วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
หน้าแรกท้องถิ่นบ.ไอทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) ฟ้องแพ่งบสย.ผิดนัดชำระหนี้เรียกค่าเสียหายกว่า 15 ลบ. ศาลนัดชี้สองสถาน 15 พ.ค.

Related Posts

บ.ไอทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) ฟ้องแพ่งบสย.ผิดนัดชำระหนี้เรียกค่าเสียหายกว่า 15 ลบ. ศาลนัดชี้สองสถาน 15 พ.ค.

(31 มี.ค.66) ดร.เกษม ศุภสิทธิ์ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพัทยา ทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท ไอทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด(มหาชน) แถลงข่าวว่า “เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 บริษัท ไอทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน)

ได้ยื่นฟ้อง บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จำเลยที่ 1 และ นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร  จำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1181/2566 ที่ศาลแพ่ง เรียกค่าเสียหายจำนวน 15 ล้านบาทเศษ อันเนื่องมาจาก บริษัท ไอทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจการค้าร่วม DGI และตามข้อสัญญากิจการค้าร่วมบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการจัดซื้อและติดตั้งครุภัณฑ์ (Hard ware) ทั้งหมดของโครงการจ้างพัฒนาและติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้ำประกันสินเชื่อขนาดย่อม สัญญาเลขที่ 016/2561 (ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2561) ซึ่งบริษัทฯได้ส่งมอบงวดงานครบถ้วนแล้ว ตั้งแต่งวดงานที่ 3 ตามความรับผิดชอบของบริษัทฯ แต่จำเลยทั้งสอง ผิดนัดชำระหนี้ไม่จ่ายเงินค่าว่าจ้าง ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักกฏหมายเรื่องของกิจการค้าร่วม (Consortium) คือ การประกอบธุรกิจที่มีลักษณะของการร่วมกันขององค์กรธุรกิจตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป เพื่อดำเนินกิจการเข้าร่วมกันเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามแผนธุรกิจ โดยแต่ละฝ่ายจะใช้ความสามารถและความชำนาญในการทำงานในส่วนที่ตนรับผิดชอบให้สำเร็จตามโครงการ และมีการแบ่งแยกการทำงานไว้อย่างชัดเจน โดยต่างฝ่ายต่างออกใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินเฉพาะของบริษัทตน

สัญญากิจการค้าร่วม เป็นเพียงการลงนามร่วมกันในการทำสัญญากับเจ้าของโครงการเท่านั้น เพราะแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบเฉพาะในส่วนของตนไม่มีการร่วมทุนหรือแบ่งปันผลกำไรหรือขาดทุนระหว่างกัน ประโยชน์ของกิจการค้าร่วม คือ ผู้ประกอบการจะสามารถคำนวณหรือประเมินความสามารถของตนในการรับงานในแต่ละส่วนได้ และจะรับผิดชอบเฉพาะส่วนงานของตนเองเท่านั้น ตัวอย่างของกิจการค้าร่วม เช่น ร่วมกันทำสัญญากับหน่วยงานภาครัฐในการขายและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้ชื่อ “กิจการค้าร่วม AB” หรือ “คอนซอร์เตียม AB” ซึ่งบริษัท A รับผิดชอบในการขายอุปกรณ์ (Hardware) ส่วนบริษัท B รับผิดชอบในการติดตั้งระบบ เมื่อปรากฏว่าเกิดความเสียหายจากการพัฒนาระบบจนไม่สามารถใช้งานได้อันมิใช่เกิดจากอุปกรณ์ (Hardware) ดังนั้น บริษัท B จึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้ศาลแพ่งได้กำหนด นัดชี้สองสถานในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.และเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 กรมบัญชีกลาง มีหนังสือแจ้งบริษัทฯ ว่า ยังไม่ได้เป็นการทิ้งงาน ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีสิทธิที่จะรับประมูลงานในภาคของราชการต่อไป

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts