วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกไม่มีหมวดหมู่สอท.จับแก๊งค์สวมรอยธนาคาร ใช้เครื่องส่งสัญญาณส่ง SMS ยึดอุปกรณ์การส่งสัญญาณ 5 เครื่อง ส่งสัญญาณได้ครั้งละ 20,000 เครื่อง

Related Posts

สอท.จับแก๊งค์สวมรอยธนาคาร ใช้เครื่องส่งสัญญาณส่ง SMS ยึดอุปกรณ์การส่งสัญญาณ 5 เครื่อง ส่งสัญญาณได้ครั้งละ 20,000 เครื่อง

วันที่ 25 พ.ค. พล.ต.อ. ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม , สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กสทช. , ผู้แทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย และเครือข่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ร่วมแถลงข่าวการจับกุมขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พร้อมตรวจยึดรถโมบายเคลื่อนที่ และอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญาณส่ง SMS ที่ใช้ในการส่งลิงก์ปลอมเป็นธนาคารและหน่วยงานต่าง ๆ

ตำรวจพบว่ากลุ่มขบวนการที่กระทำความผิด จะนำเครื่องจำลองสถานีฐาน (False Base Station) ใส่ไว้ในรถที่มีการดัดแปลง ก่อนขับออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยหากรถแล่นผ่านไปทางใดก็จะส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์มือถือที่อยู่บริเวณใกล้เคียง เพื่อส่งข้อความสั้น (SMS) ในลักษณะลิงก์ปลอม อ้างชื่อเป็นสถาบันการเงิน , กรมสรรพากร หรือ การไฟฟ้า เป็นต้นโดยหากประชาชนหลงเชื่อและกดลิงก์ดังกล่าว ก็จะถูกให้ติดตั้งแอพพลิเคชั่นควบคุมเครื่องระยะไกล โดยสามารถโอนเงินออกจากบัญชีธนาคารของเครื่องโทรศัพท์ที่ติดตั้งแอพพลิเคชั่นประเภท Mobile Banking ได้ทันที

ผบ.ตร.เปิดเผยว่า คดีอาชญากรรมออนไลน์ถือเป็นปัญหาที่สำคัญที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนจำนวนมาก ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการทำระบบรับแจ้งความออนไลน์ในปี 2565 ซึ่งเป็นการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรัฐบาลได้ออก พ.ร.ก. มารตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 มาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา ซึ่งตั้งแต่มีนาคมถึงพฤษภาคม พบความเสียหายจากการหลอกลวงสูงถึงกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งกรณีแอปดูดเงิน ได้มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ด้วยการใช้เครื่องมือส่งสัญญาณ sms อ้างอิงเป็นสถาบันการเงินหรือหน่วยงานอื่น ๆ ไปยังมือถือของประชาชน โดยแต่ละเครื่องสามารถต่อส่งข้อมูลได้ถึง 20,000 เครื่อง ซึ่งคนร้ายมีเครื่องมือดังกล่าวถึง 5 เครื่องด้วยกัน

พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท.(กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี )ระบุว่า การจับกุมในครั้งนี้ อาศัยความร่วมมือจากธนาคารที่ให้ข้อมูล โดยธนาคารพบว่า ที่ผ่านมามีการแจ้งร้องเรียนอย่างน้อย 10,000 สายต่อวัน ถูกส่งมาที่ธนาคาร ซึ่ง สอท.ได้นำข้อมูลของธนาคารที่ได้มา ไปเชื่อมโยงกับข้อมูลของเครือข่ายโทรศัพท์ต่าง ๆ จนได้เส้นทางของคนร้าย ก่อนสะกดรอยจนสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ทั้งหมด 6 คน ยึดรถได้ 4 คัน อุปกรณ์ในการส่งสัญญาณ หรือ สถานีหลอก ได้ 5 เครื่อง โดยในชั้นจับกุมผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา โดยให้การว่าได้รับการติดต่อว่าจ้างจากคนรู้จักที่ทำงานอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะได้รับค่าจ้างสำหรับการวิ่งส่งสัญญาณเดือนละ 80,000 บาทซึ่งสิ่งที่ต้องแจ้งเตือนประชาชน คือ ปัจจุบันคนร้ายได้มีการย้ายจุดก่อเหตุจากบริเวณชายแดน เข้ามาก่อเหตุในเมืองเพิ่มมากขึ้น โดยใช้เครื่องมือที่สามารถเคลื่อนย้ายได้สำหรับอุปกรณ์สตริงเรย์ หรือ อุปกรณ์ส่งสัญญาณนั้น พบว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในต่างประเทศในการสืบหาข้อมูล ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้มีการทดสอบการส่ง SMS เข้าไปยังมือถือของผู้ที่ร่วมการแถลงข่าว ซึ่งพบว่าสามารถส่งข้อความ SMS เข้ามายังมือถือของผู้ที่อยู่ภายในพื้นที่ได้จริง

อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ ต้องหาทั้ง 6 คน จะถูกดำเนินคดีในข้อหา “ร่วมกัน ทํา มี ใช้ นําเข้า นําออก หรือค้า ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม โดยไม่ได้รับใบอนุญาต , ร่วมกันตั้งสถานีวิทยุคมนาคม โดยไม่ได้รับใบอนุญาต , ร่วมกันใช้คลื่นความถี่ในการประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยไม่ได้รับอนุญาต , เป็นอั้งยี่หรือซ่องโจรตามประมวลกฎหมายอาญา”

สำหรับอุปกรณ์ส่งสัญญาณดังกล่าว พบการใช้ในครั้งแรกเมื่อ 17-18 ปีที่แล้ว ในพื้นที่ของฮ่องกง ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวได้มีการสอบถามไปยังเจ้ากรมอุตสาหกรรมทหาร เพื่อตรวจสอบว่าเครื่องมือดังกล่าวเป็นยุทธภัณฑ์หรือไม่ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ซึ่งเบื้องต้นพบว่าเครื่องมือดังกล่าวสามารถส่งได้เพียงข้อความเพียงเท่านั้น และจะไม่สามารถที่จะส่งข้อความเสียงได้แต่อย่างใด ซึ่งหากเป็นยุทธภัณฑ์ทางทหาร ก็จะมีการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

Latest Posts