วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 นายอุทัย ศรีพรหม ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี และศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 6.5 จังหวัดจันทบุรี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างข้ามร่วมลงพื้นที่ พร้อม กรมควบคุมโรคโดยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี นายมิตร ผ่องมณี ประธาน อสม.ต.ช้างข้าม ได้นำ อสม. จำนวน 10 คน เพราะทางอำเภอนายายอามนั้นมีการบ่งชี้ว่ามีผู้เป็นไข้เดี๋ยวออกหลายคนจึงได้มีการล ลงพื้นที่เพื่อป้องกันและช่วยเหลือกันได้ทันท่วงที
อนึ่งทางเทศบาลตำบลช้างข้าม ก็ได้นำคนมาช่วยเหลือช่วงก่อนหน้านี้ไปแล้วเช่นกัน ทางคณะทำงานได้ออกตรวจสอบตามบ้านเรือนราษฎรในเขตหมู่ที่ 5 ต. ช้างข้าม อ.นายายอาม จ.จันทบุรี ได้ออกเดินเท้า ตามบ้านเรือนของราษฎร จำนวน 40 ครัวเรือน โดยในการนี้ได้ช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่กล่าวมาโดยข้างต้นในการโรยทรายตามที่ท่วมขัง อทิเช่น โอ่งน้ำภายนอกบ้านกระถางกระถางต้นไม้ กระป๋องภาชนะที่หงายไว้โดยมีน้ำขังอาจมียุงลายวางไข่ได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้ ครัวเรือนต่างๆได้รับทราบโดยให้ อสม. ไปทำการแนะนำบอกกล่าวล่วงหน้า ก่อนที่หน่วยงานของสาธารณสุข จังหวัดจันทบุรี และ สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี และ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 6.5 จังหวัดจันทบุรี ร่วมลงพื้นที่ร่วมกันตรวจสอบอีกครั้ง ซึ่งในวันนี้ก็ได้ลงมาตรวจสอบ สำรวจพื้นที่ต่างๆ ในเขตตำบลช้างข้ามโดยเฉพาะหมู่ที่ 5 นำร่องในการสำรวจและประเมินผลดัชนี ป้องกันไข้เลือดออกในครั้งนี้จึงได้ทำการลงพื้นที่อย่างจริงจังเพื่อสำรวจข้อมูลและดำเนินการ ในครั้งนี้ได้ทำการโรยทราย ในน้ำท่วมขังและตามที่ต่างๆบริเวณรอบบ้าน และภายในห้องน้ำในบ้าน ที่คนอาศัยอยู่ ในวันนี้ก็สำรวจไปทั้งหมดจำนวน 40 คนเรือน เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและได้รับความชื่นชมจาก ชาวบ้านที่บอกกันเป็นเสียงเดียวกันว่าทางสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี ศูนย์ควบคุมโรค ติดต่อนำโดยแมลงที่ 6.5 จังหวัดจันทบุรี และที่สำคัญ ที่อยู่ใกล้ชิดกับชุมชนบ้านเรือนราษฎรในตำบลช้างข้าม รพ.สต.ช้ามข้าม และ อสม. บุคลากรและบุคคลเหล่านี้ คือเจ้าหน้าที่หน้าด่านที่คอยสแตนด์บายและลงพื้นที่ เมื่อมีการร้องขอและเกิดเหตุขึ้น..