กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดยกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด
เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.,
พล.ต.ต.วิวัฒน์ ชัยสังฆะ, พล.ต.ต.ไพบูลย์ น้อยหุ่น รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.อธิป พงษ์ศิวาภัย ผบก.ปอท.,พ.ต.อ.ประดิษฐ์ เปการี รอง ผบก.ปอท., พ.ต.อ.พรศักดิ์ เลารุจิราลัย รอง ผบก.ฯ ปรก.บก.ปอท., พ.ต.อ.วัชรพันธ์
ศิริพากย์, พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ รอง ผบก.ปอท. ,พ.ต.อ.สุพจน์ พุ่มแหยม ผกก.2 บก.ปอท.,พ.ต.อ.ชิษณุพงศ์
ไหวดี ผกก.3 บก.ปอท., พ.ต.ท.สัญญา นิลนพคุณ, พ.ต.ท.เสริมศักดิ์ น้อยหัวหาด, พ.ต.ท.อิสรพงศ์ ทิพย์อาภากุล
รอง ผกก.3 บก.ปอท. ได้สั่งการให้ทำการจับกุมคดีสำคัญซึ่งเกี่ยวกับขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่หลอกลวงประชาชนให้ได้รับความเดือดร้อน จำนวน 2 คดี
สืบเนื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่ 2/2566 ลง 12 ต.ค.
66 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการบูรณาการศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti
Online Scam Operation Center : AOC) โดยมี พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. เป็นประธานอนุกรรมการ
และมี พล.ต.ต.อธิป พงษ์ศิวาภัย ผบก.ปอท. เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ก่อนจะมอบหมายให้ AOC กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สืบสวน ติดตามจับกุมกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าวมาดำเนินคดีตามกฎหมายให้
ได้โดยเร็ว
คดีแรก ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) รวบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ใช้ Elite visa แฝงตัวฟอกเงินในไทย พบเงิน หมุนเวียนกว่า 7 หมื่นล้านบาท เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม/ตรวจค้น นำโดย พ.ต.ท.นิธิ ตรีสุวรรณ รอง ผกก.2 บก.ปอท.,
พ.ต.ท.ณัฐวุฒิ มงคลการ, พ.ต.ต.ชัยเวง พาด้วง, ว่าที่ พ.ต.ต.วชิรเชษฐ์ อัครธีระพงศ์, ว่าที่ พ.ต.ต.กมลภพ
หาญเวช สว.กก.2 บก.ปอท., พ.ต.ต.ธนนชัยย์ ศรีบุญจันทร์, ว่าที่ พ.ต.ต. ศุภเดช ธนชัยศิริ สว.(สอบวน) กก.2 บก.ปอท. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปอท. ร่วมด้วย กก.1 บก.ปอท., กก.4 บก.ปคบ.และ ทล.1 กก.
6 บก.ทล. ได้ร่วมกันจับกุมตัวผู้ต้องหา ดังนี้
1.) MR.CHEN อายุ 32 ปี ตามหมายจับ ศาลอาญาที่ 1743/2567 ลง 24 เม.ย.2567 สถานที่จับกุม บ้านหรูแห่งหนึ่ง ย่านถนนราชพฤกษ์ แขวงบางจาก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
2.) นายอนันต์ ฯ อายุ 44 ปี ตามหมายจับ ศาลอาญาที่ 1742/2567 ลง 24 เม.ย.2567 สถานที่จับกุม อาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ตำบลแปลงยาว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงทรา
ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็น
เท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน, มีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ, สมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบ และร่วมกันฟอกเงิน” ของกลางที่ตรวจยึดได้ เงินสดประมาณ 11 ล้านบาท, อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (PC) จำนวน 2 เครื่อง, โทรศัพท์ จำนวน
7 เครื่อง, สมุดบัญชีธนาคาร จำนวน 8 เล่ม, บัตรกดเงินสด (ATM)-บัตรเครดิต จำนวน 13 ใบ, รถยนต์ จำนวน 5 คัน
เครื่องนับเงินสด จำนวน 1 เครื่อง และทรัพย์สินอื่นๆ รวมมูลค่ากว่า 42 ล้านบาท
พฤติการณ์ สืบเนื่องจาก เมื่อประมาณเดือน พฤศจิกายน 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปอท. ได้มีการจับกุมกลุ่ม
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่มีการสร้างเว็บไซต์กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ปลอมขึ้นมา เพื่อหลอกลวงผู้เสียหาย
ที่เคยโดนมิจฉาชีพหลอกเอาเงินไป ซึ่งเหมือนเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนผู้เสียหาย โดยกลุ่มคนร้ายที่ปลอมเว็บไซต์
CIB นี้ขึ้นมา จะสร้างความน่าเชื่อถือกับผู้เสียหายว่า สามารถติดตามเงินคืนกลับมาให้ผู้เสียหายได้ ก่อนที่จะหลอกเอา
เงินผู้เสียหายซ้ำอีกครั้ง
โดยต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปอท. ได้สืบสวนติดตามจับกุมขบวนการดังกล่าว โดยร่วมกันตรวจค้น 9 จุด เป็นพื้นที่กรุงเทพมหานคร , นนทบุรี , สมุทรสาคร , เชียงราย , สุราษฎร์ธานี และสระแก้ว
ขณะนั้นจับกุมผู้ต้องหาได้ 5 ราย ในจำนวนนี้มี 4 รายที่ทำหน้าที่ในการฟอกเงิน และอีก 1 รายเป็น
โปรแกรมเมอร์ มาดำเนินคดีตามกฎหมาย จากการจับกุมในครั้งนั้น มีการสืบสวนขยายผลกลุ่มคนร้ายต่อเนื่อง กระทั่งพบคนร้ายที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิด เพิ่มเติม อีกจำนวน 5 ราย แบ่งหน้าที่กันทำ ดังนี้
- ชายสัญชาติกัมพูชา จำนวน 1 ราย โดยเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของออฟฟิศ แก๊งคอลเซ็น
เตอร์ ประเทศกัมพูชา - ชายสัญชาติจีน จำนวน 2 ราย เป็นพนักงานบัญชี ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ประเทศกัมพูชา
- MR.CHEN สัญชาติ จีน และนายอนันต์ฯ สัญชาติไทย เป็นผู้ดูแลบริหารจัดการกระเป๋าดิจิทัลที่ใช้
ในการกระทำความผิด และร่วมกันการฟอกเงินดิจิทัล ให้เป็นเงินสด(บาทและหยวน) เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายเงินของกลุ่มคอลเซ็นเตอร์
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปอท. ได้รวบรวมพยานหลักฐาน ขอศาลอาญาออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 5 รายไว้ ก่อนเปิดปฏิบัติการ ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดยกก.2 บก.ปอท. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ กก.1 บก.ปอท. , กก. 4 บก.ปคบ. และ ทล.1 กก.6 บก.ทล. บูรณาการกำลังร่วมกัน เข้าทำการตรวจค้นและจับกุม กลุ่มผู้ร่วมขบวนการ การกระทำความผิดดังกล่าวโดยเข้าทำการตรวจค้นทั้งสิ้น 8 จุด แบ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 จุด, จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 2 จุด,จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 2 จุด และ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 จุด จับกุม
ผู้ต้องหาในคดีได้ จำนวน 2 ราย ได้แก่ MR.CHEN สัญชาติ จีน และนายอนันต์ฯ สัญชาติไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการกระเป๋าดิจิทัลที่ใช้ในการกระทำความผิด และร่วมกันการฟอกเงินดิจิทัล ให้เป็นเงินสด(บาทและหยวน) เพื่อ
สนับสนุนการใช้จ่ายเงินของกลุ่มคอลเซ็นเตอร์ นอกจากนี้ได้ทำการเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาสอบสวนให้ปากคำ อีก
จำนวน 5 ราย จากการตรวจค้น สามารถตรวจยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด จำนวนหลายรายการ (ตาม
ของกลางข้างต้น) เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงตรวจยึดไว้ พร้อมนำส่งพนักงานสอบสวน กก.2 บก.ปอท. ดำเนินคดีตามกฎหมาย
สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น MR.CHEN ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา แต่จากการสืบสวนขยายผลพบว่า MR.CHEN มีหน้าที่ในการบริหารจัดการกระเป๋าดิจิทัลให้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยโทรศัพท์มือถือที่ตรวจยึดได้จาก MR.CHEN มีการใช้แอปพลิเคชันหนึ่งในการบริหารจัดการกระเป๋าดิจิทัล ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสมาชิก
แก๊งคอลเซ็นเตอร์จำนวนหลายใบ มียอดเงินหมุนเวียนของกระเป๋ารวมกว่า 7 หมื่นล้านบาท โดยกระเป๋าดิจิทัลเหล่านี้ พบว่าเป็นกระเป๋าที่ตรงกันกับ ที่ได้มีการเข้าแจ้งความไว้ในระบบรับแจ้งความออนไลน์ มากกว่า 30 คดี โดยมี
พฤติการณ์การก่อเหตุ ดังต่อไปนี้ 1.) หลอกทำงานออนไลน์ 2.) ข่มขู่ผู้เสียหายว่าจะถูกดำเนินคดี 3.) หลอกลงทุนเงิน
ดิจิทัล-หุ้น 4.) หลอกเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าหรือเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลาง หลอกลงแอปพลิเคชันดูดเงิน 5.)หลอกว่า
เป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแจ้งผู้เสียหายกำลังถูกแฮ็กบัญชีธนาคารให้ผู้เสียหายโยกเงินไปเก็บไว้ที่ปลอดภัย ฯลฯ อีกทั้ง MR.CHEN ผู้ต้องหารายนี้ ยังมีหน้าที่ฟอกเงินโดยแลกเปลี่ยนเหรียญดิจิตอลเป็นเงินสกุลต่างๆ ให้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่มีฐานปฏิบัติการในประเทศกัมพูชา อีกทั้งตัวของ MR.CHEN ได้ใช้ชื่อของบุคคลอื่น(สัญชาติไทย) ในการทำธุรกรรมเพื่อซื้อและถือครองทรัพย์สินหลายรายการด้วยเงินสด อาทิเช่น บ้านเดี่ยว 2 ชั้น,
ที่ดิน, รถยนต์และทรัพย์สินมีค่าเครื่องประดับ
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบวีซ่าของ MR.CHEN พบว่าเป็น วีซ่าประเภท อีลิท การ์ด แพคเกจแบบ 5 ปี และในวันที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุม MR.CHEN พบภรรยาสัญชาติจีนของ MR.CHEN พักอาศัยอยู่ด้วยกันกับ ลูก 3 คน โดย MR.CHEN ได้ให้ภรรยาของตนจดทะเบียนสมรสกับชายไทยและให้ชายไทยคนดังกล่าวรับเป็นบิดาของลูกทั้ง 3 คน โดยจุดประสงค์เพื่อให้ลูกที่เกิดมาได้รับสัญชาติไทย ขณะที่ นายอนันต์ฯ ผู้ต้องหาปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยให้การว่าได้รู้จัก MR.CHEN มาประมาณ 10 ปี และได้ให้ MR.CHEN ใช้บัญชีธนาคารและบัญชีแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนเหรียญดิจิทัลของตนเอง แต่ไม่ได้มีส่วนในการไปหลอกลวงแต่อย่างใด
ช่องทางการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม พ.ต.ท.ศุภเดช ธนชัยศิริ สว.กก.2 บก.ปอท. โทรศัพท์
096-519-6351