วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
หน้าแรกไม่มีหมวดหมู่ตำรวจไซเบอร์ เร่งตรวจสอบเพจ Facebook กปปค. แอบอ้างหน่วยงาน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง

Related Posts

ตำรวจไซเบอร์ เร่งตรวจสอบเพจ Facebook กปปค. แอบอ้างหน่วยงาน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอประชาสัมพันธ์ชี้แจงความคืบหน้ากรณีเพจ Facebook “ กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือ กปปค.” แอบอ้างใช้สัญลักษณ์ของ บช.สอท. ทำให้ประชาชนหลงเชื่อเข้าใจผิด สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง พร้อมแนะนำวิธีการตรวจสอบเพจปลอม ดังนี้

ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์กรณีเพจ Facebook “ กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ – กปปค. ” โพสต์ภาพพร้อมข้อความเกี่ยวกับการออกหมายจับไลฟ์โค้ชเข็มทิศชีวิตนั้น ได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) ว่าจากการตรวจสอบเพจ Facebook ดังกล่าว พบมีการคัดลอกภาพโปรไฟล์ และภาพหน้าปกของเพจ Facebook “ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. – CCIB มาแอบอ้างหลอกลวงให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิด หรือสร้างความน่าเชื่อถือในการกระทำผิดแสวงหาผลประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบ ซึ่งอาจทำให้มีประชาชนหลงเชื่อว่าข้อความ หรือภาพที่นำเสนอผ่านเพจดังกล่าวเป็นเรื่องจริง หรือทำให้ประชาชนเข้าไปติดต่อกับเพจดังกล่าวสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างได้ ในเบื้องต้นได้มีการประสานไปยังผู้ให้บริการดำเนินการปิดเพจดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ทางคดีอยู่ระหว่างสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายโดยเร็วต่อไป

การกระทำดังกล่าวเบื้องต้นอาจจะเข้าข่ายเป็นความผิดฐาน “ นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนฯ” ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ “ นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ” ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท ตาม พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มาตรา 14 (1), 16 และความผิดฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาก็มีเพจ Facebook หรือเว็บไซต์ในลักษณะดังกล่าวของหน่วยงานต่างๆ ที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกลวงประชาชน มีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ให้สิทธิพิเศษต่างๆ หรืออ้างว่าสามารถช่วยเหลือเร่งรัดติดตามคดีได้ มีการขอข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงหลักฐานทางคดีของเหยื่อนำไปแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลไปแฮ็กบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ หรือนำรหัสบัตรเครดิตไปรูดซื้อสินค้า หรือโอนเงินจากบัญชีธนาคาร หรือนำข้อมูลไปขายให้กับแก๊งมิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์ หรือนำไปแอบอ้างทำเรื่องที่ผิดกฎหมายต่างๆ

รัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้ หรือแอบอ้างหน่วยงานราชการต่างๆ มาหลอกลวงประชาชน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบในด้านงานป้องกันปราบปราม ได้กำชับสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง รวมถึงวางมาตรการป้องกันสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพ ที่ผ่านมา บช.สอท. โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ

โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอยืนยันว่าเพจดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องกับ บช.สอท. แต่อย่างใด หากประชาชนท่านใดได้รับความเสียหายจากแอบอ้างของเพจดังกล่าวให้เตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์กับสถานีตำรวจใกล้บ้านในทันที หรือแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ที่ https://thaipoliceonline.com ทั้งนี้ในปัจจุบันการเข้าถึงช่องทางหน่วยงานต่างๆ บนสื่อสังคมออนไลน์ อย่าประมาท ควรตรวจสอบให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เพราะช่องทางดังกล่าวมิจฉาชีพ หรือผู้ไม่หวังดี อาจจะสร้างปลอมขึ้นมา โดยต้องระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางคดี ซึ่งมิจฉาชีพอาจฉวยโอกาสหลอกนำข้อมูลไปเเสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างได้ รวมถึงไม่หลงเชื่อเพียงเพราะมีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงาน แอบอ้างสัญลักษณ์ของหน่วยงานนั้นๆ หรือมีการยิงโฆษณา หรือมีชื่อเพจ หรือเว็บไซต์ที่คิดว่าน่าจะเป็นของหน่วยงานนั้นจริง

จึงขอฝากประชาสัมพันธ์ถึงวิธีการหลีกเลี่ยงการเข้าสู่เว็บไซต์ปลอม และเพจ Facebook ปลอม ดังนี้
1.เพจ Facebook ที่ถูกต้องของตำรวจไซเบอร์ คือ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. – CCIB หรือ @CybercopTH และเว็บไซต์ตำรวจไซเบอร์ https://www.ccib.go.th เท่านั้น โดยหากท่านต้องการที่จะเข้าสู่เพจ หรือเว็บไซต์ ขอให้พิมพ์ชื่อด้วยตนเอง ป้องกันการเข้าสู่เพจ หรือเว็บไซต์ปลอม
2.เพจ Facebook จริงจะต้องมีเครื่องหมายยืนยันตัวตน (เครื่องหมายถูกสีฟ้า) หากไม่มีเครื่องหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นเพจปลอม
3.เพจ Facebook จริง จะมีส่วนร่วมในการโพสต์เนื้อหา รูปภาพ หรือกิจกรรมต่างๆ ต่อเนื่อง รวมถึงมีจำนวนผู้ติดตามที่ไม่น้อยจนเกินไป
4.เพจ Facebook ปลอม หรือเลียนแบบ มักจะเพิ่งสร้างขึ้นได้ไม่นาน
5.หมายเลขสายด่วนตำรวจไซเบอร์ คือ 1441 และหมายเลข 081-866-3000 และไม่มีช่องทางไลน์ในการติดต่อ มีเพียงแชตบอท @police1441 ที่เอาไว้ปรึกษาคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี คอยให้บริการตอบคำถามประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง
6.การพิมพ์ชื่อหน่วยงานเพื่อค้นหาเว็บไซต์ของหน่วยงานใดๆ ไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอไป ควรเพิ่มความระมัดระวังในการสังเกตชื่อเว็บไซต์ หรือสังเกต URL อย่างละเอียด และไม่หลงเชื่อเว็บไซต์ที่มีการยิงโฆษณาของมิจฉาชีพ
7.ไม่กรอก หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางคดี ผ่านสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น Line Facebook โดยเด็ดขาด
8.หากพบ หรือไม่แน่ใจว่าเป็นเพจ หรือเว็บไซต์ของหน่วยงานนั้นๆ จริงหรือไม่

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts