่างระดับจุดตัดถนนสุขุมวิทกับถนนพัทยาใต้ เมืองพัทยา ว่า สำหรับการทำประชาพิจารณ์ในโครงการต่าง ๆนั้นจะให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบเป้นผู้มีสิทธิ์ออกเสียงก่อน และการรับฟังความคิดเห็นต่อไปจะเป็นสิทธิ์ของผู้ที่สัญจรไปมา ซึ่งการทำประชาพิจารณ์อุโมงทางลอดพัทยากลางครั้งแรกได้รับเสียงคัดค้านต่าง ๆนานา เมืองพัทยาก็ได้มีการพูดคุยสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับส่วนรวม จึงได้มาซึ่งอุโมงค์ทางลดพัทยาจนถึงทุกวันนี้
ส่วนพื้นที่พัทยาใต้ที่เมืองพัทยาได้มีการดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสม สำรวจ ออกแบบทางแยกต่างระดับจุดตัดถนนสุขุมวิทกับถนนพัทยาใต้ เมืองพัทยา โดยได้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาแล้วถึง 3 ครั้ง โดยการทำประชาพิจารณ์ครั้งที่ 3 เป็นการทำผ่านระบบอนไลน์ ซึ่งในการทำประชาพิจารณรับฟังความคิดเห็นนั้นได้มีทางเลือกรูปแบบ 3 รูปแบบเสนอให้กับประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมเสนอความคิดเห็น ประกอบด้วย 1.รูปแบบอุโมงค์ทางลอด (tunel) ซึ่งจะก่อสร้างเป็นรูปแบบอุโมงค์บนถนนสุขุมวิท ยาวเพื่อลอดใต้ผ่าน 2 ทางแยก คือ แยกพัทยาใต้และแยกเทพประสิทธิ์ แบ่งเป็น 4 ช่องจราจร ระยะทางยาวรวมกว่า 2 กม. 2.รูปแบบสะพานยกระดับ (Over pass) ซึ่งก่อสร้างบนถนนสุขุมวิทขนาด 4 ช่องจราจรไปกลับ เพื่อข้ามแยกพัทยาใต้ซึ่งเป็นจุดตัดจากนั้นจึงลดระดับลงมาที่ระดับถนนจนเมื่อถึงทางแยกเทพประสิทธิ์จะก่อสร้างสะพานยกระดับอีก 1 สะพานเพื่อข้ามแยกเทพประสิทธิ์ และ 3.รูปแบบสะพานยกระดับและอุโมงค์ทางลอด (Over pass & tunel) โดยจะทำการก่อสร้างสะพานยกระดับบนถนนสุขุมวิทเพื่อข้ามจุดตัดทางแยกพัทยาใต้ก่อนจะลดระดับลงมาที่ระดับถนนนั้น ซึ่งการทำประชาพิจารณ์นั้นอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำหใประชาชนบ้างกลุ่มบางคนอาจจะยังไม่ได้รับข้อความข้อมูลเท่าที่ควร ทั้งนี้ข้อสรุปจากการทำประชาพิจารณทั้ง 3 ครั้ง พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นชอบรูปแบบสะพานยกระดับและอุโมงค์ทางลอด (Over pass & tunel) อย่างไรก็ตามการจะดำเนินโครงการก่อสร้างนั้นหากมีผลกระทบและมีการร้องเรียนเข้ามา การทบทวนโครงการก็สามารถกลับมาทำใหม่ได้
นายกเมืองพัทยา ชี้แจงต่ออีกว่า ทั้งนี้โครงการศึกษาความเหมาะสม สำรวจ ออกแบบทางแยกต่างระดับจุดตัดถนนสุขุมวิทกับถนนพัทยาใต้ เมืองพัทยา นั้นยังไม่มีการขยับดำเนินการอะไรใด ๆทั้งนั้น มีเพียงแต่การศึกษาออกแบบรับฟังความคิดเห็นของผู้มาส่วนได้ส่วนเสียเท่านั้น ไม่ได้มีการตั้งงบประมาณด้วยโครงการดังกล่าวใช้งบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างสูง ซึ่งงบประมาณของเมืองพัทยาลำพังจะมาดำเนินการก่อสร้างคงไม่เพียงพอที่มานำมาอุดหนุนการก่อสร้าง หากจะมีการก่อสร้างจะต้องใช้งบประมาณของกระทรวงคมนาคม ทั้งยังขอยืนยันว่าเมืองพัทยาไม่ได้มีการเสนอของบอุดหนุนไปยังกระทรวงมหาดไทย ด้วยการก่อสร้างโครงการดังกล่าวยังมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบ อีกทั้งการจะใช้งบประมารของเมืองพัทยาโดยตรงนั้นก็จะเป็นการใช้งบประมาณผูกพันหลายปี ทำให้เมืองพัทยาไม่สามารถนำงบประมาณมาบริหารงานส่วนอื่น ๆได้
ทั้งนี้ในที่ประชุมประชาคมชุมชน รับฟังปัญหาชุมชนวัดธรรมสามัคคี พัทยาใต้ชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์คัดค้านการก่อสร้างสะพานข้ามแยกพัทยาใต้ ทุกรูปแบบ หวันเศรษฐกิจซบเซา….