วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกท้องถิ่นจันทบุรี/สนง.นวัตกรรมแห่งชาติ นำเทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาช้างป่า ในพื้นที่จ.จันทบุรี เตรียมใช้เป็นจังหวัดต้นแบบ ขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

Related Posts

จันทบุรี/สนง.นวัตกรรมแห่งชาติ นำเทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาช้างป่า ในพื้นที่จ.จันทบุรี เตรียมใช้เป็นจังหวัดต้นแบบ ขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป


รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ประธานคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ พร้อมด้วย ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และคณะกรรมการ ที่ปรึกษา ลงพื้นที่ ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการระบบเฝ้าระวังช้างป่าโดยชุมชน ด้วยการประมวลผลภาพช้างแบบอัตโนมัติ ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ ซอง-มู-แฮง ตำบลคลองพูล อำเภอเขาคิขฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้มีการสนับสนุนงบประมาณในการติดตั้งกล้องวงจรปิดตามจุดที่พบช้างป่า และเมื่อมีการเคลื่อนที่ของช้างป่า กล้องจะส่งภาพช้างป่าผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่จากซิมมือถือ และถูกส่งต่อมายังไลน์กลุ่มของชาวบ้านในพื้นที่ เป็นการแจ้งเตือนให้ชาวบ้านได้รู้ความเคลื่อนไหวของช้าง สามารถเตรียมตัวป้องกันอันตรายจากช้างและป้องกันความเสียหายของพืชผลทางการเกษตร
.
รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ประธานคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า แนวคิดของโครงการนี้ คือ การอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ อย่างยั่งยืน โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ทุนสนับสนุนสนับโครงการนี้ ซึ่งดำเนินการมาเกือบ 1 ปี โดยพบว่าปัญหาเดิมที่เคยพบในพื้นที่นี้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น ช้างทำร้ายคนบางครั้งเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ แต่เมื่อมีการดำเนินโครงการนี้ ยังไม่พบปัญหาดังกล่าว ส่วนกรณีช้างทำลายพืชผลทางการเกษตร พบว่ามีน้อยลง ทั้งนี้โครงการโครงการระบบเฝ้าระวังช้างป่าโดยชุมชน ด้วยการประมวลผลภาพช้างแบบอัตโนมัติ เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยไม่เป็นการทำร้ายช้าง และสิ่งแวดล้อม เป็นเพียงแค่การเฝ้าระวังช้าง จากนั้นเมื่อช้างเข้าไปในพื้นที่ของชาวบ้านและชุมชน ก็จะมีกระบวนผลักดันต่อไป
.
ทางด้าน ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า โครงการระบบเฝ้าระวังช้างป่าโดยชุมชน ด้วยการประมวลผลภาพช้างแบบอัตโนมัติ โครงการนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ทุนใน 2 มิติ คือ มิติด้านเศรษฐกิจ และมิติด้านสังคม ซึ่งในส่วนของพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ที่มีปัญหาช้างป่า คณะทำงานมีความตั้งใจและอยากเห็นคนกับช้างอยู่ด้วยกันในพื้นที่ จึงได้หานวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหา หรือ ตอบโจทย์ให้กับพื้นที่ได้ ซึ่งวันนี้ ได้นำได้เทคโนโลยี โดรน ที่มีระบบ AI สามารถตรวจจับลักษณะของช้างได้ทั้งในกลางวันและกลางคืน เข้ามาทดสอบระบยในพื้นที่นี้ด้วย และถ้าในอนาคตมีการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน ก็จะทำให้พื้นที่จ.จันทบุรี เป็นพื้นที่นำร่องในการเฝ้าระวังช้างป่า และการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังของชาวบ้านในชุมชน
.
“ทั้งนี้ ตั้งแต่มีการดำเนินโครงการนี้ ยังไม่พบผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากช้างป่า นอกจากนี้ยังพบว่า พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายน้อยลง”
.
นายสวัสดิ์ ขำเจริญ อดีตกำนันตำบลคลองพูล กล่าวว่า เมื่อมีการดำเนินโครงการนี้ สิ่งแรกที่ชาวบ้านในพื้นที่ได้ คือ ควาทปลอดภัย ชาวบ้านรู้พฤติกรรมของช้างมากขึ้น ต่างจากอดีตที่การทำงานของของชาวบ้าน และอาสาสมัครทำงานแบบสุ่ม ทำให้บางครั้งอาจจะอันตรายได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดความเสียหายของพืชผลทางการเกษตร ซึ่งจากการสำรวจความเสียหายก่อนเริ่มโครงการ ตั้งแต่ปี 2553-2556 พบว่าข้างเคยทำลายพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ใน 9 หมู่บ้าน แยกเป็น ตำบลคลองพูล 7 หมู่บ้าน และตำบลท่าใหม่ 2 หมู่บ้าน มูลค่าความเสียหายกว่า 32 ล้านบาท และเมื่อมีการสำรวจล่าสุด ในปี 2566-2567 พบว่าพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายลดลง และไม่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บบาด หลังจากดำเนินโครงการนี้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts