ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดยกองบังคับการตำรวจน้ำ ภายใต้การอำนวยการของ
พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.ภูมินทร์ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.พฤทธิพงศ์ นุชนารถ
ผบก.รน., พ.ต.อ.ธรากร เลิศพรเจริญ รอง ผบก.รน., พ.ต.อ.วัลลพ พวงผกา รอง ผบก.รน., พ.ต.อ.ราม รสหอม รอง ผบก.รน., พ.ต.อ.ธนวัฒน์ หิ้นยกฮิ่น ผกก.8 บก.รน., พ.ต.อ.กมลศักดิ์ วันประดุง ผกก.9 บก.รน.
เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย เจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการ 8 กองบังคับการตำรวจน้ำ,
กองกำกับการ 9 กองบังคับการตำรวจน้ำ
ร่วมกันจับกุม ผู้ต้องหารวมทั้งหมด 112 คน
ตรวจยึดของกลางทั้งหมด
- ยาเสพติด จำนวน 19,996 เม็ด
- อาวุธปืน จำนวน 23 กระบอก
- กระสุนปืน จำนวน 314 นัด
- อวนล้อมจับปลาความยาว 260 เมตร จำนวน 1 ผืน
- เรือเจ็ตสกีไม่มีทะเบียนเรือ จำนวน 27 ลำ
พฤติการณ์ ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน พื้นที่อ่าวอันดามันซึ่งเป็นพื้นที่การประมงที่มีความสำคัญและเป็นพื้นที่เศรษฐกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ยังคงมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบทำประมงผิดกฎหมาย การแพร่ระบาดของยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น เปิดยุทธการ
“ฟ้าสางที่อันดามัน” เพื่อเป็นการป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่
โดยรับผิดชอบพื้นที่ตั้งแต่ จังหวัดระนอง, จังหวัดพังงา, จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดกระบี่, จังหวัดตรัง
และจังหวังสตูล ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบรวม 691 ตารางไมล์ทะเล
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมเรือประมง จำนวน 1 ลำ ที่บริเวณทะเลใกล้ชายฝั่งเกาะภูเก็ต
ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน 1. ใช้เครื่องมือประมงพานิชย์ทำการประมงโดยไม่ได้รับอนุญาต - ทำการประมงในเขตชายฝั่งโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 และ 2560 (ฉบับแก้ไข)
จากการตรวจสอบเรือดังกล่าวเพิ่มเติมพบว่า มีตำหนิรูปพรรณเรือไม่ตรงกับข้อมูลทะเบียนเรือ ซึ่งถือว่าเป็นเรือที่สวมทะเบียน โดยเรือประมงลำจริงจอดอยู่ที่ท่าเรือในจังหวัดสตูล ซึ่งผู้ครอบครองเรือลำที่สวมทะเบียน
ให้การว่า ได้ซื้อเรือดังกล่าว มาจากเจ้าของเรือประมงลำจริง เมื่อปี 2565 โดยตกลงราคาและชำระเงินบางส่วน ส่วนที่ค้างชำระ เป็นการขอหุ้นทำประมงแบ่งผลกำไรกัน กรมประมงและเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้สั่งย้ายสถานที่กักเรือมายังท่าเทียบเรือตำรวจน้ำ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต เพื่อดำเนินคดีกับผู้ครอบครองเรือลำที่สวมทะเบียน ตามความผิดใน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 และ 2560 (ฉบับแก้ไข) 1. ใช้เรือไร้สัญชาติทำการประมง - ปลอมแปลง ปิดบัง หรือเปลี่ยนแปลงทะเบียนเรือประมง 3. ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่(สั่งกักเรือประมง), ประมวลกฎหมายอาญา 1. ปลอมแปลงเอกสาร 2. ปลอมแปลงเอกสารราชการ,
พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 1. ใบอนุญาตใช้เรือจะใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้ 2. นำใบอนุญาตใช้เรือของผู้อื่นมาแสดงว่าเป็นใบอนุญาตใช้เรือของตน และเจ้าของเรือลำจริง ตามความผิดใน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 และ 2560 (ฉบับแก้ไข) “ปลอมแปลง ปิดบัง หรือเปลี่ยนแปลงทะเบียนเรือประมง”,
พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 “ใบอนุญาตใช้เรือจะใช้สับเปลี่ยนกันไม่ได้”
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้บูรณาการร่วมกับสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ตและศูนย์ควบคุม
ความมั่นคงท่าเรือจังหวัดภูเก็ต จับกุมเรือเจ็ตสกีไม่มีทะเบียนเรือ จำนวน 27 ลำ ที่บริเวณทะเลพื้นที่อ่าวปอและพื้นที่ใกล้เคียง อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ในข้อหา “ใช้เรือก่อนได้รับใบอนุญาตใช้เรือ”
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ออกตรวจเชิงรุกเรือสปีดโบ๊ทท่องเที่ยวและเรือประมงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางทะเล ป้องกันการก่ออาชญากรรมต่างๆ ได้จับกุมคนประจำเรือสปีดโบ๊ทและลูกเรือประมง
เนื่องจากทำผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ในข้อหา “ครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) โดยไม่ได้รับอนุญาต, เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) โดยไม่ได้รับอนุญาต” รวมทั้งหมด จำนวน 56 ราย 39 คน ของกลาง และตรวจยึดยาบ้ารวมทั้งหมด 19,996 เม็ด จากนั้นนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดส่งดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา