เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 15 พ.ย.66 ที่ ถนนบางวัว ซอย 4 (วัดบางวัว) ม.9 อำเภอบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา นายกฤษฎา อินทามระ ทนายความ เดินทางลงพื้นที่ ให้ความช่วยเหลือประชาชนเดือดร้อน หลังได้รับการร้องเรียนจาก น.ส.ภรภัทร สรรพานิช นักธุรกิจ โดยเมื่อประมาณปี พ.ศ.2560 ได้รับโอนที่ดินรวม 2 แปลงตั้งอยู่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเฉรามาจากบิดามารดา จึงได้ทำการรังวัดสอบเขตที่ดินพบว่ามีศาลาหลังหนึ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้ามาในที่ดิน จึงสืบหาเจ้าของเพื่อฟ้องขับไล่ศาลาออกไป แต่ปรากฏว่าทนายความคนเดิมหลงประเด็นไปฟ้องหน่วยงานรัฐว่าเป็นผู้มอบเงินในโครงการ SML มาให้ปลูกสร้างเป็นศาลาประชาคม ภายหลังยื่นฟ้องแล้วได้มาพบกับทนายกฤษฎา อินทามระ ให้คำปรึกษาว่าคดีดังกล่าวเป็นการฟ้องผิดตัว ผู้เสียหายจึงได้มีการถอนฟ้องคดีออกไปแล้วในปี พ.ศ.2566 ต่อมา ทนายกฤษฎา พยายามสืบหาแหล่งที่มาของเงินในโครงการ SML โดยทางอำเภออ้างว่า ประมาณ ปี พ.ศ.2548-2549 รัฐบาลได้มีโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML)เพื่อแก้ไขปัญหาในหมู่บ้านและชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีเป้าหมายสำคัญของโครงการคือ การให้งบประมาณแก่ประชนชนเพื่อแก้ไขปัญหา สร้างประโยชน์ส่วนรวมของหมู่บ้านและชุมชน เพื่อเอื้อต่อการมีอาชีพและการมีงานทำของส่วนรวม รัฐบาลจึงจัดทำโครงการนี้เพื่อให้เงินอุดหนุนโดยตรงสู่ประชาชน โดยอ้างว่า ชุมชนหมู่ 9 (ที่ตั้งศาลา) ได้รับเงินในโครงการ SML จำนวน 200,000 บาท และหน่วยงานรัฐได้ส่งมอบเงินจำนวนนี้ให้แก่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 (ที่ตั้งศาลา) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ตนพบข้อพิรุธในการเบิกจ่ายเงินเพราะ ไม่มีหลักฐานรายงานการประชุมเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการโครงการกองทุน หมู่ที่ 9 (ที่ตั้งศาลา) และไม่มีหลักฐานการ
ส่งมอบเงินจำนวน 200,000 บาท โดยนายอำเภอ หรือนายกเทศมนตรี หรือผู้แทน เป็นผู้ลงนามรับรอง และไม่พบหลักฐานที่ทางอำเภอแจ้งต่อสำนักงาน SML เพื่อขออนุมัติเงินจากคณะกรรมการ SML เพื่อโอนเงินงบประมาณดังกล่าวลงไปในพื้นที่ชุมชนโดยเฉพาะในชุมชนหมู่ที่ 9 นั้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่าคณะกรรมการชุมชนหมู่ที่ 9 ได้แจ้งทางอำเภอให้โอนเงินจำนวน 200,000 บาทไปเข้าบัญชีธนาคารใดและผู้รับเงินคือใคร แต่ที่แน่ๆคือ เงินจำนวน 200,000 บาท สร้างศาลาได้เพียงมีเสาสี่ต้นและหลังคา แต่ไม่มีผนัง จึงไม่สามารถใช้ประโยชน์อะไรได้เลยจากเงินหลวงจำนวน 200,000 บาทนี้ ในวันนี้ผู้เสียหายต้องการล้อมรั้วในที่ดินซึ่งได้มีการรังวัดสอบเขตโดยเจ้าหน้าที่รังวัด โดยจะล้อมรั้วภายในขอบเขตที่ดินซึ่งได้มีการรังวัดโดยถูกต้องแล้ว ส่วนตัวศาลาดังกล่าวผู้เสียหายจะไม่ล้อมรั้วปิดกันเพราะกำลังมอบหมายให้ตนฟ้องขับไล่บุคคลที่อ้างตนว่าเป็นผู้ใช้เงินหลวงมาสร้างศาลา และตนจะต้องสืบให้ได้ว่า การใช้เงินจำนวน 200,000 บาท มาสร้างศาลาดังกล่าวมีการทุจริตเกิดขึ้นหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ตนจะต้องสืบหาบริเวณอื่นๆในอำเภอบางปะกงด้วยว่า มีการนำเงินในโครงการ SML หรือโครงการรัฐอื่นๆไปใช้โดยมิชอบ ผิดระเบียบและไม่โปร่งใสหรือไม่ ทนายกฤษฎา กล่าวทิ้งท้ายผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทนายกฤษฎา ได้ทำหนังสือลงทะเบียนแจ้งให้ทางอำเภอบางปะกงทราบว่าวันเวลานี้จะลงพื้นที่ตรวจสอบที่ดินบริเวณที่ตั้งศาลาประชาคม ที่ระบุว่าเป็น“ศูนย์บริการรับเรื่องราวร้องทุกข์” ชื่อหมู่บ้านปลายคลอง หมู่ 9 ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เบอร์โทร.081-94449952
เมื่อสื่อมวลชนโทร.ไปติดแต่ไม่มีคนรับสาย และระหว่างให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน มีรถปิคอัพ ข้างประตูมีตรากรมการปกครองขับผ่านมาถ่ายรูปขณะเจ้าของที่ดินพาช่างก่อสร้างมาปักเสากันรั้วที่ดิยตามที่เขตปัดหมุดที่ดินรังวัดพื้นที่ไว้ โดยเว้นที่ดินบริเวณที่มีปัญหาศาลาประชาคมกินพื้นที่เข้ ามาครึ่งหนึ่งไว้
ท้ายนี้ทนายกฤษฎา แจ้งเพิ่มเติมหากพี่น้องประชาชนที่มีปัญหาเดือดร้อนไม่ว่าจะเป็นที่ดินหรือข้อกฎหมายอื่นใดสามารถขอความช่วยเหลือมาที่ตนได้ตลอดเวลา ที่สำนักกฎหมายกฤษฎา อินทามระ โทร.085-339-9255 ยินดีให้ความช่วยเหลือ