วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ณัฐวัฒน์ เกศะรักษ์ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ภาคภูมิ ศรีลาภะมาศ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ชัฏฐ นากแก้ว รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ปัญญา กล้าประเสริฐ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ชวินโรจน์ ภีมรัชตธำรงค์ ผกก.2 บก.ปคบ.,พ.ต.ท.อุดมศักดิ์ สุวรรณแสง รอง ผกก.๒ บก.ปคบ.,พ.ต.ท.ธีรภพ พันธุชาติ รอง ผกก.๒ บก.ปคบ.
เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการที่ 2 กก.2 บก.ปคบ. นำโดย ปฏิบัติ พ.ต.ท.จำรูญ คำมา สว.กก.2 บก.ปคบ.,ร.ต.อ.มนูญ แทงทอง รอง.สว.กก.2 บก.ปคบ พร้อม เจ้าหน้าที่ชุดปฎิบัติการที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตร กรมวิชาการเกษตร
พฤติการณ์แห่งคดี สืบเนื่องจาก สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ ๔ กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสายลับไม่ประสงค์ออกนาม แจ้งว่ามีการนำผลิตภัณฑ์สารกำจัดแมลง ชื่อการค้า ซีบราดอน ชื่อสามัญ คลอร์ไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าเป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ ๔ มาจำหน่ายให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕35 ต่อมาจึงได้ร่วมกับเจ้าพนักงานตำรวจ กก.2 บก.ปคบ.รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขอหมายค้นจากศาลเพื่อเข้าตรวจสอบสถานที่ 2 แห่ง ดังนี้
1.หมายค้นของศาลจังหวัดศรีสะเกษ ที่ 20/2567 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อมาตรวจค้น บริษัท ย่งล้งกิจเกษตร จำกัด เลขที่ 1492/69-70 ถ.ขุขันธ์ ต.เมืองใต้ อ.เมืองศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ
2.หมายค้นของศาลจังหวัดศรีสะเกษ ที่ 21/2567 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อมาตรวจค้นโกดังเก็บสินค้า บริษัท ย่งล้งกิจเกษตร จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 144-145 ม.10 ต.โพธิ์ อ.เมืองศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ
ผลการตรวจค้นพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (สารคลอร์ไพริฟอส) จำนวน 4 รายการ (สารพาราควอต) จำนวน 1 รายการ และผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 (สารไกลโฟเซต-ไอโซโพรพิลแอมโมเนีย) จำนวน 1 รายการ (มูลค่าของกลาง 2,500,000 บาท)
เนื่องจากสิ่งของที่ตรวจพบต้องสงสัยว่ามีไว้เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จึงได้ตรวจยึด นำของกลางส่งพนักงานสอบสวน กก.2 บก.ปคบ. เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ซึ่งจากการกระทำดังกล่าว เป็นความผิด ดังนี้
1.มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๔ โดยผิดกฎหมาย ตาม มาตรา ๔๓,74 (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
2.มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ โดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม มาตรา ๒๓,๗๓ (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
เจ้าพนักงานตำรวจชุดดังกล่าวจะได้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ต่อ พงส.กก.2 บก.ปคบ. เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดที่สอบสวนถึงตามกฎหมายต่อไป