วันที่ 20 ตุลาคม 2567 สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สนพท) มีกิจกรรมจัดประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ ณ โรงแรม Cruises The Pool Access อ.แกลง จ.ระยอง นำโดย นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมฯ สนพท. และ นายนพดล แสงวิไล กรรมการ สนพท. จ.ระยอง และ มีการจับมือ ประกาศเจตนารมย์ MOU ร่วมกับ กลุ่มบริษัทกัลฟ์ (Gulf ) และ บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (Gulf MTP) โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 นำโดย ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ Gulf พร้อมด้วย คณะกรรมสมาคมฯ สนพท. จังหวัดต่างๆ
พร้อมร่วมขับเคลื่อนและสนับสนุน การสื่อสารเพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ ตามแนวทาง ยุทธศาสตร์ “เมืองจุลินทรีย์“ (Biobased) เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์ ลดภาวะโลกเดือด รักษาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ ชุมชน โดยฐานความรู้ด้าน “ฐานชีวภาพ” และนวัตกรรมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ สู่การพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของภาคคีความร่วมมือภาคส่วนในสังคม แก้ปัญหาขยะเศษอาหารจากต้นทาง และเปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน
สร้างมูลค่า คุณค่า เสริมอาชีพ รายได้ เศรษฐกิจชุมชน พร้อมกับ การแก้ปัญหาขยะล้นเมือง ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า ระบบนิเวศ ฯลฯ และขับเคลื่อนร่วมกับภาครัฐ และ ประชาสังคม สื่อมวลชน ฯลฯ ลดภาวะโลกร้อน ภาวะโลกเดือด ซึ่งเป็นปัญหาระดับนานาชาติ รวมทั้งประเทศไทยของเรา โดยกิจกรรมกัน ของ Gulf และ สนพท. คือ ในเดือนถัดไป คือ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 จะขับเคลื่อนกิจกรรม จัดตั้งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ร่วมกับ กำนัน และคณะกรรมการชุมชน ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ตามแนวยุทธศาสตร์เมืองจุลินทรีย์ ฯ เพื่อฟื้นฟู “ป่าต้นน้ำและหุบเขาจุลินทรีย์” ฟื้นระบบนิเวศป่าไม้ ป้องกันไฟป่า ลดคาร์บอน และ เป็นการเสริมสร้างอาชีพ ผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และ ลดต้นทุนทางการเกษตร ฯลฯ
สำหรับกิจกรรมในพื้นที่ จ.ระยอง ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน กล่าวว่า กลุ่มบริษัทกัลฟ์ มีนโยบายชัดเจนด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และร่วมพัฒนาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน กรณีตัวอย่างเช่น ในช่วง 3 ปี (ปี 2565-2567 ) ที่ผ่านมา ได้ส่งเสริมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง โดยมีการอบรมความรู้และแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากเศษอาหาร เศษปลา ก้างปลา (ปลาเห็ดโคลน) ที่ชาวบ้านแล่เนื้อขายจะมีเศษปลา ซึ่งเดิมทิ้งเป็นขยะซึ่งจะก่อเกิดมลภาวะชุมชน ได้นำความรู้สู่ชุมชน “เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์” ด้วยกระบวนการหมักแบบชีวภาพ ผลิตเป็น ฮอล์โมนปลาหมัก ปุ๋ยหมักแบบอินทรีย์ การผลิตจุลินทรีย์ก้อน (EM ball) ปุ๋ยน้ำจากปลาทะเล (ซึ่งราคาขายในท้องตลาดลิตรละ 120-150 บาท) แปรูปเป็นน้ำยาล้างจาน ล้างรถ ล้างห้องน้ำ น้ำยาเอนกประสงค์ จุลินทรีย์ ฯลฯ สามารถนำไปใช้ในการเกษตรพืชชนิดต่างๆ ปศุสัตว์ การบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน แม่น้ำลำคลอง ป่าไม้ ป่าชายเลน ฯลฯ สามารถ การใช้ดูแลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและจำหน่ายสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้แก่ชุมชนได้จริง เป็นต้น
ปี 2565 บริษัท กัลฟ์ ร่วมกับ วิสาหกิจกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดาฯ เทศบาลตำบลเนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง จัดโครงการฟื้นฟูป่าชายเลนที่เสื่อมโทรม โดยนำความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ฯ ที่ได้จากการผลิตของวิสาหกิจชุมชนฯที่อบรมไว้ โดยใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพจากจุลินทรีย์ และ จุลินทรีย์บอล นำไปใช้ปรับสภาพดิน น้ำ และใช้เป็นปุ๋ยหรือธาตุอาหาร พร้อมกับฟื้นฟูจุลินทรีย์ในสภาพแวดล้อมดินน้ำป่าของป่าชายเลนฯ ช่วยย่อยเศษใบไม้ อินทรีย์วัตถุในป่าชายเลน ฯลฯ ตั้งแต่ปี 2565 ถึงปัจจุบัน มีสภาพที่ดีขึ้นพร้อมทั้งร่วมกับชุมชนและชาวประมง ปลูกป่าชายเลนเพิ่มเติม กว่า 5,000 ต้น ประสบผลสำเร็จอย่างดีมี อัตราการรอดกว่า 80 % และเจริญเติบโตมาก จากที่เริ่มปลูกกล้าใหม่มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ผ่านไป 2 ปี เศษ เติบโตดีมาก สูงกว่า 1.50 – 2.50 เมตร ใบเขียว แผ่กิ่งก้านรากแข็งแรงและปัจจุบันยังร่วมกับชุมชนฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง
อีกโครงการหนึ่ง Gulf ร่วมนำยุทธศาสตร์เมืองจุลินทรีย์ ร่วมกับสื่อมวลชนและภาคประชาสังคม จ.ระยอง จัดทำโครงการ “ระยองไม่เทรวม” โครงการแยกขยะเพื่อสิ่งแวดล้อม ลดขยะเศษอาหารของเมือง โดยนำองค์ความรู้ด้านจุลินทรีย์ ฯ (ฐานชีวภาพ) มาใช้รณรงค์การแยกขยะร่วมกับชุมชน และสนับสนุนจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ ฯชุมชนเป็นต้นแบบ นำขยะเศษอาหารจากครัวเรือน และ ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า โรงแรมฯ มาผ่านกระบวนการหมักแบบชีวภาพ แปรรูปเป็นปุ๋ยหมักคุณภาพสูง ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และการทำจุลินทรีย์ก้อน (Em ball) ภาคชุมชนและประชาสังคม อยู่ระหว่างพัฒนาโครงการฯร่วมกับทางจังหวัดและอบจ. เพื่อรณรงค์การแยกขยะและลดขยะแปรรูปเปลี่ยนเป็นประโยชน์ในการรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาขยะเศษอาหารล้นเมือง ระยอง
นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมฯ สนพท. กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับกลุ่มบริษัทกัลฟ์ (Gulf) เป็นแนวคิดยุทธศาสตร์ที่ดีมากสอดคล้องกับปัญหาสังคมในปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหาขยะ และภาวะโลกร้อน ..ถึงเวลาทีถึงเวลาที่เราทุกคน ต้องตระหนักและต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตของเราทุกคน แนวคิด “ยุทธศาสตร์ เมืองจุลินทรีย์“ คือการใช้กลไกธรรมชาติชีวภาพในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมบูรณ์สมดุลสู่ความยั่งยืน “แนวทางฟื้นฟูเสมือนการย้อนกลับไปสร้างโลกใหม่เพื่อแก้ปัญหาและสร้าง นิเวศสิ่งแวดล้อม ยั่งยืน สนพท. จะร่วมสื่อสารสร้างสังคมการเรียนรู้ร่วมกับกัลฟ์“ โดยการสร้างองค์ความรู้แก่ชุมชน สังคม เพื่อณรงค์ให้ประชาชนตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม และมีความรู้ มีแนวทางปฏิบัติในตนเองและครัวเรือนได้ และจะขับเคลื่อนกลไกทางสังคมร่วมกับทุกภาคส่วน เป็นองค์กรสื่อสารเพื่อสิ่งแวดล้อมเพื่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี ของประเทศไทยของเราทุกคน