วันจันทร์, กันยายน 23, 2024
หน้าแรกไม่มีหมวดหมู่ตำรวจสอบสวนกลาง(CIB) ร่วม สบส. และ อย. บุกคลินิกคอนเทนต์เสื่อมสุดสยิว! โชว์เลเซอร์ขนน้องสาวลงยูทูป

Related Posts

ตำรวจสอบสวนกลาง(CIB) ร่วม สบส. และ อย. บุกคลินิกคอนเทนต์เสื่อมสุดสยิว! โชว์เลเซอร์ขนน้องสาวลงยูทูป

วันที่ 17 มิถุนายน 2566 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปคบ. โดยการสั่งการของ พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ, พ.ต.อ.ชัฏฐ นากแก้ว, พ.ต.อ.ปัญญา กล้าประเสริฐ รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.สุพจน์ พุ่มแหยม ผกก.4 บก.ปคบ., กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดย นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และ นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา, ภก. วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงผลการตรวจค้นคลินิกเสริมความงามที่มีการโฆษณาคลิปวิดิโอการให้บริการเลเซอร์อวัยวะเพศหญิงโดยไม่มีมีการเบลอวิดิโอลงช่องทางยูทูป

สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้รับการประสานงานจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) กรณี ปรากฏคลิปวิดิโอ คลินิกแห่งเวชกรรมหนึ่งรีวิวการใช้เครื่องเลเซอร์กำจัดขนบริเวณอวัยวะเพศหญิงโดยไม่ได้มีการปกปิด หรือเบลอคลิปวิดิโอก่อนเผยแพร่แต่อย่างใด ซึ่งคลิปวิดิโอดังกล่าวเมื่อดูแล้วส่อไปในทางลามกอนาจาร อันมีลักษณะเป็นการกระตุ้น และยั่วยุอารมณ์ทางเพศของผู้เข้าชมจนเป็นที่วิพากวิจารณ์ และแพร่หลายจนเป็นกระแสในโลกโซเชียล โดยมีการโพสต์วิดิโอลงช่องทางยูทูป

เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการตรวจสอบคลิปวิดีโอดังกล่าวพบว่า มีการใช้เซ็กครีเอเตอร์รายหนึ่ง ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 5 แสนราย มาทำการถ่ายทำรีวิวการทำเลเซอร์อวัยวะเพศ โดยใช้สถานที่ของคลินิกในการถ่ายทำเพื่อนำไปเผยแพร่ โดยอาศัยยอดผู้ติดตามเซ็ก ครีเอเตอร์คนดังกล่าวเพื่อผลประโยชน์ทางการตลาดของคลินิก
เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงทำการสืบสวนจนทราบว่าสถานที่ที่ใช้ถ่ายทำ เป็นคลินิกดังย่านแบริ่ง ชื่อเมอร์ซี่คลินิกเวชกรรม ซึ่งคลินิกดังกล่าวมีหลายสาขาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เช่น สาขาบางนา, สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, สาขารามอินทรา และสาขาอุดรธานี เป็นต้น

ต่อมาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ร่วมกับ สบส. และ อย. เข้าตรวจสอบ เมอร์ซี่ คลินิกเวชกรรม จำนวน 2 สาขา ดังนี้

  1. เมอร์ซี่คลินิกเวชกรรม สาขาบางนา หมู่ 9 ถ.แบริ่ง 107 ต.สำโรงเหนือ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ พบว่าคลินิกดังกล่าวเปิดให้บริการเสริมความงามแก่ประชาชนทั่วไป ตรวจยึดผลิตภัณฑ์ยา ต้องสงสัยว่าจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 รวมจำนวน 3 รายการ ได้แก่
  • ผลิตภัณฑ์ยา LIPORASE Inj. I.M.S.C (Hyaluronidase) จำนวน 2 กล่อง (กล่องละ 10 Vials)
  • NAD+IV Nicotinamide Adenine Dinucleotide จำนวน 3 Vials
  • A-Caine 10.56% Cream 500 กรัม จำนวน 2 กระปุก
  1. เมอร์ซี่คลินิกเวชกรรม สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เลขที่ 2 ชั้น 1 ซอย อรรณพนฤมิตร ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ พบว่าคลินิกดังกล่าวเปิดให้บริการเสริมความงามแก่ประชาชนทั่วไป ตรวจยึด รวมจำนวน 2 รายการ ได้แก่
  • ผลิตภัณฑ์ยา J-cain cream (LIDICAUNE ) 10.56% ขนาด 500 กรัม จำนวน 1 กระปุกต้องสงสัยว่าจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 รวม 1 รายการ
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง Mersi white cream ตลับที่เหลืองทองฝาสีทอง ไม่พบเลขที่จดแจ้งเครื่องสำอาง จำนวน 200 ตลับ พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 รวม จำนวน 1 รายการ
    รวมตรวจค้น 2 จุด ตรวจยึดของกลางตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จำนวน 4 รายการ และ พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 จำนวน 1 รายการ รวมทั้งหมด 5 รายการ โดยจากการตรวจสอบการขออนุญาตการโฆษณา เมอร์ซี่คลินิกเวชกรรม ปรากฏว่าคลินิกดังกล่าว มีการโฆษณาผ่านช่องทาง ทวิตเตอร์ และยูทูป โดยไม่ได้ขออนุญาตโฆษณาตามกฎหมาย โดยการกระทำดังกล่าวผู้ทำการโฆษณา และผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาลดังกล่าวจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ฐาน “ร่วมกันโฆษณาหรือประกาศด้วยประการใดๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการสถานพยาบาล โดยไม่ได้รับอนุญาต” และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฐาน “ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้” โดยพนักงานสอบสวนจะได้เรียกผู้ต้องหาทั้งหมดมาแจ้งข้อกล่าวหาต่อไป

เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม

  1. พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 38 ฐาน “ร่วมกันโฆษณาหรือประกาศด้วยประการใดๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการสถานพยาบาล โดยไม่ได้รับอนุญาต” ระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  2. พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 มาตรา 14(4) ฐาน “ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้” ระวางโทษ จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  3. ผู้ทำการหัตถการโดยไม่ใช่แพทย์ในคลิปวิดิโอมีความผิดตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ฐาน “ประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยไม่ได้รับอนุญาต” ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  4. พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 72 (4) ฐาน “ขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา” ระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  5. พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 มาตรา 14 ฐาน “ขายเครื่องสำอางที่มิได้จดแจ้ง” ระวางโทษ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ขอเน้นย้ำให้ผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาลเอกชนทุกแห่ง ยื่นเรื่องขออนุมัติโฆษณาสถานพยาบาลทุกครั้งตามที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งจะต้องเข้มงวด กวดขัน มิให้ผู้อื่นมาโฆษณาแทน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ถูกต้อง และเหมาะสม ด้วยสถานพยาบาลเป็นสถานที่ ซึ่งผู้ป่วยให้ความไว้วางใจในการดูแลสุขภาพ ร่างกายของตน หากมีการเผยแพร่ข้อมูลโฆษณาที่ไม่ถูกต้อง หรือใช้ภาพคนไข้ที่อยู่ในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม ส่อไปทางลามก อนาจาร ย่อมสร้างความเข้าใจผิด และส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคได้ ถึงแม้สถานพยาบาลจะปฎิเสธว่ามิได้มีส่วนรู้เห็น หรือมิได้เป็นผู้โฆษณาด้วยตนเองแต่ตามกฎหมายพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 กำหนดให้สถานพยาบาลเอกชน ห้ามปล่อยปละละเลยให้บุคคลอื่นโฆษณาสถานพยาบาลแทน ไม่ว่าสถานพยาบาลจะมีส่วนรู้เห็นเป็นใจหรือไม่ แต่หากมิได้มีการทักท้วง ห้ามปราม ก็จะถือว่าเข้าข่ายรู้เห็น ยินยอมให้มีการโฆษณาสถานพยาบาลแทน ซึ่งถือว่าเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมาย หากประชาชนท่านใดพบเห็นการโฆษณาสถานพยาบาลที่ดข้าข่ายเป็นเท็จ โอ้อวดเกินจริง หรือส่อไปในทางลามก อนาจาร สามารถแจ้งเบาะแสการกระทำผิดได้ที่สายด่วน กรม สบส. 1426

ภก.วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่าการเข้าตรวจค้นครั้งนี้ สถานที่เป็นคลินิกที่ได้รับอนุญาตแล้ว แต่ยาที่นำมาใช้กับคนไข้ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา เครื่องสำอางไม่มีเลขที่จดแจ้ง ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพการรักษาและความปลอดภัยของคนไข้ที่มารับบริการ คลินิกเวชกรรมควรเลือกใช้ยาที่ผ่านการขึ้นทะเบียนตำรับยา และเครื่องสำอางที่มีเลขที่จดแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น โดยคลินิคเวชกรรมและผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับอนุญาตจาก อย.
ได้ที่ www.fda.moph.go.th ทั้งนั้หากพบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. กล่าวฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่า ควรศึกษาข้อมูลคลินิกแพทย์ ยาที่ใช้ รวมถึงขั้นตอนการรักษาให้ดีก่อนที่จะเข้ารับบริการรักษา

เนื่องจากการรักษาหรือการทำหัตถการต้องกระทำโดยแพทย์ ซึ่งมีทั้งการกระทำต่อร่างกาย หรือมีขั้นตอนและวิธีการรักษาที่ต้องใช้ผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือบางกระบวนการรักษาอาจยังไม่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบหรือเกิดความเสียหายกับร่างกายโดยตรง หากไม่ใช้ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ อาจไม่ได้มาตรฐาน และอาจทำให้สูญเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์โดยไม่เกิดผลทางการรักษาแต่อย่างใด และขอแจ้งเตือนไปยังผู้ที่ลักลอบกระทำความผิดให้หยุดการกระทำ เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการกวดขัน และจับกุมอย่างต่อเนื่อง หากตรวจพบจะดำเนินคดีโดยเด็ดขาด โดยพี่น้องประชาชนสามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ สายด่วน บก.ปคบ.1135 หรือเพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภค


วันที่เผยแพร่ข่าว 17 มิถุนายน 2566 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
“การแถลงข่าวในครั้งนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน”

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts