เมื่อวันอังคาร (27 มิ.ย.) ที่ผ่านมา มีการจัดประชุมสุดยอดสื่อมวลชนกรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (LMC) ประจำปี 2566 ขึ้นที่กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน
เป็นที่ทราบกันดีว่า “แม่น้ำโขง” ไหลผ่าน 6 ประเทศ ด้วยความยาวเกือบ 5,000 กิโลเมตร มีต้นกำเนิดมาจากการละลายของน้ำแข็งและหิมะบริเวณที่ราบสูงทิเบตในบริเวณตอนเหนือของเขตปกครองตนเองทิเบตและบริเวณมณฑลชิงไห่ของประเทศจีน ไหลผ่านภูเขาและที่ราบสูงในประเทศจีน ผ่านมณฑลยูนนานเข้าสู่ ประเทศเมียนมาร์ ประเทศลาว และประเทศไทย บริเวณ “สามเหลี่ยมทองคำ” ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จากนั้นไหลเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว ผ่านจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เป็นระยะทาง 1,520 กิโลเมตร แล้วไหลเข้าสู่ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ก่อนไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม รวมความยาวทั้งสิ้น 4,880 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รับน้ำในลุ่มน้ำ 795,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 496.875 ล้านไร่
ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงประกอบไปด้วยประเทศกัมพูชา ประเทศลาว ประเทศเมียนมาร์ ประเทศเวียดนาม และประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะพันธุ์ปลาอย่างน้อย 1,100 ชนิด ส่งผลให้เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ซึ่งมีปริมาณการจับปลามากกว่า 2.6 ล้านตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณการจับปลาน้ำจืดทั่วโลก ความหลากหลายทางชีวภาพดังกล่าวของแม่น้ำโขงช่วยเติมเต็มความอุดมสมบูรณ์ให้กับไร่นาด้วยตะกอนดินที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ ป่าไม้และพื้นที่ชุ่มน้ำก็เป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญให้กับการอุตสาหกรรม ช่วยกรองน้ำและฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ รวมถึงการปกป้องเมืองต่างๆ จากภัยธรรมชาติอย่างอุทกภัยและวาตภัย ผู้คนประมาณร้อยละ 80 จากทั้งหมด 300 ล้านคนในภูมิภาคนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยระบบธรรมชาตินี้โดยตรงในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร วิถีชีวิต และประเพณีวัฒนธรรม
นายหลี่ ซูเหล่ย กรรมการกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน และผู้อำนวยการสำนักสารนิเทศแห่งคณะกรรมการกลางพรรคฯ เข้าร่วมและกล่าวสุนทรพจน์ในงานประชุมสุดยอดสื่อมวลชนกรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (LMC) ประจำปี 2566 ซึ่งคณะผู้แทนกว่า 130 คนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสื่อกระแสหลักของ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงได้เข้าร่วมการประชุมฯ โดยมีการหารือเชิงลึกเกี่ยวกับการบรรลุสันติภาพและการพัฒนา ผลประโยชน์ร่วมกัน ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย และการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนในภูมิภาค รวมถึงการมีส่วนร่วมสรรสร้างประชาคมแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงที่มีอนาคตร่วมกันอันใกล้ชิดยิ่ง
ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ เห็นพ้องว่าผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมได้ถูกส่งมอบแก่กลุ่มประเทศที่เข้าร่วมทั้ง 6 ประเทศแล้ว นับตั้งแต่มีการก่อตั้งกรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง และกรอบความร่วมมือนี้ได้ส่งเสริมมิตรภาพระหว่างผู้คนใน 6 ประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ กล่าวว่ามีศักยภาพมหาศาลสำหรับการดำเนินความร่วมมือระหว่าง 6 ประเทศในด้านต่างๆ เช่น การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การเกษตร การลดความยากจน ความมั่นคง และการปกป้องสิ่งแวดล้อม พร้อมแสดงความหวังว่าจะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนใน 6 ประเทศผ่านความร่วมมือด้านสื่อ เสริมสร้างมิตรภาพและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และบอกเล่าเรื่องราวของประชาคมแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงให้ดียิ่งขึ้น
เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2565 ที่ผ่านมา ก็มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างหรือ MLC ครั้งที่ 7 ณ เมืองพุกาม ประเทศเมียนมาร์ โดยมีการเข้าร่วมของตัวแทนจากประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทย จีนและเวียดนาม ผ่านการจัดการประชุม 7 ครั้ง กลไกความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างนับวันยืนยันประสิทธิภาพ ความร่วมมือที่ครอบคลุมในทุกด้าน มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของบรรดาประเทศสมาชิก สร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนและปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2030
การประชุม MLC ครั้งที่ 7 ณ ประเทศเมียนมาร์เป็นการยืนยันส่วนร่วมที่แข็งขันของ MLC ต่อความร่วมมือและการพัฒนาในภูมิภาค ที่ประชุมได้อนุมัติข่าวสารนิเทศ และแถลงการณ์ร่วม 4 ฉบับเกี่ยวกับการผลักดันความร่วมมือด้านการเกษตร การป้องกันและรับมือภัยธรรมชาติ ศุลกากรและอำนวยความสะดวกให้แก่การแลกเปลี่ยนทางการค้าและการพบปะสังสรรค์ระหว่างประเทศสมาชิก MLC เน้นถึงเนื้อหาต่างๆ เช่น การฟื้นฟูและการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านการผลักดันการเชื่อมโยงการค้า เศรษฐกิจดิจิทัล การผลิต ห่วงโซ่อุปทาน อำนวยความสะดวกให้แก่การแลกเปลี่ยนทางการค้า การรับมือภัยธรรมชาติ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เสริมสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุม การป้องกันและรับมือโรคระบาด ทักษะความสามารถของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผลักดันความร่วมมือด้านแพทย์แผนโบราณ การพบปะสังสรรค์ผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรม การท่องเที่ยว สื่อสาร การกีฬา การศึกษาและการพัฒนาแหล่งบุคลากร
ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคและโลกมีความผันผวนซับซ้อน ที่ประชุมได้ย้ำถึงหลักการร่วมมือที่มีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ มีความเสมอภาค การทาบทามระหว่างกัน การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ การเคารพกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายสากล สอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมายของแต่ละประเทศ ผลักดันความร่วมมือตามแนวทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนบ้านมิตรภาพ มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของประเทศสมาชิก การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนและการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2030