สายช้อป สายเต้น สายชิม ไม่ว่าจะสายไหน ไลฟ์สไตล์อะไร เล่น TikTok อยู่ดี ๆ เงินก็หายได้ เพราะมีมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาท่ามกลางสื่อออนไลน์ยอดฮิต ทำให้หลายคนเสียเงินได้แบบไม่รู้ตัว
.
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จะมาบอกวิธีที่มิจฉาชีพใช้หลอกลวงมีอะไรบ้างดังต่อไปนี้
.
1.หลอกลงทุน หลอกแจกเงิน
มิจฉาชีพจะติดต่อเข้ามาใน TikTok อ้างว่าเป็นฝ่ายให้บริการหรือเป็นลูกค้าให้ทำคลิปโปรโมท โดยส่งข้อความมาชักชวนเหยื่อให้ถ่ายคลิปเพื่อโปรโมทต่างๆ และจะให้ค่าตอบแทนคลิป ซึ่งช่วงแรกก็ได้เงินจริงหลังจากนั้นจะพยายามให้เหยื่อลงทุนเพิ่ม ก่อนเชิดเงินหนี
.
2.หลอกไปทำงาน
คลิปรีวิวงาน ที่อ้างว่าทำงานนั่น…ทำงานนี่…ได้เงินดี บลาๆๆ หากมีเหยื่อสนใจติดต่อไป ก็จะถูกพาไปเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หรือบางรายถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศ แต่ให้จ่ายเงินค่าดำเนินการเอกสารก่อน สุดท้ายไม่ได้งานแถมเสียเงิน
.
3.หลอกกดหัวใจ กดไลก์
มิจฉาชีพจะทักมาชวนให้ทำงานเสริม เพียงแค่กดหัวใจก็ได้เงิน ซึ่งงานแรกๆจะได้เงินจริง หลังจากนั้นจะดึงเข้ากลุ่มไลน์คอยส่งคลิปให้กดหัวใจไปเรื่อยๆ และมีเชิญชวนทำกิจกรรมพิเศษให้โอนเงินเรื่อยๆเป็นรอบๆ ยิ่งลงเงินไปเยอะเมื่อไหร่ก็จะมีข้ออ้างติดขัดนู้นนี่ ให้เพิ่มเงินเพื่อทำการถอน สุดท้ายไม่สามารถถอนเงินได้
.
4.ข้อความ Phishing
มิจฉาชีพจะส่งข้อความหรือลิงก์หลอกลวงเหยื่อให้กรอกข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เช่น รหัสผ่าน หากเผลอกดลิงก์ก็อาจถูกติดตั้งมัลแวร์ หรือแอปรีโมทดูดเงิน
.
5.Dropshipping ที่ไม่มีอยู่จริง
คลิปงานโฆษณาสินค้า ขายสินค้า ที่ไถหน้าจอยังไงก็มีให้เห็น มิจฉาชีพอาศัยช่องโหว่นี้แฝงตัวเข้ามาโดยสวมรอยเป็นซัพพลายเออร์ดรอปชิป ให้โฆษณาหรือขายสินค้า แต่หลอกให้ชำระเงินล่วงหน้าก่อนจะเชิดเงินหนีหายไป
.
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวัง หากพบปัญหาเกี่ยวกับมิจฉาชีพออนไลน์สามารถติดต่อ ศูนย์ AOC 1441 เพื่อเข้าปรึกษา แจ้งเบาะแส หรือแก้ไขปัญหาภัยออนไลน์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ
.
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)
มืออาชีพ เป็นกลาง เคียงข้างประชาชน