วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกสืบเศรษฐกิจการเงินเร่งหาแพะ.. รื่นวดี ส่อไม่ได้ต่อ วาระ เลขา ก.ล.ต. ผลงานระดับบ๊วยคาตา อย่าอ้าง...เม็ดเยอะ

Related Posts

เร่งหาแพะ.. รื่นวดี ส่อไม่ได้ต่อ วาระ เลขา ก.ล.ต. ผลงานระดับบ๊วยคาตา อย่าอ้าง…เม็ดเยอะ

“….เลขาฯ รื่นวดี ต้องเผชิญปัญหาในตลาดทุน และตลาดคริปโตฯ  กรณี ZIPMEX ความสียหาย 2,000 ล้านบาทที่ zipmax ต้องชดใช้นักลงทุน แต่ไหนล่ะ ก.ล.ต. ไร้ปัญญาการทวงความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน และแม้กรณีศาลสิงคโปร์ “ตำหนิ” Zipmex ที่คืนเงินนักลงทุนอินโดนีเซียก่อนประเทศอื่น ดูเหมือน ก.ล.ต. ไร้บารมีก็ไม่มีความเด็ดขาดในเรื่องนี้ ปล่อยให้นักลงทุนเผชิญชะตากรรมกันเอง ความพัวพันกับการทำราคาหุ้น MORE   ผิดปกติส่อเค้าไปในทางทุจริต หรือปฏิบัติการณ์ “ปล้นโบรกเกอร์” จนสร้างความฮือฮา และก่อให้เกิดความเสียหายหลายพันล้าน จนถึงการปิดบริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์ นั้น ดูจะเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่คนต่างรู้กันว่าเรื่องนี้พัวพันไปถึงเส้นทางการเงินในอดีต และการโอนเงินในกลุ่มครอบครัวของผู้บริหารและครอบครัวของผู้ถือหุ้น หลายเรื่องที่ก.ล.ต.ก้าวตามหลัง มากกว่าจะเป็นที่พึ่งด่านแรกของนักลงทุน….”

น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคง เลขาธิการ ก.ล.ต.

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. (บอร์ด ก.ล.ต.) เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2565 ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการพิจารณาวาระการต่ออายุของ น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคง เลขาธิการ ก.ล.ต. คนในปัจจุบันที่จะหมดวาระลงในวันที่ 30 เม.ย. 2566 โดยรายงานข่าวระบุว่า ในที่ประชุมได้มีการถกเถียงกันอย่างกว้าง และมีแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและคัดค้านการต่ออายุต่ออายุเลขาฯ ก่อนจะมีมติไม่เป็นเอกฉันท์ด้วยคะแนนเสียง 6 ต่อ 4 ไม่ต่ออายุเลขาฯ ก.ล.ต.คนปัจจุบัน (คณะกรรมการเข้าร่วมประชุม 10 คน จากคณะกรรมการทั้งหมด 11 คน เพราะ น.ส.รื่นวดี ถือเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสีย ไม่ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้)

รายงานข่าวดังกล่าว ยังไม่ได้รับการยืนยันจากทางสำนักงาน ก.ล.ต. และผู้เกี่ยวข้องแต่อย่างใด รายงานข่าวยังระบุว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต.รายหนึ่งชี้แจงว่า การประชุมวันนั้น มีการถกเถียงกันอย่างหนัก ตัวเองเป็นผู้หนึ่งที่สนับสนุนและโหวตให้ น.ส.รื่นวดี เลขาธิการ ก.ล.ต.ทำงานต่อไปอีกวาระหนึ่ง แม้ว่าจะมีอายุการทำงานได้แค่ 1-2 ปี เนื่องจากมีการทำงานที่เข้มข้น ตรงไปตรงมา และสร้างบรรทัดฐานในตลาดทุนได้อย่างดี

โดยอ้างอ้างเหตุผลว่า เลขาฯ รื่นวดี ต้องเผชิญปัญหาในตลาดทุน และตลาดคริปโตฯ  อย่างเช่น   กลุ่มบิทคับที่มีปัญหาตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ การให้บริการลูกค้า การสร้างปริมาณเทียมปั่นราคาเหรียญ ที่ ก.ล.ต.ได้เข้าตรวจสอบและมีคำสั่งเปรียบเทียบปรับนับ 100 ล้านบาท รวมถึงประเด็นที่ยังค้างคาอยู่คือการตรวจสอบและสั่งให้แก้คุณสมบัติเหรียญ KUB จนขาดคุณสมบัติที่จะนำเข้ามาซื้อขายในกระดานสินทรัพย์ดิจิทัล

อย่างไรก็ดี นั่นเห็นผลกล่าวอ้างยกหาง กล่าวอ้างฝ่ายสนับสนุนเท่านั้นเพราะใน ข้อเท็จจริง ปัญหาในกลุ่มบริษัทบิตคับ มีเรื่องสะสางต่อ ก.ล.ต.ไทยเท่านั้น ส่วนพฤติการณ์ของเอกชนรายนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายต่อลูกค้า จนเกิดคดีฟ้องร้องตามมาแต่อย่างใด พฤติการณ์การเสริมสภาพคล่องก็ไม่ต่างจากสิ่งที่ตลาดในต่างประเทศทำเพื่อสร้างสภาพคล่องการเทรด และยังถือเป็นแผนการตลาดที่ใช้กันทั่วไป นอกจากการนั้น แม้จะทุ่มเงินเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอต่อการปั่นราคาสินค้าในตลาดคริปโตฯ ซึ่งทั่วโลกทุ่มเงินลงทุนอยู่ดี

แต่ปัญหาที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้คณะกรรม ก.ล.ต.  อย่างที่ถูกฝาถูกตัว แต่แล้ว ก.ล.ต. อมพะนำ นำไปสู่ปฏิบัติการปลดทิ้ง  เลขาฯ รื่นวดี คาดว่าจะมาจากกรณี ZIPMEX มากกว่า เพราะผู้เสียหายเป็นคนจริงๆ มีชีวิตจริงๆ ไม่ใช่เป็นการถกเถียงเชิงระบบ ด้านเทคนิคเหมือนกระดานเทรดเจ้าอื่นๆ  จนวันนี้ความสียหาย 2,000 ล้านบาทที่ zipmax ต้องชดใช้นักลงทุน แต่ไหนล่ะ ก.ล.ต. ไร้ปัญญาการทวงความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนนักลงทุนหรือไม่

คณะกรรมการ ก.ล.ต. ฝ่ายหนุน เลขาฯ รื่นวดี ยังอ้างผลงานว่า…แม้ว่าระหว่างทางจะมีปัญหาหลายอย่าง และจำเป็นต้องขับเคลื่อนในเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัล และการปรับเปลี่ยนองค์กรของ ก.ล.ต.ให้มีอำนาจในการสอบสวนคดีเช่นเดียวกับอัยการ และต้องเดินหน้าในส่วนของคดีที่เกี่ยวพันกับคริปโตเคอเรนซี่ใหญ่ 

นั่นเน้นย้ำให้หวนนึกถึงความเสื่อม… ในโปรแกรม ZipUp+  มาร์เก็ตติ้งแคมเปญ นำเหรียญมาฝากไว้ก็จะมีดอกผลให้โดยโฆษณาว่า สามารถให้ผลตอบแทนได้ถึง 6-12% ต่อปีอีกทั้งปล่อยให้โฆษณามากว่า 2 ปี เป็นหายนะครั้งใหญ่ในช่วงกลางปี 2565 โดย ก.ล.ต. ได้แต่อ้าง 

“ไม่มีการมาหารือกับ ก.ล.ต.ก่อนเลย สร้างเสียหายของนักลงทุนไทยร่วม 2,000 ล้านบาท ก.ล.ต.ก็บอกว่าไม่รู้ ไม่ทราบเรื่องมาก่อนและปรับเพียง 1,920,00 บาท และแม้กรณีศาลสิงคโปร์ “ตำหนิ” Zipmex ที่คืนเงินนักลงทุนอินโดนีเซียก่อนประเทศอื่น ดูเหมือน ก.ล.ต. ไร้บารมีก็ไม่มีความเด็ดขาดในเรื่องนี้ ปล่อยให้นักลงทุนเผชิญชะตากรรมกันเอง

อย่าพยายามเบี่ยงประเด็นเลยเพราะเรื่องนี้ ทำให้นักลงทุนเสียหายเป็นวงกว้างมากที่สุดในรอบปี และเม็ดเงินมากที่สุดในกลุ่มนักลงทุนรายย่อย

โดยมีการพยายามสร้างกระแส อ้างความขัดแย้ง ระหว่างคณะกรรมการ ก.ล.ต. บางคนกับ รื่นวดี เลขา ก.ล.ต. หรือไม่ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้ เลขาฯ รื่นวดี ส่อว่าโดนกลั่นแกล้งหรือไม่  ในกรณี ก.ล.ต.  กล่าวโทษบริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์ จำกัด (บล. เอเชีย เวลท์) ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กรณีแยกทรัพย์สินของลูกค้าไม่ครบถ้วน โดยมีการนำทรัพย์สินของลูกค้าไปใช้ประโยชน์เพื่อบริษัท ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด ในกรณีพัวพันกับการยกราคาหุ้น

สืบเนื่องจากความพัวพันกับการทำราคาหุ้น MORE   ผิดปกติส่อเค้าไปในทางทุจริต หรือปฏิบัติการณ์ “ปล้นโบรกเกอร์” จนสร้างความฮือฮา และก่อให้เกิดความเสียหายหลายพันล้านบาท ซึ่ง ก.ล.ต.ได้ประสานงานตำรวจดำเนินคดีอาญาผู้ร่วมกระทำผิด จนทำให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้สั่งอายัดทรัพย์ผู้เกี่ยวข้องงประมาณ 24 ราย บัญชีทรัพย์สินจำนวน 34 รายการ มูลค่ากว่า ประมาณ 5.3 พันล้านบาท

ขณะเดียวกัน ก.ล.ต. ได้เข้าตรวจสอบบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ที่เข้าข่ายกระทำผิดหลายราย พบว่า บล.เอเชีย เวลท์ มีระบบการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไม่รัดกุมเพียงพอ นำเงินไปให้บริษัทแม่กู้ยืม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้า ทำผิดพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จึงได้ส่งเรื่องให้กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ดำเนินคดีอาญา รวมถึงส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจของ บล.เอเชีย เวลท์

การปิดบริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์ นั้น ดูจะเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่คนต่างรู้กันว่าเรื่องนี้พัวพันไปถึงเส้นทางการเงินในอดีต และการโอนเงินในกลุ่มครอบครัวของผู้บริหารและครอบครัวของผู้ถือหุ้น เป็นที่รู้กันว่าบริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์ มีนายพิชิต อัคราทิตย์ เป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการ ก.ล.ต. นั่นเอง แม้นายพิชิตจะขายหุ้นก่อนเข้ารับตำแหน่งแล้ว แต่บุคคลในครอบครัวยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทอยู่

ส่วนนายอภิมุข  ผู้ที่ดันราคาหุ้น MORE จนโบรกเกอร์ระส่ำ… อยู่ไหน ไม่มีใครทราบ…. โดยข่าวล่าสุดจากนายอมฤทธิ์ กล่อมจิตเจริญ หรือ เฮียม้อ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ MORE เปิดเผยกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า กรณีมีกระแสข่าวว่า นายอภิมุข บำรุงวงศ์ หรือ “ปิงปอง” ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 4 ของ MORE หนึ่งในตัวละครสำคัญได้หลบหนีออกนอกประเทศไปแล้วนั้น ส่วนตัวไม่ทราบประเด็นดังกล่าว แต่เบื้องต้นตนเองก็ไม่สามารถติดต่อนายอภิมุขได้เป็นเวลา 2-3 วันแล้ว ทั้งช่องทางไลน์ (LINE) และยกหูโทรศัพท์หา

ส่วนโบรกเกอร์ ผู้เสียหายรวม 11 บริษัท ที่มีคำสั่งซื้อขายหุ้น บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ MORE เข้าแจ้งความร้องทุกข์กับ “พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ” ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ดำเนินคดีกับ “นายอภิมุข บำรุงวงศ์” ผู้ซื้อหุ้นในฐานฉ้อโกงประชาชน

และในแง่ของการเลือกปฏิบัติ จัดลำดับการแก้ปัญหาวงการคริปโต… ก.ล.ต. น่าจะบี้ Zipmex ให้ได้สักครึ่งหนึ่ง เฉกเช่นกระดานเทรดเอกชนเจ้าอื่น  จัดการให้ตรงจุดเหมือนหน่วยงานกำกับอินโดนีเซียที่มีคำสั่งให้ถอดเหรียญ ZMT ออกจากกระดานเทรด 

กลต. ดูจะเอาจริงเอาจังในการไล่บี้เหรียญของ Bitkub ถึงกับออกคำสั่งด่วน ระบุว่าเหรียญมีคุณสมบัติไม่ถึงเกณฑ์ที่จะได้รับอนุมัติเข้ามาซื้อขายตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule)  ตัดภาพกลับมาที่ Zipmex ซึ่งมี Zipmex Token (zmt) เป็นเหรียญของตัวเองเช่นเดียวกัน ที่หากใช้มาตรฐานการทำงาน ก.ล.ต.แบบเดียวกับ Bitkub ตัวเหรียญ ZMT เองก็ควรจะถูกตั้งคำถาม   ในเรื่องคุณสมบัติการพิจารณาคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ว่าปัจจุบันเหรียญ zmt ยังมีคุณสมบัติพอที่จะเทรดอยู่ในกระดานเทรดของ Zipmex อีกต่อไปหรือไม่   กลต. ก็ควรไปดูข้อมูล ซึ่งบอกอยู่ชัดเจนบนเว็ปไซด์ของ Zipmex เองว่า  การลงทุนที่ผิดพลาด (misuse of funds) เป็นสาเหตุหนึ่งที่เหรียญจะต้องถูกถอดออกจากกระดานเทรด (De-list)หรือไม่

การแก้ปัญหากระดานเทรดเถื่อน เลขา ก.ล.ต. ยืนงง… ตรงกันข้ามกับกระดานเทรดเอกชนไทยที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย โดนไล่หวดกวดขัน  แต่กระดานเทรดเถื่อนต่างชาติอย่าง FTX ที่ทำให้นักลงทุนไทยจำนวนมากได้รับเสียหาย ก.ล.ต. ก็น่าจะทราบดี  คำถามคือ ที่ผ่านมา ก.ล.ต. เคยมีมาตรการที่จริงจัง จัดการกระดานเทรดเถื่อนเหล่านี้บ้างหรือไม่ ทั้งที่ตัวเลขชี้ชัดว่า ประเทศไทยมีนักลงทุนเสียหาย อยู่อันดับที่ 13  เกือบ 130,000 คนต่อเดือน   “ซ้ำ” แผลเดิมของวงการคริปโทเคอร์เรนซีที่ยังไม่หายดีจากเคส Terra LUNA และ UST เมื่อช่วงกลางปีนี้ 

นอกจากนั้นการเตะตัดขาผลิตภัณฑ์ในวงการคริปโตฯ แบบรักตัวกลัวตาย ของ ก.ล.ต. 11 มิถุนายน 2564   ได้ทำหมันห้ามซื้อขายโทเค็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. Meme Token   2. Fan Token   3. NFT  4. Utility Token    

อาจจะเพราะความไม่รู้.. ไม่ก้าวหน้า.. พาลกลัวไว้ก่อน แต่เรื่องที่สมควรกลัวไม่ขยับ

ประเด็นปัญหาตลอดปี 2565  ประชาชน นักลงทุน ต่างสงสัยในฝีมือ ก.ล.ต.  ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาแต่ละกรณีให้กระจ่างชัด  จนสร้างความเสียหายแก่นักลงทุนจำนวนมาก  และอาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่กระทบต่อความเชื่อมั่นในตลาดทุนและตลาดคริปโตเคอร์เรนซี

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts