วันอาทิตย์, ธันวาคม 22, 2024
หน้าแรกการเมืองสุญญากาศพลังงานของแทร่!

Related Posts

สุญญากาศพลังงานของแทร่!

“….เมื่อตรวจสอบมูลเหตุในการสังระงับการลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างโครงการจ้างเหมาขุด-ขนถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะลำปางในครั้งนี้ ที่มีกระแสข่าวระบุว่ามีความพยายามจะผลักดันบริษัทรับเหมายักษ์ คือบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์จำกัด(มหาชน)หรือ ITD ที่ถูกคณะกรรมการกลั่นกรองปัดตกคุณสมบัติไปตั้งแต่แรกให้เข้ามาเสียบแทน ถ้าหากผลสุดท้ายเป็นไปอย่างนี้ ก็ยิ่งทำให้เห็นถึงความพยายามของฝ่ายการเมืองที่มีความพยายาม “ล้วงลูก” เข้ามาแทรกแซงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กฟผ.ในครั้งนี้
ซึ่งจะทำให้หลายฝ่ายนึกย้อนรอยไปถึงการกระตุกเบรกหรือดำเนินนโยบายพลังงานที่ย้อนแย้งนโยบายตนเองหลายต่อหลายนโยบายข้างต้น เป็นไปเพื่อการใดกันแน่ เพื่อตรวจสอบความโปร่งใส หรือต้องการ “ล้วงลูก” เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์กันแน่…”

สุญญากาศพลังงานของแทร่!

ผลพวงนโยบายไม้หลักปักเลน “ล้วงลูก” จนงานเข้า กกพ.หักดิบยุบพลังงานทางเลือกเมินใบสั่านชิ้นโบแดงของกระทรวงพลังงานยามนี้ ที่เพิ่งสร้าง “เซอร์ไพรส์”ปรับลดค่าไฟฟ้าลงมาเหลืออ 4.15 บาทต่อหน่ายเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนคนไทยไปล่าสุด

แต่แทนที่ รมต.พลังงานจะได้รับคำชื่นชมตักตวงเครดิตไปเต็มหน้าตัก ก็กลับเรียกแขกให้งานเข้า เครดิตที่สั่งสมมาค่อนชีวิตกำลังถูกสังคมตั้งข้อกังขาและค่อนแคะจนแทบจะเสียศูนย์ หลังจากออกมา “กระตุกเบรก” นโยบายพลังงานของตัวเองจจนมั่วตุ้มไปหมด

ไล่ดะไปตั้งแต่การสั่งชะลอกระบวนการสรรหา “กรรมการกำกับกิจการพลังงาน” หรือ “กกพ.”ที่ว่างลง 4 คน (จากที่มี 7 คน) คือประธาน กกพ.และ กกพ.อีก 3 คน ทั้งที่กระทรวงพลังงานเองเป็นผู้เลือกเฟ้นและเสนอ ครม.แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหามากับมือ หากกระบวนการสรรหา หรือกรรมการสรรหาไม่โปร่งใส กระทรวงพลังงานเองจะปัดความรับผิดชอบไปได้หรือ?

แต่การปล่อยให้องค์กรกำกับกิจการพลังงานของประเทศเกิด “สุญญากาศ” ขึ้นมา  ทำให้ทุกฝ่ายแสดงความกังวลว่า จะกระทบต่อการขับเคลื่อนนโยบายพลังงานในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อหรือไม่ โดยเฉพาะการเร่งรัดนโยบายเปิดเสรีซื้อ-ขายไฟฟ้าพลังงานสะอาด PPA ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)ที่มี นายกฯแพทองธาร ชินวัตร เป็นประธานเพิ่งจะมอบหมายให้กระทรวงพลังงานเร่งรัดนโยบายดังกล่าวลงมาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

หรือการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเฟส2 จำนวน 3,100 เมกะวัตต์ที่สำนักงาน กกพ.เพิ่งจะประกาศตั้งโต๊ะออกประกาศเปิดให้ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเดิมที่พลาดหวังจากการขายไฟในเฟสแรกเข้ายื่นข้อเสนอ

ทั้งที่เรื่องดังกล่าวหากกระทรวงพลังงานมีข้อทักท้วงสงสัย หรือต้องการปรับเปลี่ยนแนวทางดำเนินการก็ควรจะดำเนินการไปก่อนหน้าที่ กกพ.จะตั้งโต๊ะออกประกาศรับซื้อ เมื่อกระทรวงพลังงานลุกขึ้นมาฟ้อนเงี้ยวกระตุกเบรกเรื่องเหล่านี้หลังจากที่ กกพ.ได้ดำเนินการไปแล้ว หลายฝ่ายจึงตั้งข้อกังขาเอากับ รมต.พลังงานเสียเองว่า รับใบสั่งมาจากใคร หรือกลุ่มทุนใดมาหรือไม่?

กกพ.เมินใบสั่ง-ลุยจัดซื้อไฟฟ้าทดแทน เฟส2

ก็คงเพราะเหตุนี้ล่าสุด แวดวงพลังงานจึงได้เห็นมหกรรมหักดิบใบสั่งการเมือง ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กกพ.ที่ “หักดิบ” กระทรวงพลังงาน ด้วยการประกาศเดินหน้ารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) เฟส2

โดย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ลงนามในประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมที่ได้รับการคัดเลือก ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ.2567 ซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ประชุมให้ความเห็นชอบไป เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 จำนวน 72 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าที่เสนอขายรวม 2,145.4 เมกะวัตต์

โดยแบ่งเป็นพลังงานลม จำนวน 8 ราย รวม 565.40 เมกะวัตต์ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ หรือ SCOD ตั้งแต่ปี 2571-2573 และพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน จำนวน 64 ราย รวม 1,580 เมกะวัตต์ กำหนด SCOD ตั้งแต่ปี 2569-2573

โดยมีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ให้การไฟฟ้าคู่สัญญาแจ้งให้ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าทราบและยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 14 วันนับถัดจากวันที่ สำนักงาน กกพ.ประกาศรายชื่อ

และกลุ่มที่ 2 ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อสถานีไฟฟ้าเดียวกัน ตกลงรูปแบบการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายตามหลักการแบ่งปันสิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกัน(Common Facilities Sharing) และยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 60 วัน นับถัดจากวันที่ประกาศผลการคัดเลือก

เป็นการหักดิบ กระทรวงพลังงาน ที่มีคำสั่งขอให้ กกพ. ชะลอการดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อตรวจสอบความโปร่งใสในการดำเนินการอีกครั้ง

*ล้วงลูกจัดซื้อ-จัดจ้างหน่วยงาน รวก.ได้หรือ?

ยิ่งเมื่อ รมต.พลังงานออกมา “ล้วงลูก” กระตุกเบรกโครงการจัดซื้อจัดจ้างเหมาขุดและขนถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง วงเงินกว่า 7,250 ล้านของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ(กฟผ.) โดยอ้างว่าได้รับรายงานจากกรรมการบอร์ด กฟผ.รายหนึ่ง ซึ่งเคยทักท้วงและคัดค้านการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้างเหมาขุด-ขนถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะกับบริษัทเอกชนที่ชนะประมูลคือ บริษัทสหกล อิควิปเมนท์จำกัด หรือ SQ ด้วยแล้ว แต่ที่ประชุมบอร์ดกลั่นกรองยังคงยืนยันที่จะดำเนินการทำสัญญากับบริษัท SQ อยู่ต่อไป

หนังสือของกระทรวงพลังงานดังกล่าวจึงกลายเป็น “ใบเสร็จ” ที่สะท้อนให้ห็นถึงความพยายามในการ “ล้วงลูก” กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างปกติของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของฝ่ายการเมืองอย่างชัดแจ้ง

ยิ่งเมื่อตรวจสอบมูลเหตุในการสังระงับการลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างโครงการจ้างเหมาขุด-ขนถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะลำปางในครั้งนี้ ที่มีกระแสข่าวระบุว่ามีความพยายามจะผลักดันบริษัทรับเหมายักษ์ คือบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์จำกัด(มหาชน)หรือ ITD ที่ถูกคณะกรรมการกลั่นกรองปัดตกคุณสมบัติไปตั้งแต่แรกให้เข้ามาเสียบแทน ถ้าเป็นไปอย่างนี้ ก็ยิ่งทำให้เห็นถึงความพยายามของฝ่ายการเมืองที่มีความพยายาม”ล้วงลูก”เข้ามาแทรกแซงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กฟผ.ในครั้งนี้

ซึ่งจะทำให้หลายฝ่ายนึกย้อนรอยไปถึงการกระตุกเบรกหรือดำเนินนโยบายพลังงานที่ย้อนแย้งนโยบายตนเองหลายต่อหลายนโยบายข้างต้น เป็นไปเพื่อการใดกันแน่ เพื่อตรวจสอบความโปร่งใส หรือต้องการ “ล้วงลูก” เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์กันแน่!

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts