วันจันทร์, กันยายน 9, 2024

Related Posts

วัชระ จี้ “ปปง.”

“…มีการลักลอบนำเข้า “หมูเถื่อน” สู่ประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน คนไทยบริโภคเนื้อและเครื่องในหมูติดเชื้อที่เขาทิ้งแล้วซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง หน่วยราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องขาดธรรมาภิบาล ปล่อยให้เนื้อหมูจากต่างประเทศที่ขาดคุณภาพมาหลอกลวงจำหน่ายให้ประชาชนบริโภค นับเป็นการขาดศีลธรรมอย่างยิ่ง และทำให้เกษตรกรไทยผู้เลี้ยงหมูรายย่อยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เข้าข่ายความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงิน จึงขอให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการตามกฎหมายการฟอกเงินและแถลงให้ประชาชนทราบภายใน 15 วัน…”

เมื่อเวลา 13.00 น. 30 พฤศจิกายน 2566 นายวัชระ เพชรทอง อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือถึง นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน นายเทพสุ บวรโชติดารา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยมี นายวิทยา นิติธรรม ผู้อำนายการกองกฎหมายและโฆษกประจำสำนักงาน ปปง. เป็นตัวแทนรับมอบหนังสือดังกล่าว

โดยใจความสำคัญของหนังสือดังกล่าว ระบุว่า

ขอให้ดำเนินคดียึดทรัพย์เด็ดขาดขบวนการนำเข้าหมูเถื่อนอันเป็นความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรอันเข้าข่ายความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงิน โดยอ้างถึงข่าวไทยรัฐออนไลน์ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 สะกดรอยหมูเถื่อนยังจับได้แค่ตัวการรายย่อย แต่พบปลายทางบนแผงในห้างใหญ่

โดยนายวัชระ ระบุว่า “ขบวนการนำเข้าหมูเถื่อนหรือหมูกล่องผิดกฎหมายเพื่อไปวางจำหน่ายในห้างขนาดใหญ่ ให้พ่อค้าแม่ค้าบางรายซื้อไปจำหน่ายเป็นหมูกระทะและพี่น้องประชาชนทั่วไปซื้อไปบริโภค มีข่าวว่าหมูเถื่อนหรือหมูกล่องเริ่มมีการลักลอบนำเข้าประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน คนไทยบริโภคเนื้อและเครื่องในหมูติดเชื้อที่เขาทิ้งแล้วซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง หน่วยราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องขาดธรรมาภิบาล ปล่อยให้เนื้อหมูจากต่างประเทศที่ขาดคุณภาพมาหลอกลวงจำหน่ายให้ประชาชนบริโภค นับเป็นการขาดศีลธรรมอย่างยิ่ง และทำให้เกษตรกรไทยผู้เลี้ยงหมูรายย่อยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เข้าข่ายความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงิน

ทั้งนี้การนำเข้าหมูเถื่อนดังกล่าว เข้าข่ายเป็นความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ตามนัยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3 (7) ดังนั้น ขอให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการตามกฎหมายการฟอกเงินและแถลงให้ประชาชนทราบภายใน 15 วัน

จึงขอให้พิจารณากันข้าราชการชั้นผู้น้อยหรือประชาชนที่ให้ความร่วมมือเป็นประโยชน์ในการสอบสวนไว้เป็นพยานด้วย…”

นายวัชระ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า “ข้าราชการชั้นผู้น้อยหรือเอกชนรายย่อย ถ้าเขาให้ความร่วมมือในการสอบสวน ชี้ช่อง หรือไม่ปิดอำพราง ก็จะทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ง่ายจนทะลุถึงความจริง ทั้งนี้ เอกชนรายย่อย หรือข้าราชชั้นผู้น้อยอาจถูกบังคับหรือจำใจทำอย่างปฏิเสธไม่ได้ ฉะนั้นจึงควรเปิดช่องให้คนตัวเล็กมีความกล้าที่จะออกมาให้การเป็นพยานแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบ”นายวัชระ กล่าวในที่สุด

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts