ฟิตแต่เช้า! “ชัชชาติ” ลุยหาเสียงย่านบางพลัด มองชาวบ้านบางส่วนเข้าไม่ถึงโซเชียล ต้องมาฟังปัญหาเอง ย้ำแนวทางหาเสียงรักษ์เมือง ลดขยะ ลดมลพิษ
2 เมษายน 2565 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เบอร์ 8 ลงพื้นที่ตลาดวัดรวกบางบำหรุ เขตบางพลัด เพื่อพบปะแนะนำตัวกับชาวบ้าน และพ่อค้าแม่ค้าในย่านดังกล่าว ตั้งแต่เวลา 07.00 น. บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีชาวบ้านให้ความสนใจร่วมทักทาย ขอถ่ายรูป ตลอดเส้นทาง
ระหว่างลงพื้นที่นายชัชชาติได้แลกเปลี่ยนความเห็นกับชาวบ้าน สอบถามความเป็นอยู่รวมถึงแลกเปลี่ยนเรื่องการใช้ยานพาหนะกับคนในพื้นที่เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานในการเดินทางมาตลาด ซึ่งตรงกับคอนเซปต์การหาเสียงเป็นแบบไร้มลพิษ
โดยนายชัชชาติกล่าวถึงกลยุทธ์ในการหาเสียง ว่า ตอนนี้ต้องทำทุกแบบ เพราะเราบอกว่าเราจะทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน และข้อมูลการสื่อสารต้องไปทุกกลุ่ม และมีการใช้ระบบสื่อสารออนไลน์ ซึ่งปล่อยไปตั้งแต่เมื่อวานนี้แล้ว และลงพื้นที่ชุมชนที่อาจจะเข้าไม่ถึงสื่อออนไลน์ วันนี้ตนมาลงพื้นที่บางพลัด เจอชาวบ้านเยอะ อุ่นใจ มีเสียงตอบรับที่ค่อนข้างดี
พื้นที่บังคับเป็นจุดที่น่าสนใจเพราะมีความเจริญมาถึงแล้วจะเห็นได้ว่ามีรถไฟฟ้ามาถึงบริเวณจรัญสนิทวงศ์ แต่ชาวบ้านที่อยู่ในซอยวิถีชีวิตยังคงเหมือนเดิม ยังไม่ได้ประโยชน์กับเส้นเลือดใหญ่อย่างรถไฟฟ้ามากนัก ปัญหาที่เยอะที่มาเจอ คือชุมชนที่ยังไม่มั่นคง อย่างชุมชนวัดรวกฯ ก็มีชุมชนที่อยู่รอบวัดอีก 5ชุมชน ดังนั้นตนคิดว่าการดูแลสาธารณสุขการศึกษาที่อยู่อาศัย ชุมชนในเขตบางพลัดเป็นเรื่องสำคัญและ กทม.จะต้องลงมาดูแลพยายามให้ประชาชนได้ประโยชน์จากรถไฟฟ้า การเดินทางที่สะดวกขึ้น
สำหรับการหาเสียงแบบรักเมืองนั้น ที่ผ่านมาเห็นว่า บางทีการหาเสียงทำให้เกิดสกปรก รกรุงรัง ขวางทางเดินเราทำตั้งใจทำให้เมืองดีขึ้นแต่ถ้าเริ่มต้นทำให้เมืองแย่ลงก็ถือว่าผิดหลักการ ดังนั้นจึงแจ้งกับทีมงานในเรื่องของการหาเสียงแบบรักเมือง ขั้นแรกคือการใช้ป้ายให้น้อยลง เล็กลง ไม่เบียดบังผู้คน ไวนิลก็เอามารียูชเป็นกระเป๋าได้ และกระดาษใบปลิวหาเสียงเป็นชนิดเดียวกับกระดาษหนังสือพิมสามารถนำมารีไซเคิลได้ แม้แต่เอาไปรองนั่ง ห่อดอดไม้ เช็ดกระจกก็ถือว่าได้ใช้ประโยชน์ ส่วนรถแห่ก็จะใช้รถ EV เพราะไม่ก่อให้เกิด PM 2.5 ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและก๊าซเรือนกระจก แต่ปัญหาของการใช้รถEV ในกรุงเทพฯก็ไมีก็มีเช่น จุดเติมไฟ เรื่องการหารถกระบะที่เป็นEV ไม่ใช่ง่าย แต่ก็ต้องพยายามและเข้าใจปัญหามากขึ้น ซึ่งกทม.ต้องเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหามากขึ้น
การใช้ป้ายที่มันจำกัด ก็ช่วยในเรื่องของการร้องเรียนมากขึ้น แต่ตนก็เชื่อว่า คนคงไม่มีใครเลือกเราเพราะเห็นป้าย แต่คนจะเลือกเราเพราะนโยบาย เพราะเชื่อมั่นในตัวเราเชื่อว่าป้ายไม่ได้มีผล ตนมองว่าป้ายเป็นวิธีการหาเสียงสมัยก่อนต่อเนื่องกันมา หลักง่ายๆเห็นป้ายนอื่นให้คิดถึง”ชัชชาติ” เพราะเราไม่ได้ติดป้ายเยอะ