วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
หน้าแรกภูมิภาคปคบ.จับปุ๋ยเคมีปลอม เร่ขายเกษตรกรใน จ.ภาคใต้ พบโดนหลอกเพียบมูลค่าความเสียหายกว่า 2 ล้านบาท

Related Posts

ปคบ.จับปุ๋ยเคมีปลอม เร่ขายเกษตรกรใน จ.ภาคใต้ พบโดนหลอกเพียบมูลค่าความเสียหายกว่า 2 ล้านบาท

วันที่ 20 เม.ย. ที่ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.
พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.สําเริง อําพรรทอง. พ.ต.อ.ธรากร เลิศพรเจริญ พ.ต.อ.สมเกียรติ ตันติกนก พร รอง ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.อภิชาติ เรนชนะ ผกก.๒ บก.ปคบ. พ.ต.ท.กานต์กนิษฐ์ จงประเสริฐ พ.ต.ท.ธีรภพ พันธุชาติ รอง ผกก.๒ บก.ปคบ. ได้สั่งการให้ชุดปฏิบัติการที่ 4 กก.2 บก.ปคบ.ประกอบด้วย พ.ต.ต.พงษ์ธนา กรีฑา สว.กก.2 เจ้าพนักงานตำรวจ บก.ปคบ.ไปทำการสืบสวนหลังจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชน ในพื้นที่ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ว่ามีผู้ฉวยโอกาสในขณะที่ปุ๋ยราคาแพงลักลอบขายปุ๋ยเคมีปลอม มาเร่ขายให้กับเกษตรกรในพื้นที่ จึงได้ลงพื้นที่เพื่อทําการสืบสวนหาตัวผู้กระทําความผิด โดยพบว่ามีผู้เสียหายหลงเชื่อเป็นจํานวนมาก ลักษณะการกระทําความผิดโดยใช้วิธีการขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดทั่วไป ทําให้มีเกษตรกรหลงเชื่อและบอกต่อๆ ให้ญาติพี่น้องติดต่อสั่งซื้อกันจำนวนมาก
สร้างความเสียหายให้เกษตรกรรายละหลายหมื่นบาท

จากการสืบสวนพบว่าปุ๋ยดังกล่าวมีการโฆษณาบอกแก่ลูกค้าหรือผู้ซื้อว่าเป็น “ปุ๋ยท้องเรือ”โดยปุ๋ยดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับปุ๋ยเคมีที่วางจําหน่ายในท้องตลาด แต่ไม่มีกลิ่นฉุน จับดูแล้วมีลักษณะคล้ายดินอัดก้อน โดยมีผู้เสียหายที่หลงเชื่อและได้ซื้อปุ๋ยปลอมดังกล่าวได้นําผลิตภัณฑ์ซึ่งต้องสงสัยว่า เป็นปุ๋ยปลอม มามอบให้เจ้าหน้าที่ตํารวจและได้ประสานงานกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพรเพื่อตรวจพิสูจน์ เบื้องต้นพบว่ามีผู้เสียหายจํานวนหลายสิบคน และยังมีผู้เสียหายที่อยู่ระหว่างติดต่อร้องทุกข์กล่าวโทษอีกจํานวนมาก เบื้อต้นมูลค่าความเสียหายประมาณ 2 ล้านบาท

โดยจากการสืบสวนพบว่าปุ๋ยปลอมดังกล่าวมีลักษณะคล้ายปุ๋ยยี่ห้อหนึ่งซึ่งเลขทะเบียนปุ๋ยหมดอายไปตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งถือว่าเป็นปุ๋ยเสื่อมสภาพ โดยชุดสืบสวนจะได้สืบสวนหาความเชื่อมโยงกันต่อไป โดยการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐาน ผลิตปุ๋ยโดยไม่ได้รับอนุญาต ผลิตปุ๋ยเพื่อจำหน่ายโดยไม่ขึ้นทะเบียนปุ๋ย ตามมาตรา 71,72 พ.ร.บ.ปุ๋ย 2550 ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ 1 ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นถึงสองแสนบาท

บก.ปคบ.เตือนภัยในสถานการณ์ปุ๋ยแพง เช่นในปัจจุบันมิจฉาชีพ จะใช้โอกาสในการหลอกลวงเกษตรกรหรือผู้บริโภค โดยการเสนอขายสินค้าที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาดโดยจะอ้างเหตุผลต่างๆนาๆฉะนั้นการตัดสินใจซื้อปุ๋ยเคมีภัณฑ์ หรือ ผลิตภัณฑ์อื่นใด ที่มีราคาถกูกว่าท้องตลาด ให้พึงระวังไว้เลยว่าสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าปลอม หรือสินค้าที่ไม่ได้ มาตรฐาน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts