วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกไม่มีหมวดหมู่บช.ก. ร่วม สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)ทําลายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม่ได้มาตรฐานกว่า 60,000 ชิ้น มูลค่ากว่า 66 ล้านบาท

Related Posts

บช.ก. ร่วม สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)ทําลายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม่ได้มาตรฐานกว่า 60,000 ชิ้น มูลค่ากว่า 66 ล้านบาท

กองบัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิด เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ภายใต้การอํานวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.วริษฐ์ ปทุมารักษ์ ผกก.3 บก.ปคบ. ร่วมกับ สํานักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้บูรณาการร่วมกันในการป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ได้มาตรฐานไปถึงมือผู้บริโภค และปราบปรามผู้จัดทํา นําเข้า จําหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับ ใบอนุญาตหรือไม่ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัยและประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นสําคัญ

วันที่ 26 พ.ค.66 เจ้าหน้าที่ตํารวจ กก.3 บก.ปคบ. พร้อมด้วย นายสุรพล ชามาตย์ รอง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) , นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และผู้บริหารจาก บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จํากัด โรงไฟฟ้ามาบตาพุด อีโค่-เอ็นเนอร์ยี แพลนท์ เข้าร่วมพิธีทําลาย ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จํากัด โรงไฟฟ้ามาบตาพุด อีโค่-เอ็น เนอร์ยี แพลนท์ จ.ระยอง โดยการทําลายในครั้งนี้มีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จํานวนหลายรายการ เช่น พาว เวอร์แบงค์ ของเล่น ไฟแช็กก๊าซ เครื่องใช้ไฟฟ้าสําหรับดูแลผิวและผม เตารีด ลําโพงพร้อมเครื่องขยาย เตา ย่างเตาปิ้ง เตาไมโครเวฟ พัดลมไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า หม้อสุกี้ เต้าเสียบเต้ารับ ปลั๊กพ่วง กระทะไฟฟ้า ฝักบัวอาบน้ํา ก๊อกน้ํา หมวกกันน็อก ท่อไอเสียรถจักรยานยนต์ จุกดูดนมเด็ก ของเล่น ฟิล์มห่อ อาหาร แบตเตอรี่ เป็นต้น จํานวนรวมกว่า 60,000 ชิ้น มูลค่ารวมกว่า 66 ล้านบาท

สําหรับกระบวนการทําลายสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ได้รับความร่วมมือจาก บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จํากัด โรงไฟฟ้ามาบตาพุด อีโค่-เอ็นเนอร์ยี แพลนท์ ซึ่งเป็นโรงกําจัดกากอุตสาหกรรมและหน่วยผลิตไฟฟ้า ที่สามารถรองรับขยะอุตสาหกรรมได้หลากหลายประเภทและหลายขนาด ทั้งที่เป็นอันตรายและไม่เป็น อันตราย โดยกระบวนการดําเนินงานทุกขั้นตอนเป็นแบบระบบปิด มีระบบการควบคุมมลพิษ และของเสีย ตามมาตรฐานสากล ตั้งแต่การรับขยะอุตสาหกรรมจากผู้ประกอบการ การขนส่งไปยังจุดคัดแยกประเภท เพื่อเตรียมกําจัด การเข้าสู่กระบวนการกําจัดด้วยเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชัน ร่วมกับแอช เมลติ้ง (Gasification with Ash Melting) ซึ่งเศษวัสดุที่ได้จากการเผาไหม้ เช่น อะลูมิเนียม เหล็ก เถ้าลอย ยังนํา กลับไปใช้ใหม่ได้ ส่วนวัสดุที่เผาไหม้ ไม่ได้ (Incombustible) สามารถนําไปใช้เป็นวัตถุดิบแทนการก่อสร้าง ถนนได้ โดยกระบวนการนี้ จะทําให้ไม่เหลือขยะอุตสาหกรรมที่ต้องกําจัดเพิ่ม นอกจากวัสดุที่สามารถ นําไปใช้ประโยชน์อื่นๆได้อีก ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน

ตํารวจสอบสวนกลาง (CIB) ขอเตือนภัย ถึงผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในครัวเรือน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่บังคับให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ควรเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและมีเครื่องหมาย มอก. โดยผู้บริโภคสามารถตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ประเภท ใดบ้างที่ต้องได้รับอนุญาตให้มี มอก.ได้จากคู่มือผู้ซื้อภายในเว็บไซต์ของสํานักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) www.tisi.go.th และหากประชาชนพบเห็นหรือมีเบาะแสเกี่ยวกับการนําเข้า ผลิต กักเก็บ หรือลักลอบจําหน่ายสินค้าไม่มี มอก.

สามารถแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลผ่านทางสายด่วน บก.ปคบ. หมายเลข 1135 หรือ facebook : กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค / ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภค ช่องทางการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม พ.ต.ท.ธงฉาน ตันบุญเจริญ รอง ผกก.3 บก.ปคบ. 086- 9617914

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts