วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
หน้าแรกไม่มีหมวดหมู่“5 องค์กรสื่อ”จี้ตำรวจ แก้ไขข้อมูลประวัติอาชญากรให้ถูกต้อง

Related Posts

“5 องค์กรสื่อ”จี้ตำรวจ แก้ไขข้อมูลประวัติอาชญากรให้ถูกต้อง

“…นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานอนุกรรมการฝ่ายกฎหมายและสิทธิ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย…”

[inline_related_posts title=”คุณอาจสนใจเรื่องเหล่านี้” title_align=”left” style=”list” number=”4″ align=”none” ids=”” by=”categories” orderby=”rand” order=”DESC” hide_thumb=”no” thumb_right=”no” views=”no” date=”yes” grid_columns=”2″ post_type=”” tax=””]

เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา องค์กรสื่อประกอบด้วย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้หารือร่วมกับ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เรื่องการแก้ไขปรับปรุงฐานข้อมูลประวัติอาชญากร

เนื่องจากพบว่ามีข้อมูลประวัติอาชญากรจำนวนมากที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
เช่น ตำรวจไม่ดำเนินคดี อัยการไม่ฟ้อง หรือศาลยกฟ้อง แต่ไม่มีการลบรายการประวัติอาชญากรออก ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิในการทำงาน การเดินทางไปต่างประเทศ และสิทธิอื่นๆในฐานะผู้บริสุทธิ์ได้ แม้แต่นักข่าวเองที่เสนอข่าวแต่ถูกฟ้องปิดปาก
แม้อัยการไม่ฟ้องหรือศาลตัดสินยกฟ้อง ก็ยังมีรายการประวัติอาชญากร ทำไม่สามารถทำบัตรผู้สื่อข่าวจากกรมประชาสัมพันธ์ได้

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ชี้แจงว่า ตนกำลังเร่งแก้ประวัติอาชญากร ลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้แก่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติสุขได้ในสังคม โดยดำเนินการย้ายข้อมูลผู้เคยเป็นเพียงผู้ต้องหามาอยู่ข้อมูลผู้ต้องหา ไม่ให้อยู่ในฐานข้อมูลประวัติอาชญากรอีกต่อไป แต่เนื่องจากปัจจุบันมีประวัติที่ยังไม่คัดแยกผลคดีกว่า 12.4 ล้านราย เจ้าหน้าที่มีจำนวนน้อย จะดำเนินการเร่งรัดให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2566 และจะแจ้งให้เจ้าตัวทราบต่อไป ปัจจุบันอยู่ระหว่างการแก้ไขปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้อง

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ข้อมูลและลายพิมพ์นิ้วมือที่อยู่ในการจัดเก็บของตำรวจ ไม่ได้เป็นเพียงข้อมูลของตำรวจ แต่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนด้วย ซึ่งประชาชนมีสิทธิได้รับการคุ้มครองในข้อมูลส่วนบุคคลของตน ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา ดังนั้นจึงมีข้อเสนอ 7 ข้อในการจัดเก็บข้อมูลประวัติอาชญากรให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและกฎหมายดังนี้

1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องออกระเบียบและแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
2. ในชั้นตำรวจสืบสวนสอบสวนต้องไม่มีการเก็บลายพิมพ์นิ้วมือ หากจะเก็บต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร และเก็บไว้ในฐานข้อมูลผู้ต้องหา ไม่ใช่ฐานข้อมูลอาชญากร
3. กรณีที่ไม่ใช่อาชญากรแต่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลอาชญากร ต้องเร่งจำหน่ายชื่อนั้นออกโดยเร็ว และเปิดให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบ และเร่งแก้ไขถ้าเจ้าของข้อมูลแจ้งความผิดพลาด
4. กรณีคำพิพากษาถึงที่สุด การเก็บข้อมูลประวัติของเด็ก จะต้องระวังในการจัดเก็บและใช้ข้อมูลเพื่อเป็นการคุ้มครองเด็ก ซึ่งแตกต่างจากการเก็บประวัติอาชญากรผู้ใหญ่
5. เนื่องจากเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้นเจ้าตัวที่เป็นเจ้าของข้อมูล ต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เช่น ทางออนไลน์ ทางตำรวจต้องแจ้งสถานะของข้อมูลให้เจ้าตัวทราบ
6. การใช้ การเข้าถึงข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูลต้องมีความระมัดระวัง ไม่ให้เจ้าของข้อมูลได้รับความเสียหาย และให้ได้เท่าที่จำเป็นที่สุดเท่านั้น
7. ประสานขอใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้เป็นฐานข้อมูลหลักในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า ยินดีรับข้อเสนอทั้งหมด และจะศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างละเอียด ซึ่งระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่กำลังแก้ไขต้องสอดคล้องกับพระราชบัญญัติฉบับนี้

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts