เมื่อเวลา 14:00 น. วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ผศ.ไวกูณฑ์ ทองอร่าม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ทางคณะทำงานได้ตรวจสอบหาข้อเท็จจริงแล้วทราบว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการสื่อความหมายผิดระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง จนทำให้ผู้ปกครองเกิดความไม่พอใจจึงได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว ชื่อว่า ฟินิกซ์ ปกรณัม ในทำนองตัดพ้อทางมหาวิทยาลัย โดยมีข้อความระบุว่า
“ ถ้าลูกเราเรียนมหาลัยปี 2 แล้วผลการเรียนอยู่ในระดับที่พอควรแล้วถูกอาจารย์เรียกพบบอกให้ลาออกหรือย้ายคณะเพราะสาเหตุคือตัวเหม็นกลิ่นตัวแรงผมยาว รองทรงต่ำเรียกผู้ปกครองไปพบเพื่อให้ลาออกแต่ยังไม่ได้ไปพบเราควรลาออกให้ลูกเลิกเรียนดีไหมคะตอนนี้ลูกจิตตกหมดความมั่นใจอารมณ์ดิ่งมากถึงขั้นร้องไห้ “
.. จากนั้นได้มีสื่อบางสำนักติดตามเสนอข่าวจนกระทั่งคุณแม่หรือเจ้าของเฟสบ๊ค เกิดความเครียด เนื่องจากได้รับการสื่อสารจากลูกผิดจนกระทั่งเกิดความโมโหจึงได้โพสต์ลงโซเชียลดังกล่าว โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางด้านผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้กล่าวว่า ทางคณะอาจารย์ผู้สอนคณะคหกรรมศาสตร์ ซึ่งสอนเด็กคนดังกล่าวอยู่ ในระดับปี2 ได้มีการอบรมเด็กชายคนดังกล่าวในเรื่องของการแต่งกาย และการปฏิบัติตัวในสังคมเนื่องจากจะเข้าสู่ช่วงของการออกฝึกงาน โดยจะต้องปฏิบัติตนให้ถูกสุขอนามัย เนื่องจากเป็นวิชาชีพการประกอบอาหาร แต่เด็กคนดังกล่าวไปสื่อสารกับผู้ปกครองว่าทางมหาลัยจะให้ตนเองลาออกหรือย้ายคณะ ซึ่งเป็นการสื่อสารผิด
..
ในเบื้องต้น ทางมหาวิทยาลัยได้ติดต่อผู้ปกครองของเด็กแล้วให้เข้ามาพบแต่ทางผู้ปกครองไม่สะดวกจึงได้คุยผ่านโทรศัพท์ เมื่อคุณแม่เกิดความเข้าใจแล้ว หลังจากนั้นจึงขอได้กล่าวขอโทษทางมหาวิทยาลัยและได้ลงโพสต์ขอโทษโดยมีข้อความว่า
” ขออนุญาตนำเสนอในเรื่องที่คุณแม่โพสต์เมื่อวานเรื่องคุณแม่ควรให้ลูกลาออกดีไหมเพราะเรื่องกลิ่นตัวของลูกคุณแม่ต้องขอโทษสถาบันที่โพสต์โดยไม่ได้ไตร่ตรองก่อนอาจทำให้มีความเข้าใจผิดกันไปในมุมกว้างว่าอาจารย์ให้ลาออกคุณแม่ได้โทรคุยกับท่านอธิการบดีแล้วและท่านได้ชี้แจงให้คุณแม่เข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องแล้วคุณแม่ขอใช้พื้นที่นี้ชี้แจงตรงนี้เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดต่อสถาบันให้ถูกต้องค่ะว่าคุณแม่เข้าใจสื่อสารผิดไปเองขออภัยในการที่เกิดความผิดพลาดในเรื่องของการสื่อสารค่ะ “
** ผศ.ไวกูณฑ์ ทองอร่าม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี**
“ ได้มีการพูดคุยกับผู้ปกครองทางโทรศัพท์แล้ว ก็อธิบายว่าเหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปตามที่เป็นข่าว ไม่ได้มีการให้เด็กลาออก เพียงแต่เป็นการแนะนำว่าหากไม่ปรับตนเอง จะไม่สามารถฝึกงานได้ และจะไม่จบการศึกษา หรือถ้าไม่ออกไปฝึกงานอาจเปลี่ยนคณะหรือเปลี่ยนสาขาจะไม่ดีกว่าหรือ ซึ่งการเปลี่ยนสาขาเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว เมื่อเรียนแล้วพบว่าไม่ตรงกับความถนัดของตนเอง โดยก่อนหน้านี้ตนเองได้มีการโทรศัพท์คุยกับผู้ปกครองแล้วยอมรับว่าตัวผู้ปกครองเองด่วนที่จะสรุปแล้วก็สื่อสารลงโซเชียลไป โดยสื่อสารกับลูกผิดว่าทางคณะอาจารย์ให้ลูกของตัวเองลาออก โดยทางมหาลัยยืนยันว่าทางเรา มีความเป็นครูสูง จึงได้มีความตั้งใจอบรมสั่งสอนเด็กมาถึง 2 ปี
ซึ่งเราค่อนข้างเสียดายในตัวของเด็กซึ่งมีผลการเรียนในระดับกลาง และอยากให้เด็กกลับเข้ามาเรียนต่อให้จบ
.. ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อผู้ปกครองของเด็กทางโทรศัพท์เนื่องจากไม่สะดวกที่จะเดินทางมาพบโดยผู้ปกครองให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ว่า ตนเองไม่คิดว่าจะเป็นข่าวใหญ่ขนาดนี้ ตนเองยอมรับว่า ได้รับการสื่อสารจากลูกมาผิดโดยที่ไม่ได้สอบถามทางมหาวิทยาลัยก่อน โดยโดยขณะนี้ได้สอบถามลูกให้ลูกปรับปรุงตัวแต่ตัลูกชายเองก็รักที่จะปฏิบัติตัวเช่นนั้น ตนเองจึงตัดสินใจให้ลูกลาออกเนื่องจากถ้าย้ายคณะก็จะต้องไปปรับปรุงตัวใหม่เข้ากับเพื่อนใหม่ซึ่งลูกก็จะได้รับความกดดันอีก จึงคิดว่าลาออกเป็นหนทางที่ดีที่สุดสำหรับลูก .. “ เป็นการสอบถามทางโทรศัพท์”