จากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ของศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในรอบปี ที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึงวันที่ 12 กันยายน 2566 รวมแล้วกว่า 326,992 คดี มูลค่าความเสียหาย กว่า 45,245 ล้านบาท โดยนับเป็นคดีการแจ้งความร้องทุกข์ในคดีหลอกให้ลงทุนในลักษณะ Hybrid Scam (หลอกให้เชื่อใจ ไว้ใจ แล้วชักชวนลงทุน) ทั้งหมด 3,280 คดี รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 2,700 ล้านบาท
ตามนโยบายผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ได้ให้ความสําคัญในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ทางเทคโนโลยีซึ่งมีความสําคัญอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลในขณะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และการส่งเสริม ความรู้ด้านดิจิทัลในการรับมือกับภัยคุกคามของอาชญากรรมในโลกไซเบอร์ อีกทั้งยังมีความห่วยใยต่อพี่น้อง ประชาชนจากภัยหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหลอกลวงชักชวนให้ประชาชน ร่วมลงทุนในทรัพย์สินรูปแบบต่าง ๆ ที่อ้างว่าจะได้รับกําไรผลตอบแทนในอัตราสูง ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อ ประชาชนเป็นวงกว้าง
ต่อมา กองบัญชาการตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สืบสวนสอบสวนคดีที่ผู้เสียหาย ถูกหลอกลงทุนในลักษณะไฮบริดสแกม ซึ่งคนร้ายใช้วิธีการชักชวนผู้เสียหายให้ลงทุนสกุลเงินดิจิทัลผ่าน แพลตฟอร์มปลอม BCHGLOBALLTD.com จากนั้นให้ผู้เสียหายซื้อเงินสกุล USDT และโอนไปตามเลขกระเป๋าเงิน ดิจิทัลตามที่คนร้ายระบุ ก่อนที่จะถูกโอนเข้าบัญชีของแพลตฟอร์มสําหรับเทรดเงินดิจิทัล และยังพบว่าการกระทํา ความผิดดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับคดีอื่นอีกหลายพื้นที่ จึงได้มีการประสานความร่วมมือกับ U.S. Homeland Security Investigations (U.S.HSI) รวมถึงหน่วยงานต่างประเทศและภายในประเทศ กระทั่งได้ข้อมูลที่เชื่อมโยง ไปสู่คนร้ายตัวจริงที่ใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลดังกล่าว คือ นายซู (Mr.Shaoxian Su) ชาวสัญชาติจีนกับพวก และยังพบ เส้นทางการเงินเชื่อมโยงนอมินีนิติบุคคลสัญชาติไทยที่เชื่อว่าจดทะเบียนเพื่ออําพรางการทําธุรกรรม เข้าซื้ออสังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สินต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดซุกซ่อน หรือ ปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น ภายใต้ปฏิบัติการ “Trust No One” EP.1-5 มีการตรวจค้นกว่า 72 จุดทั่ว ประเทศ ผลการปฏิบัติสามารถจับกุมผู้ต้องหาสัญชาติจีน 3 ราย ตรวจยึดอายัดอสังหาริมทรัพย์คอนโดหมู่บ้านหรู รถยนต์ สินค้าแบรนด์เนม เงินสด และของกลางอื่นอีกหลายรายการ รวมมูลค่ารวมกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งในคดี นี้ได้ร่วมทําการสอบสวนกับพนักงานอัยการของสํานักงานอัยการสูงสุด และส่งสํานวนการสอบสวนพร้อมความเห็น ไปยังอัยการสูงสุด และอัยการสูงสุดได้มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมดในความผิดฐาน “ร่วมกันมีส่วนร่วมใน องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่น โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง
ร่วมกันนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน และสมคบกันโดยการตกลง กันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทําความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทําความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้ สมคบกัน และร่วมกันฟอกเงิน” เมื่อเดือนสิงหาคม 66 ที่ผ่านมา
ต่อมาสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีคําสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการ กระทําความผิดไว้ชั่วคราว โดยยึดทรัพย์สินไว้ 15 รายการ รวมราคาประเมินทั้งสิ้นประมาณ 600 ล้านบาท และได้ ลงประกาศสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่อง ให้ผู้เสียหายยื่นคําร้องขอคุ้มครองสิทธิจากการ กระทําความผิดมูลฐาน รายคดี นายเซาเซียน ซู (Mr.Shaoxian Su) กับพวก มายื่นเอกสารเพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์คืน โดยมีขั้นตอนและวิธีการยื่นคําร้องขอคุ้มครองสิทธิสําหรับผู้เสียหาย ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศ ตั้งแต่ วันที่ 15 กันยายน 2566 ถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการและ วันหยุดนักขัตฤกษ์) ทั้งนี้ยังคงมีเงินและทรัพย์สินที่ถูกยึดอายัดไว้อีกหลายรายการ รวมมูลค่าประมาณ 1,300 ล้าน บาทเศษ ซึ่งจะได้รวบรวมส่งสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินออกคําสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินที่ เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดดังกล่าวเพื่อนํามาเฉลี่ยทรัพย์คืนให้กับผู้เสียหายต่อไป
สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ให้ความสําคัญในแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและ จริงจังมาโดยตลอด โดยในห้วงที่ผ่านมามีการกระทําความผิดอยู่บ่อยครั้ง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของ ประชาชนเป็นจํานวนมากนับครั้งไม่ถ้วน จึงได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันของหน่วยต่าง ๆ เพื่อบูรณาการสืบสวน จับกุมผู้กระทําความผิด และติดตามตรวจยึดอายัดทรัพย์สินจํานวนหลายจุดทั่วประเทศ จนสามารถจับกุมตัวการ สําคัญในขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติในครั้งนี้ โดยปฏิบัติการครั้งนี้มีความเชื่อมั่นว่าจะทําให้ความเสียหายของ อาชญากรรมทางเทคโนโลยีและการกระทําผิดกฎหมายลดลง
การปฏิบัติการในครั้งนี้สําเร็จลุล่วงได้จากการร่วมแรงร่วมใจกันของเจ้าหน้าที่ตํารวจชุดปฏิบัติทุกนาย ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจสืบสวนสอบสวนกันอย่างต่อเนื่องจนสามารถจับกุมผู้ต้องหาและตรวจยึดอายัดทรัพย์สิน จํานวนมาก นอกจากนี้ขอขอบคุณไปยัง สํานักงานอัยการสูงสุด, สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงนิ , หน่วยสืบสวนเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ U.S. Homeland Security Investigations, บริษัท ไบแนนซ์โฮลดิ้ง จํากัด รวมถึง สํานักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ที่ได้ให้ความร่วมมือใน การสนับสนุนการฝึกอบรม ซอฟแวร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ในการใช้สืบสวนสอบสวน ในส่วนของการ ตรวจสอบเส้นทางการเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) จนสามารถติดตามขยายผลไปยังผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด