วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนส่องโต๊ะประชุม “แม่โขง-ล้านช้าง” บทสรุปที่ “อเมริกา” ไม่อยากได้ยิน

Related Posts

ส่องโต๊ะประชุม “แม่โขง-ล้านช้าง” บทสรุปที่ “อเมริกา” ไม่อยากได้ยิน

การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 4 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ภายใต้หัวข้อ “Join Hands on the Building of a Community of Shared Future and Modernization among Mekong-Lancang Countries” เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 มีบทสรุปที่เต็มไปด้วยมิตรไมตรีของ 6 ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงลุ่มน้ำล้านช้าง-น้ำโขง

บรรยากาศการประชุมเต็มไปด้วยถ้อยที ถ้อยอาศัย เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ปราศจากการข่มขู่ คุกคาม จีนในฐานะพี่ใหญ่เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของ 5 ประเทศแบบฉันทามติที่เท่าเทียมกัน แสดงให้เห็นถึงคำกล่าวหาที่สหรัฐเคยปักปรำว่าจีนพยายามเข้าครอบงำลุ่มน้ำโขงนั้น ไม่เป็นความจริง ทั้งที่ประเทศนอกภูมิภาคไม่ควรเข้ามากวนน้ำให้ขุ่น

ต้องยอมรับว่า ในระยะหลัง สหรัฐได้ลดบทบาทในดินแดนแถบนี้ลงไปมาก หากเทียบกับยุคสงครามเย็น ถึงแม้จะมีการจัดตั้งความริเริ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง (LMI : Lower Mekong Initiative) เมื่อปี 2009 สมาชิกประกอบด้วยสหรัฐ เมียนมา ไทย ลาว กัมพูชาและเวียดนาม แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ ต่างกับจีนที่ทวีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากโครงการ “ล้านช้าง–แม่โขง” (จีน เมียนมา ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) ที่เน้นการดำเนินโครงการด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ วิถีชีวิต วัฒนธรรม สร้างความเข้มแข็งในกลุ่มประชากรทั้ง 6 ประเทศแบบตรงไป ตรงมา ปราศจากการแทรกแซงทางการเมืองระหว่างประเทศ นั่นทำให้กลุ่มประเทศสมาชิกมีความเชื่อมั่น กล้านำเสนอแนวคิด จนนำมาซึ่งความเป็นปึกแผ่นและแนบแน่นมากขึ้นเรื่อยๆ

สิ่งที่น่าจับตามองอย่างยิ่งในการประชุมแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 4 คือทั้ง 6 ประเทศ พร้อมสนับสนุนความร่วมมือที่มีคุณภาพสูงภายใต้แผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ประกอบด้วย 1.แผนริเริ่มการพัฒนาระดับโลก (GDI) 2.แผนริเริ่มด้านความมั่นคงระดับโลก (GSI) และ 3.แผนริเริ่มอารยธรรมระดับโลก (GCI) ที่นำเสนอโดยจีน โดยมองว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้แข็งแกร่งและยืดหยุ่นยิ่งขึ้น ร่วมสร้างภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขงที่สงบ ปลอดภัย มั่นคง เจริญรุ่งเรือง สวยงาม และรักใคร่กลมเกลียว รวมถึงสร้างความก้าวหน้าใหม่สู่ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน มุ่งสู่สันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในกลุ่มประเทศแม่โขง-ล้านช้าง

ประเทศไทย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้นำเสนอเครือข่ายความเชื่อมโยงภายใต้ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง เพื่อเป็นระเบียงการค้าระหว่างประเทศทางบกและทางทะเลแห่งใหม่ นั่นก็คือโครงการ Landbridge ที่เชื่อมต่ออ่าวไทยกับมหาสมุทรอินเดีย โดยมองว่าโครงการนี้จะเป็นประตูสู่ตลาดโลกและห่วงโซ่คุณค่าสําหรับอนุภูมิภาค และได้เชิญชวนให้จีนมีส่วนร่วมในการลงทุนกับโครงการนี้ ต่อยอดจากโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่จะเชื่อมต่อกับรถไฟจีน-ลาว เกิดเป็นความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจแบบไร้รอยต่อ ซึ่งจะช่วยให้การขนส่งสินค้าเกษตรและการไปมาหาสู่กันดำเนินได้อย่างรวดเร็ว

ด้านนายกรัฐมนตรี ฝามมิงชิ้งห์ ของเวียดนาม ได้กล่าวย้ำในที่ประชุมว่าความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างได้กลายเป็นกลไกสำคัญที่เชื่อมโยงประเทศลุ่มน้ำโขงและจีน ซึ่งเป็นต้นแบบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาร่วมกันและเอื้อประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย พร้อมนำเสนอเนื้อหาสำคัญ 3 ประการของ MLC ในเวลาข้างหน้า ประการแรก คือการสร้างภูมิภาคแม่โขง-ล้านช้างที่ทันสมัยและพัฒนา ประการที่สอง การสร้างภูมิภาคแม่โขง-ล้านช้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยั่งยืน และครอบคลุม สร้างความกลมกลืนระหว่างปัจจุบันและอนาคต ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยถือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง เป็นพลังขับเคลื่อนและเป้าหมายของการพัฒนาโดยไม่ปล่อยให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และ ประการที่สาม สร้างภูมิภาคแม่โขง-ล้านช้างแห่งสันติภาพและความร่วมมือ

เมียนมาในฐานะเจ้าภาพร่วม เปิด “แถลงการณ์เนปิดอว์” ระบุว่า คณะผู้นำยืนยันความมุ่งมั่นทำงานร่วมกัน เพื่อจัดการกับความท้าทายร่วม เห็นพ้องเดินหน้าการพัฒนาเศรษฐกิจล้านช้าง-แม่โขงที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และใช้โอกาสจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรม เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค และการฟื้นฟูพลังความมีชีวิตชีวา

ภาพการประชุมดังกล่าว ลบคำกล่าวอ้างของสหรัฐที่พยายามกล่าวหาว่าจีนกำลังสร้างอิทธิพลเหนือแม่น้ำโขง ตรงกันข้าม กลไกแม่น้ำโขงครอบคลุมความร่วมมือในมิติที่กว้างไกลกว่าที่มีมาแต่เดิม ด้วยการตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC : Mekong River Commission) ซึ่งเน้นการประสานความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรน้ำเป็นหลัก รวมถึงยังครอบคลุมถึงเรื่องการเชื่อมโยงความสามารถด้านการผลิต ความร่วมมือทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดน และการเกษตรกับการลดความยากจน

ความสำเร็จของ 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง เดินหน้ามาถึงวันนี้ได้ เพราะความจริงใจที่เปิดกว้าง ยึดโยงผลประโยชน์ของทุกประเทศเป็นที่ตั้ง โดยไม่มีการเมืองระหว่างประเทศเข้ามาแอบแฝง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts