วันพุธ, พฤษภาคม 15, 2024
หน้าแรกไม่มีหมวดหมู่.entry-title {display:none;} เครือข่ายชาวบ้าน 7จังหวัดที่ได้รับผลกระทบภัยช้างป่า ร้องขอผู้ตรวจการแผ่นดินร่วมกำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาช้างป่ารุกที่ทำดินอย่างจริงจัง

Related Posts

.entry-title {display:none;} เครือข่ายชาวบ้าน 7จังหวัดที่ได้รับผลกระทบภัยช้างป่า ร้องขอผู้ตรวจการแผ่นดินร่วมกำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาช้างป่ารุกที่ทำดินอย่างจริงจัง

เครือข่ายชาวบ้าน 7จังหวัดที่ได้รับผลกระทบภัยช้างป่า

ร้องขอผู้ตรวจการแผ่นดินร่วมกำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

“แก้ปัญหาช้างป่ารุกที่ทำดินอย่างจริงจัง”

เมื่อวันที่​ 11 ก.พ.65 เวลา​ 14.00น.ที่สำนักงาน​ผู้ตรวจการ​แผ่นดิน​ นายดิเรก​ จอมทอง​ ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากภัยช้างป่าภาคประชาชน​ พร้อมผู้ได้รับผลกระทบ​ จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ระยอง ชลบุรี และสระแก้ว จำนวน 15 คน เดินทางมาเข้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากปัญหาช้างป่ารุกที่ทำกินของประชาชน ผ่าน นายวทัญญู ทิพยมณฑา รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

โดย นายดิเรก​ กล่าวว่า​ ตามที่สภาผู้แทนราษฎร มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาช้างป่า สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 5ก.พ.2564 เพื่อพิจารณาศึกษาและหาแนวทางในการแก้ไขผลกระทบจากช้างป่ารุกล้ำเข้าไปในเขตที่อยู่อาศัยและเขตพื้นที่ทำการเกษตรของประชาชนในหลายจังหวัด จนทรัพย์สินเสียหายเกิดการสูญเสียแก่ชีวิตทั้งคนและข้างป่าตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เครือช่ายผู้ได้รับผลกระทบจากภัยช้างป่าภาคประชาชนในหลายจังหวัดเห็นร่วมกันว่า หากรัฐบาลแก้ไขปัญหาช้างบุกรุกที่ทำกินของประชาชน ตามแนวทางที่เสนอในรายงานของคณะกรรมาธิการ จะสามารถลดปัญหาผลกระทบต่อทั้งคนและช้างป่า อีกทั้งยังเยียวยาความเสียหายอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตามรายงานของคณะกรรมาธิการดังกล่าว ต้องผ่านขั้นตอนฝ่ายนิติบัญญัติเสียก่อน เครือข่ายผู้ใต้รับผลกระทบจากภัยช้างป่าจึงต้องการให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเข้ามามีส่วนร่วมติดตามและตรวจสอบความจริงจังในการดำเนินงานของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบแก้ปัญหาช้างป่า ตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานรัฐกับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบภัยจากช้าง ให้เกิดความเป็นธรรมเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน ลดการสูญเสียของทั้งคนและช้างป่าที่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้น

ด้านตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากจ.จันทบุรี​ กล่าวว่า​ จันทบุรีมีการปลูกผลไม้โดยเฉพาะทุเรียนที่มีมูลค่าสูง เมื่อช้างออกจากป่าอนุรักษ์​ รุกที่ทำกินของประชาชน​ ทำให้เกิดความเสียหาย​ แต่ความเสียหายเหล่านี้ไม่ได้รับการชดใช้อย่างเป็นธรรม​ กว่า​15 ปีที่เกิดปัญหามีที่ยังขยายวงกว้าง​ ภาครัฐก็ไม่ได้ช่วยเหลืออย่างประสิทธิภาพ​ ประชาชนจึงต้องป้องกันตัวเองโดยเฉพาะพืชผลการเกษตร​ ซึ่งไม่มีใครเจตนาทำร้ายช้าง​ จึงต้องจำเป็นที่จะปกป้อง​ตัวเอง การที่ช้างมาเยือนประชาชนเปรียบเสมือนตาย​ ทั้งตายจากชีวิต​ และตายทั้งเป็น​ เพราะพืชสวนกว่าจะออกผลผลิตต้องใช้เวลานาน

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts