วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
หน้าแรกสืบเศรษฐกิจศจ.นฤมล เดินหน้าแผนพัฒนากำลังคนป้อนอุตสาหกรรม S-Curve เตรียมนำเข้าสู่ที่ประชุม กพร.ปช.

Related Posts

ศจ.นฤมล เดินหน้าแผนพัฒนากำลังคนป้อนอุตสาหกรรม S-Curve เตรียมนำเข้าสู่ที่ประชุม กพร.ปช.

ไฮไลท์การเมือง : รมช.นฤมลเดินหน้าแผนพัฒนากำลังคนป้อนอุตสาหกรรม S-Curve พร้อมเตรียมนำเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.)

เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve ครั้งที่ 2/2564 เพื่อพิจารณาแนวทางการจัดทำแผนพัฒนากำลังคนของประเทศรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve โดยมีหม่อมหลวงปุณฑริก สิมิติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน และคณะทำงาน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 10 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

ศาสตราจารย์ นฤมล กล่าวว่า จากการประชุมคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 คณะกรรมการฯได้เห็นชอบให้จัดทำแผนพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ได้รวบรวมแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve ประกอบด้วย ข้อมูลแผนงาน/โครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมจำนวน 160 โครงการ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมพัฒนาคนและการศึกษา เพื่อให้สอดรับกับการพัฒนาแรงงานในกลุ่ม 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

จากข้อมูลแผนการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน มีเป้าหมายในการพัฒนาจำนวนกำลังแรงงานประมาณ 890,000 คน ครอบคลุมประมาณการความต้องการกำลังแรงงานใหม่และแรงงานที่อยู่ในสถานประกอบกิจการ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ปี 2562 – 2566 รวมกว่า 475,000 คน ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ มีความต้องการแรงงานกว่า 142,00 คน อุตสาหกรรมดิจิทัลจำนวนกว่า 116,000 คน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จำนวนกว่า 58,000 คน เป็นต้น ซึ่งการจัดทำแผนฯครั้งนี้ ทำให้สามารถเห็นภาพความต้องการกำลังแรงงานของ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายใน S-Curve ของประเทศ พร้อมวางแผนการพัฒนากำลังแรงงานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแรงงานในเชิงรุก ด้วยการ re skill และ up skill

“แผนพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ โดยเน้นการพัฒนาทักษะเพื่อการทำงาน ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและการประกอบอาชีพในอนาคต โดยจะนำกรอบแผนพัฒนากำลังคนเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) เพื่อเร่งขับเคลื่อนต่อไป” รมช.แรงงาน กล่าว

 Advertising

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts