วันจันทร์, พฤษภาคม 20, 2024
หน้าแรกคอลัมนิสต์สืบจากข่าวบทสะท้อนคอรัปชั่นไทย

Related Posts

บทสะท้อนคอรัปชั่นไทย

ระวัง! น้ำผึ้งหยดเดียวอุ้มสมประมูล “สายสีส้ม”
บทสะท้อนคอรัปชั่นไทยฝังรากลึกสุดจะเยียวยา

ผู้สื่อข่าวรายงาน กรณีศาลปกครองกลาง มีคำสั่งเมื่อวันที่ 8 ส.ค.65 ให้ยกคำร้องของคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา กรณีประมูลรถไฟฟ้า สายสีส้ม ที่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTSC ยื่นฟ้อง รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือก เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการดำเนินการใด ๆ ของ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ศาลปกครองได้มีคำสั่งยกคำร้อง ท่ามกลางความงุนงงของทุกฝ่ายที่เฝ้าติดตามกรณีอื้อฉาวดังกล่าว เนื่องจากผลการเปิดให้ยื่นซองข้อเสนอโครงการที่ออกมาล้วนเป็นไปตามที่ทุกฝ่ายคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้าว่า การที่ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกมีการแก้ไขหลักเกณฑ์การประมูลและเพิ่มข้อกำหนดด้านเทคนิคเพิ่มเติมจนทำให้ผู้รับเหมาเข้าประมูลได้ยากขึ้น และทำให้ทั่วทั้งโลก มีกลุ่มรับเหมายักษ์ในประเทศไทยเพียง 2 รายเท่านั้น ที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ที่ รฟม.และคณะกรรมการกำหนด

*ใบสั่งนำคดีเข้าที่ประชุมใหญ่ศาลปกครอง

นอกจากนี้การที่ รฟม.ยกเลิกหลักเกณฑ์ด้านประสบการณ์ในการจัดหาและติดตั้งระบบรถไฟฟ้ามูลค่า 15,000 ล้านบาท ทั้งที่ป่าวประกาศว่าให้ความสำคัญกับผู้เข้าประมูลคัดเลือกที่ต้องดูแลระบบไปถึง 30-40 ปี จนก่อให้เกิดข้อกังขาว่าเอื้อประโยชน์ต่อผู้ให้บริการเดินรถตาเกาหลีเพื่อให้ได้ตั๋วเข้าประมูลเป็นคู่เทียบหรือไม่?

“เหตุนี้ สังคมจึงตั้งข้อกังขาต่อกรณีนี้ว่า มีใบสั่ง หรือมีการนำเอาสถาบันตุลาการเข้ามาแทรกแซงคดีหรือไม่? เพราะโดยปกติศาลปกครองจะแต่งตั้งผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน และองค์คณะขึ้นเพื่อพิจารณาคดีโดยเฉพาะ แต่กรณีคำร้องของบีทีเอสที่ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกระงับประกาศเชิญชวน และระงับการนำหลักเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกฯ RFP ที่มีลักษณะกีดกันผู้เข้าประมูลจากทั่วโลก และขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับ ก่อนมีคำพิพากษานั้น กลับเป็นที่น่าสังเกตว่าจู่ ๆ กลับมีคำสั่งให้มีการนำคดีดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองพิจารณา ก่อนมีคำสั่งไม่รับคุ้มครองออกมา”

ข้อกังขาเกิดขึ้นกับข้ออ้างที่ว่า หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวอีก อาจทำให้โครงการก่อสร้างล่าช้า ทำให้ประเทศเสียหายนั้น จริงเท็จแค่ไหน? เพราะโครงการนี้ล่าช้าไปจากไทม์ไลน์เดิมกว่า 3 ปีแล้ว นับตั้งแต่มติ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการนี้เมื่อ 28 ม.ค.2562 และที่ผ่านมา รฟม.เองก็ยืนยันมาโดยตลอดว่า ไม่ได้ทำให้รัฐเสียหาย หรือมีค่าจ่ายเพิ่มขึ้น เพราะแม้โครงการสายตะวันออก จะก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่ยังไม่มีค่าจ่ายในการดูแลระบบ หรือ Care of Work โดยอ้างว่าเอกชนจะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลระบบเอง จนกว่าโครงการก่อสร้างสายตะวันตกจะแล้วเสร็จ

ระวัง! น้ำผึ้งหยดเดียวทำพังทั้งระบบ!

อย่างไรก็ตาม แม้ศาลจะยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ทำให้ รฟม.สามารถเดินหน้าการประมูลโครงการสายสีส้มไปตามไทม์ ไลน์ที่วางไว้ และต้องไปวัดดวงเอาว่า ในท้ายที่สุดแล้วศาลปกครองจะมีคำพิพากษาในเรื่องนี้อย่างไร จะเจริญรอยตามการประมูลครั้งแรก ที่ศาลมีคำพิพากษาว่า รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กรณีปรับเปลี่ยนเกณฑ์คัดเลือก และกรณียกเลิกการประกวดราคาโดยไม่ชอบอีกหรือไม่? ซึ่งคงจะทำให้โครงการยุ่งขิงยิ่งกว่ายุงตีกันตามมาอีก!

แต่สิ่งที่วงการรับเหมาและผู้ที่เฝ้าติดตามการประมูลโครงการรัฐ กังวลก็คือ หวั่น “มือที่มองไม่เห็น Invisible Hand” เข้ามาแทรกแซงกระบวนการพิจารณาของศาลหรือไม่? จนทำให้หลายฝ่ายอดเป็นกังวลไม่ได้ว่า ในชั้นการพิจารณาคดีของศาล หรือศาลจะมีการสั่งให้นำคดีเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองในลักษณะเช่นนี้อีกหรือไม่?

เพราะผลแห่งคดีนี้จะเป็น “บรรทัดฐาน” ในการประมูลโครงการรัฐในอนาคต ที่ต่อไปคงหาหลักเกณฑ์อะไรไม่ได้อีก หากหน่วยงานและฝ่ายการเมืองตั้งธงจะประเคนโครงการให้กลุ่มทุนทางการเมืองรายใด จะกำหนดเงื่อนไขประมูล RFP เพื่อตีกันไม่ให้รายอื่นอย่างไรก็สามารถดำเนินการได้ เพราะต่อให้ศาลมีคำพิพากษาว่า การกำหนดเงื่อนไขประมูล RFP หมกเม็ดล็อคสเปคตั้งแต่ในมุ้ง หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากสุดท้ายศาลตัดสินแล้วกลับไม่มีผลต่อการดำเนินโครงการที่เซ็นสัญญากันไปแล้ว หรืออย่างมากก็แค่ให้บริษัทเอกชนที่ได้รับความเสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งได้เท่านั้น ทำให้หวั่นเกรงว่าจะเป็นบรรทัดฐานให้หน่วยงานอื่นๆ เจริญรอยตาม

นายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

อดีตผู้ว่า ธปท.เตือนคอร์รัปชั่นไทยฝังรากลึก

ไม่แปลกใจที่วันวาน นายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาสะท้อนวิกฤติด้านสังคมและวิกฤติเรื่องธรรมาภิบาลในปัจจุบัน โดยระบุว่า ขณะนี้สังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุและกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (super aged society)

แต่เรื่องที่ต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้ก้าวข้าม tipping point อีก นั่นก็คือ ปัญหาคอร์รัปชั่น เพราะหากปล่อยให้การคอร์รัปชั่นเป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับได้ในสังคม ก็จะแก้ปัญหาได้ยาก และส่งผลกระทบอย่างกว้างไกลมาก

“ถ้าเราปล่อยให้การคอร์รัปชันกลายเป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับได้ในสังคม ก็จะแก้ปัญหาได้ยากและมีผลกระทบที่กว้างไกลมาก ซึ่งถ้าดูแนวโน้มที่ผ่านมา ก็ต้องบอกว่า ไม่ดีเลย ดัชนี Corruption Perception Index (CPI-ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น) ของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาลดลงต่อเนื่องทุกปี โดยปี 2561 เราอยู่อันดับที่ 96 ส่วนปีที่แล้วอยู่อันดับที่ 110 แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น” (ยังมีต่อ…..)

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts