“…จากสายงานข่าวพบว่ามีทั้งนายทุนใหญ่ที่แม่กลอง และนายทุนจีนร่วมมือกัน โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐจากป่าไม้เข้าร่วมขบวนการ ให้การแนะนำวิธีการหลบซ่อนไม้ และหาทางช่วยให้สามารถลำเลียงออกนอกประเทศ ผ่านด่านตรวจป่าไม้ยามค่ำคืน แต่เจ้าหน้าที่ป่าไม้รายนี้ไหวตัวทัน หลบหนีไม่ปรากฏตัว จึงพลาดการถูกจับกุมตัวคาหนังคาเขา แต่ก็สามารถยึดไม้พยูงได้จำนวนมาก…”
ปฏิบัติการของทีมพญาเสือเพื่อจับกุมตัวเจ้าหน้าที่ป่าไม้แห่งภาคอีสาน ร่วมกับขบวนการค้าไม้ของจีนที่ชื่อว่า “แก๊งไม้พยูงมู่หลาน” ครั้งนี้เกิดขึ้นช่วงเวลา ตั้งแต่วันที่ 5 – 6 มิถุนายน 2566 โดย นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้รับรายงานว่า มีขบวนการค้าไม้พยูงมาตระเวณรับซื้อไม้แถวภาคอีสาน ในพื้นที่มีไม้พยูงจำนวนมาก
จึงได้ส่งทีมสืบสวนของกรมอุทยานฯลงพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อประกบตามติด หาเบาะแส หาการเชื่อมโยงว่าขบวนการค้าไม้มู่หลานนี้มีวิธีการอย่างไร ได้ติดต่อกับใครบ้าง เพราะเชื่อว่าหากไม่มีการร่วมมือจากเจ้าหน้าที่รัฐ ขบวนการค้าไม้พยูงของจีนขบวนการนี้จะไม่มีทางค้าไม้พยูงได้เลย นับตั้งแต่ไปซื้อขายไม้พยูงกลางป่า การลำเลียงออกจากป่า ที่ต้องผ่านด่านป่าไม้จะไม่สามารถทำได้ อีกทั้งมีวิธีการหลบเลี่ยง หลบหลีกลำเลียงออกจากป่าแล้วต้องนำไม้ไปเก็บซุกซ่อนไว้เพื่อลำเลียงออกนอกประเทศอีก
ภายหลังจากซุ่มเฝ้าสังเกตุการณ์จึงได้ทราบว่าเจ้าหน้าที่ป่าไม้รายนี้ได้แอบสั่งการให้นำไม้ออกจากป่าไปซุกซ่อนอยู่ในน้ำ อันเป็นพื้นที่ของเอกชน เพื่อรอการทำเอกสารเสริมในการชักลากไม้ ที่อาจจะเป็นไม้สวมตอ เพื่อผ่านด่านแล้วนำออกนอกประเทศอีกทีหนึ่ง
ชัยวัฒน์กล่าวว่า จากสายข่าวของทหาร สายงานตำรวจโดย พ.ต.อ. ต่อศักดิ์ ศรีเสริม ผกก. สภ. กาบเชิง แจ้งว่ามีขบวนการไม้พะยูง (เครือข่ายมู่หลาน) จะนำไม้พะยูงผิดกฎหมายมาซ่อนไว้ ในพิกัด บ้านตะเคียน อ. กาบเชิง จ.สุรินทร์ และทราบมาว่า อาจมีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ใน จ. สุรินทร์ เป็นคนอยู่เบื้องหลัง ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ
และวันที่ 5 มิถุนายน สายข่าวมั่นใจว่า ขบวนการนี้เตรียมที่จะนำไม้เพื่อลำเลียงออกต่างประเทศ หรือส่งต่อให้นายทุนในห้วงระหว่างคืนวันที่ 5 -6 มิถุนายน ยามค่ำคืน เพื่อง่ายต่อการสังเกตุพบเห็น และสามารถผ่านด่านป่าไม้ได้ง่ายกว่า ตนจึงได้ประสานหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ประกอบด้วยกำลังทหาร กองร้อยทหารราบที่ 213
หน่วยเฉพาะกิจที่ 2 กองกำลังสุรนารี ตำรวจชุดสืบสวนปราบปรามการกระทำความผิดทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภ.จว. สุรินทร์ พ.ต.ท. สถิตย์ อินเฉิดฉาย สว.สส. สภ. กาบเชิง ฝ่ายปกครองอำเภอกาบเชิง หน่วยเฝ้าตรวจชายแดนที่ 22 เจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการพิเศษผู้พิทักษ์กรมอุทยานแห่งขาติและสัตว์ป่า(พญาเสือ) แอบซุ่มดู จนถึงเวลา 22:20 น เมื่อกลุ่มคนดังกล่าว ขนไม้จากสระน้ำขึ้นเต็มรถ จึงได้ดำเนินการเข้าจับกุมทันที
นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ช่วงเวลา ตั้งแต่วันที่ 5 – 6 มิถุนายน 2566 ตนได้มอบหมายให้ เจ้าหน้าที่ ขสป. ห้วยทับทัน -ห้วยสำราญ และ ขสป. ห้วยศาลา ได้เข้าทำการดักซุ่ม บริเวณกระท่อมกลางทุ่งนา พิกัด 354751 E 1602548 N บ้านตะเคียน อ. กาบเชิง จ.สุรินทร์ พบว่ามีลักษณะเป็นบ่อเลี้ยงปลาตามที่สายข่าวแจ้งจนกระทั่ง วันที่ 6 มิถุนายน 2565 ช่วงเย็น จึงเริ่มปฏิบัติการ
และพบว่าในระหว่างดักซุ่มดูอยู่ จะเห็นว่ามีมอเตอร์ไซค์ ขับเข้าออกกระท่อมที่พักกลางทุ่งนา ที่มีสระน้ำล้อมรอบจำนวน 4 สระ จนเป็นที่สงสัย ตนจึงประสานไปที่ นายพนัชกร โพธิบัณฑิต ผอ. ส่วนยุทธการด้านป้องกันและปราบปรามฯ นายมงคล หน. หน่วยฯ พญาเสือ และ ขอกำลัง หน่วยงานสนาม ของสังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยศาลา / ขสป ห้วยทับทัน-ห้วยศาลา / อช เขาพระวิหาร เฝ้าระวัง ให้ จัดคนมาซุ้มเฝ้า การขนย้ายไม้พะยูงออก ในเวลากลางคืน
จนถึงเวลา 20:00 น มีการเคลื่อนไหว มีคนเข้ามา ประมาณ 10 คน ลงไปในสระน้ำ และ มีรถเครน 6 ล้อ ยกไม้ อีก 1 คัน เข้าไป ในพิกัดดังกล่าว จนถึงเวลา 22:20 น เมื่อกลุ่มคนดังกล่าว ขนไม้ ขึ้นเต็มรถและจะเคลื่อนรถ เตรียมการที่จะนำรถออกเพื่อเอาไม้ออกไปจากจุดพิกัดเกิดเหตุ ตนจึงได้สั่งการ ให้ จนท. โดยมี นายสาธิต พันธุมาศ หน.ขสป. ห้วยศาลา กับ หน. ห้วยทับทัน ให้หยุด/ปิดรถ ขอตรวจสอบ จึงสามารถตรวจยึดไม้ ในรถยนต์ มากกว่า 60 ท่อน/เหลี่ยม ข้างล่างอีก จำนวนหนึ่ง และ ประมาณการว่า จะอยู่ในบ่อน้ำอีก จำนวนหนึ่ง
ในขณะที่จับกุมไม่พบเจ้าหนาที่ป่าไม้ใน จ. สุรินทร์ คนอยู่ที่เบื้องหลัง คาดว่าน่าจะรู้ตัว แล้วไม่มายังสถานที่แห่งนี้
สำหรับเจ้าของที่ดินดังกล่าว คือ นายสม สร้อยจิตร ภูมิลำเนาบ้านเลขที่ 172 ม.9 ต.ตะเคียน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ได้แสดงแสดงเอกสารการครอบครอบและซื้อขาย ประมาณ 20 ชุด ซึ่งมีการซื้อขายจากพื้นที่เอกสารสิทธิ์ในหลายจังหวัดภาคอีสาน รวมโฉนดที่ดิน 32 แปลง แยกกันเก็บในที่ดินหลายแปลง โดยไม้พะยูงดังกล่าาวที่จับได้ จัดเก็บรักษาที่โฉนด นส 4 จ. เลขที่ 3604 เล่ม 37 หน้า 4 เลขที่ดิน 4 ต.ตะเคียน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ เนื้อที่ดิน 5-2-73ไร่
จากการตรวจสอบไม้พะยูงหวงห้าม ที่ขนขึ้นจากสระน้ำของนายสม สร้อยจิตร พบว่าไม้ดังกล่าวเป็นไม้พะยูง บางท่อนมีลักษณะใหม่สดและเป็นไม้แก่นล่อน มีร่องรอยการถาก และเขียนระบุน้ำหนักแต่ละท่อน ตรวจสอบที่หน้าตัดของไม้ไม่พบร่องรอยรูปรอยดวงตราของพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด ตรวจนับไม้พะยูงได้ รวม 123 ท่อนปริมาตร 6.049 ลบ.ม. ซึ่งจะได้ตรวจสอบกับเอกสารการได้มา หากพบเอกสารสิทธิ์ไม่ตรงกับไม้พะยูงดังกล่าวเจ้าหน้าจะดำเนินการตรวจยึดและดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมายต่อไป
นายชัยวัฒน์กล่าวว่า จากการสอบสวน นายสม สร้อยจิตร ได้ให้การว่า รับซื้อสะสมไม้พะยูงจากที่ต่างๆ โดยพ่อค้าจะนำไม้มาส่งให้ตนเองทุกครั้งในบริเวณจุดเกิดเหตุ โดยตนจะรับซื้อมาในราคาท่อนละ 10,000 – 20,000 บาท แล้วแต่ความสวยงามของไม้ โดยไม้พะยูงที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบ ก็เตรียมกำลังจ้างแรงงานในหมู่บ้านจำนวน 7 คน พร้อมรถ 6 ล้อ บรรทุกติดเครน เพื่อเตรียมการขนย้ายส่งต่อให้นายทุนที่จะนำไปขายยังต่างประเทศ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบตนก็หยุดดำเนินการพร้อมให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่
นายสมจิตร บอกว่า ตนได้รับการแนะนำให้การปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้จังหวัดสุรินทร์ เพื่อขอออกใบเคลื่อนย้ายไม้ ก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อเจ้าหน้าที่สอบถามว่าทำไมถึงย้ายไม้กลางคืน และใครเป็นคนจะมารับซื้อไม้พะยูง นายสมจิตรตอบว่าเหตุที่ย้ายไม้กลางคืนเพราะจะไม่มีใครเห็น สะดวก และกลัวเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ทั้งนี้คนขายไม้ตนไม่ทราบชื่อ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบตนจึงได้รีบแจ้งนายทุนที่จะเข้ามารับซื้อว่าเกิดปัญหา เพราะถูกจับกุม นายทุนดังกล่าวแนะนำตนให้ลบข้อมูลการติดต่อระหว่างกันทั้งหมดในมือถือ และเบอร์นายทุนดังกล่าวได้บล็อกเบอร์ตนแล้ว ไม่สามารถติดต่อได้อีกเลย
“จากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ชุดตรวจสอบ ซึ่งติดตามขบวนการทำไม้ พบว่าไม้ดังกล่าวเป็นของกลุ่มขบวนการมู่หลาน ซึ่งก่อนหน้าที่เคยถูกเจ้าหน้าที่ตรวจยึดติดตามมาอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบข้อมูลการโทรติดต่อของนายทุนที่ติดต่อเกี่ยวข้องกับไม้ดังกล่าส พบว่า เวลา 6.40 -7.30 น. ของวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ได้มีเบอร์โทรฯ โทรเข้ามือถือส่วนตัวของนายสมฯ มีการคุยกันหลายนาที ถึง ครึ่งชั่วโมง ซึ่งพบว่าเบอร์ดังกล่าวเป็นเบอร์ของร้านเฟอร์นิเจอร์ดังแห่งแม่กลอง หรือที่ทราบ ชื่อ ‘เจ๊นุ่น’
ทั้งนี้ปัจจุบันเครือข่ายไม้ดังกล่าว ได้มีการดำเนินการในเครือข่ายการค้าไม้ในชื่อนี้ ซึ่งเป็นเครือข่ายใหญ่ ซึ่งมีเครือข่ายค้าไม้ทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน ซึ่งก่อนหน้านี้ทางหน่วยพญาฯ เสือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าตรวจสอบที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และมีเจ้าหน้าที่ป่าไม้บางคนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งคณะเจ้าหน้าจะดำเนินการขยายผลเพื่อตัดวงจรการทำไม้ที่ผิดกฎหมายต่อไป” นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร กล่าว
#สืบจากข่าว : รายงาน