“…เปลือกภายนอก ก.ล.ต. ยุคก่อนอาจจะทำงานได้อย่างเข้มแข็ง เน้นปรับเอกชนผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง ทำยอดค่าปรับเข้าคลังพุ่งสูง แต่อาจจะสวนทางกับความรู้สึกของทั้งนักลงทุนที่ตกเป็นเหยื่อผู้ประกอบการเถื่อน ซึ่งแทบไม่เคยได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ถึงเวลาแล้ว ที่ ก.ล.ต. ยุคใหม่ ต้องทำงานเชิงรุก เน้นตรวจสอบผู้ประกอบการเถื่อน มากกว่าเสียเวลามาจับผิดเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอยความเสียหายที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว..”
จับตาความกล้าหาญ เลขาฯ ก.ล.ต. คนใหม่ ปัดกวาดบ้าน ทลายรังโบรกเกอร์เถื่อน ในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล
สถานการณ์ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ได้ผ่านยุค “รื่นวดี สุวรรณมงคล” ที่เก่งแต่ใช้กฎหมาย แต่ไร้ประสิทธิภาพในการคุ้มครองนักลงทุน กลายเป็นการพุ่งเป้าเน้นผลงานไปที่ยอดค่าปรับ แต่ที่น่าจับตามากกว่านั้นคือมูลค่าความเสียหายแก่นักลงทุนรายใหญ่รายย่อยกลับพุ่งสูงหลายพันล้านบาท ทั้งจากกรณี Zipmex และ FTX
เปลือกภายนอก ก.ล.ต. ยุคก่อนอาจจะทำงานได้อย่างเข้มแข็ง เน้นปรับเอกชนผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง ทำยอดค่าปรับเข้าคลังพุ่งสูง แต่อาจจะสวนทางกับความรู้สึกของทั้งนักลงทุนที่ตกเป็นเหยื่อผู้ประกอบการเถื่อน ซึ่งแทบไม่เคยได้รับการช่วยเหลือเยียวยา
ที่ผ่านมาเกิดปัญหาทั้งจากโปรแกรมผิดกฎหมายที่ไม่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.อย่าง Zipup, Zipup+ ของ Zipmex ที่มาชวนนักลงทุนให้มาฝากสิ นทรัพย์ดิจิทัลเพื่อเอาดอกเบี้ย แล้วโยกเงินนักลงทุนออกไปฝากเพื่อเอาดอกเบี้ยส่วนต่างจากแพลตฟอร์มต่างประเทศอย่าง Celcius และ Babel อีกทีหนึ่ง หรือ กรณีการล่มสลายของ FTX กระดานเทรดเถื่อนที่ ก.ล.ต. ปล่อยให้เปิดบริการ จนมีนักลงทุนไทยหลงเข้าไปใช้บริการและเสียหายมากถึง 130,000 ราย จนถึงปัจจุบันก็เป็นปัญหาคาราคาซังที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
ดังนั้น ก่อนจะแก้ ก็ต้องยอมรับให้ได้เสียก่อนว่า ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากวิธีการจัดการของ ก.ล.ต. ยุคก่อน ที่มีวิธีในการป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเถื่อนเข้ามาชักจูงและให้บริการนักลงทุนไทย
ถึงเวลาแล้ว ที่ ก.ล.ต. ยุคใหม่ ต้องทำงานเชิงรุก เน้นตรวจสอบผู้ประกอบการเถื่อน มากกว่าเสียเวลามาจับผิดเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอยความเสียหายที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
ก.ล.ต. เปิดเผยว่า OKEX Thailand ยังไม่เคยได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมเตือนประชาชนและผู้ลงทุนควรระมัดระวังหากถูกชักชวนให้ไปใช้บริการกับผู้ที่ยังไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากอาจไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
แม้ ก.ล.ต. จะเคยออกมาเตือน แต่นอกจาก OKEX หรือ OKX จะไม่สนใจคำเตือน กลับยังเดินหน้าทำการตลาดอย่างหนัก ทั้งยังมีอินฟลูเอนเซอร์มากหน้า ทำการชักชวนคนมาใช้แพลตฟอร์มของตน กร้าวถึงขนาดที่ว่า OKEX กล้าทำการตลาด เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักของคอนเสิร์ตใหญ่ในประเทศไทยอย่าง Rolling Loud และชักชวนให้ชาวไทยสมัครเทรดคริปโตฯ อย่างเปิดเผย ปัญหาดังกล่าวลากยาวมาตั้งแต่ในยุคก่อน
ปัจจุบันหากตรวจสอบในหน้าเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ก็ยังไม่พบเห็นว่า OKX ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกกฎหมายในการทำธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ประการใด
แต่นักลงทุนมือใหม่กลับพบเห็นการโฆษณาอย่างกว้างขวางร่วมกับอินฟูเอนเซอร์หลากหลายช่องทาง ตั้งแต่วิธีการสมัคร การเทรดสินทรัพย์ spot และฟิวเจอร์ในรูปแบบต่างๆ โดยอ้างอิงความน่าเชื่อถือว่า OKX เว็บเทรดอันดับ 2 ของโลก
คำถามคือ OKEX ไม่มีใบอนุญาตจาก ก.ล.ต. ทำไมจึงมีการปล่อยปละละเลยให้ธุรกิจที่ไม่มีใบอนุญาตลอยนวล อยู่เหนือความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนนักลงทุนได้อย่างไร … ก.ล.ต. เลือกหลับตาข้างเดียวหรือ คิดเพียงว่า วัวยังไม่หายไม่ต้องจะล้อมคอก เหมือนที่ผ่านมา
เฉกเช่นกรณี zipmax FTX เหตุใดไม่นำกรณีเหล่านี้มาเป็นบทเรียนของ ก.ล.ต. เพราะเป็นการประกอบธุรกิจนอกกฎหมาย ซึ่งถือเป็นความผิดปกติ ผิดตั้งแต่เริ่มติดกระดุมเม็ดแรก
ความตกต่ำจากการปล่อยปละละเลย ลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังพบเห็นค่ายเทรดสินค้าอย่าง Bitazza ภายหลังจากตรวจสอบหน้าเว็บไซต์ พบการเชิญชวนให้นักลงทุน เลือกสมัครการเทรดของไทยและยังเลือกเข้าเทรดระดับ Global ซึ่งในข้อเท็จจริงพบว่า Bitazza จาก ก.ล.ต. แต่ยังคงเปิดบริการ ระดับ Global อย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่?
จากรายงานข่าว 9 กันยายน 2566 พาดหัวข่าวชิ้นใหญ่ Bitazza Global เปิดให้เทรด Futures แล้ว มาพร้อม 190+ เหรียญ และ Leverage ได้ถึง 20X แต่สวนทางกับหน้าเว็บไซต์ของ ก.ล.ต. ที่แจ้งเตือนแต่ไม่ดำเนินการใดเพื่อยุติการทำธุรกรรมของโบรกเกอร์รายดังกล่าว
เว็บไซต์ของ ก.ล.ต. ระบุ ในหัวข้อ ประเภทใบอนุญาต/ความเห็นชอบ/การจดทะเบียน ว่า … ไม่พบข้อมูลการได้รับใบอนุญาต/ความเห็นชอบ/จดทะเบียน ในปัจจุบัน ภายใต้ พ.ร.บ. หลักทรัพย์ และ ไม่พบข้อมูลการได้รับใบอนุญาต/ความเห็นชอบ/จดทะเบียน ในปัจจุบัน ภายใต้ พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือ Futures
มีเพียง..ในอบุญาตประเภทความเห็นชอบนายหน้า (Crypto) และ นายหน้า (Token)
พร้อมมีประวัติการถูก ก.ล.ต. ลงโทษ 5 กรณี
1.อยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานสอบสวน
บริษัท บิทาซซ่า จำกัด (“Bitazza”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีหน้าที่นำส่งงบการเงินประจำปี 2564 และประกาศงบการเงินดังกล่าวบนเว็บไซต์ของ Bitazza ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนด คือ วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 แต่ Bitazza กลับไม่นำส่งงบการเงินประจำปี 2564 และไม่ประกาศงบการเงินดังกล่าวบนเว็บไซต์ของ Bitazza ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
2.มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 13/2565 โดยปรับเป็นเงิน 6,357,000.00 บาท
ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 บริษัท บิทาซซ่า จำกัด (Bitazza) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าในระบบที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเมื่อทำธุรกรรมเท่านั้น (cold wallet) น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าทั้งหมดที่เก็บรักษาไว้ และไม่นำสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าไปฝากไว้กับผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนด จำนวน 243 วัน
3.มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 6/2565 โดยปรับเป็นเงิน 146,000.00 บาท
Bitazza ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการเปรียบเทียบ สำนักงานดำเนินการกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
บริษัท บิทาซซ่า จำกัด (“Bitazza”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีหน้าที่นำส่งงบการเงินประจำปี 2564 และประกาศงบการเงินดังกล่าวบนเว็บไซต์ของ Bitazza ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนด คือ วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 แต่ Bitazza กลับไม่นำส่งงบการเงินประจำปี 2564 และไม่ประกาศงบการเงินดังกล่าวบนเว็บไซต์ของ Bitazza ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
4.มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 6/2565 โดยปรับเป็นเงิน 427,000.00 บาท
บริษัท บิทาซซ่า จำกัด (“Bitazza”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีหน้าที่นำส่งงบการเงินประจำปี 2563 และประกาศงบการเงินดังกล่าวบนเว็บไซต์ของ Bitazza ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนด ซึ่งสำนักงานได้มีการขยายกำหนดระยะเวลาไปเป็นวันที่ 30 มิถุนายน 2564 แต่ Bitazza นำส่งงบการเงินปี 2563 และประกาศงบการเงินดังกล่าวบนเว็บไซต์ของ Bitazza เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2565 จึงเป็นการนำส่งงบการเงินประจำปี 2563 ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่ประกาศกำหนด
5.มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 4/2564 โดยปรับเป็นเงิน 3,564,000.00 บาท
ระหว่างวันที่ 4 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 บริษัท บิทาซซ่า จำกัด (“บิทาซซ่า”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าในระบบที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเมื่อทำธุรกรรมเท่านั้น (“cold wallet”) น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าทั้งหมดที่เก็บรักษาไว้ และไม่นำสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าไปฝากไว้กับผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนด เป็นเวลา 185 วัน
ตรวจสอบงบการเงินของบริษัท Bitazza ไม่นำส่งสถานะงบการเงินมายาวนานถึง 2 ปี
ไม่พบเอกสารใบอนุญาตการเทรด Futures
ไม่นำส่งงบการเงิน 2 ปี ไม่พบใบอนุญาตระดับ Global
แต่ข่าวพาดหัว ตัวไม้ตัวยักษ์ กลับเชิญชวนการเข้าเทรดอย่างไม่มีทีท่า หวาดเกรง กฎหมาย ก.ล.ต.
ความเสียหายต่อประชาชนลากยาว พร้อมกับปัญหาโบรกเกอร์ไม่มีใบอนุญาต ทำการตลาดให้ประชาชนไทยเข้าใช้งาน ลากยาวมาเป็นดินพอกหางหมูตั้งแต่ยุค เลขาฯ ก.ล.ต. คนที่ผ่านไป ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้ง นางพรอนงค์ บุษราตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คนใหม่
จึงต้องจับตาว่า เลขาธิการ ก.ล.ต. คนใหม่ จะหล้าหาญพอที่จะปัดกวาดบ้านตนเอง นำบทเรียนความเสียหายในยุคก่อนเพื่อวางมาตรการเชิงรุก ป้องกันความเสียหายให้แก้ประชาชน นักลงทุนตั้งแต่เนิ่นๆ หรือจะต้องรอให้นักลงทุนไทยเสียหายกันเป็นพันล้าน หลังตูดร้อนแล้วค่อยจึงตีหน้าเศร้า
จับตาความกล้าหาญของ พรอนงค์ บุษราตระกูล
อย่าให้ซ้ำรอยยุค รื่นวดี สุวรรณมงคล
ฝากสะสางงานค้าง .. เร่งจัดการโบรกเกอร์ ไร้ใบอนุญาต