วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกการเมืองสังศิต เสียดายพรรคคนรุ่นใหม่ติดวงจรอุบาทว์ทางการเมือง

Related Posts

สังศิต เสียดายพรรคคนรุ่นใหม่ติดวงจรอุบาทว์ทางการเมือง

จากกรณีมีผู้ใช้เฟสบุ๊คนามว่า สุรเชษฐ ประวีณวงศ์วุฒิ – Surachet Pravinvongvuth ได้โพสต์พาดพิง (>>คลิกดู) นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา โดยโพสต์เปิดหัวว่า “สว.ที่ใส่ความผม อยู่เบื้องหลังการแจกงบฝายแกนดินซีเมนต์ใช่หรือไม่?” และ ปล.ช่วงท้ายว่า “หาก สว. สังศิต ไม่หยุด ผมก็พร้อมชน หากหยุด ผมก็พร้อมให้อภัย จบนะท่าน สว.”

รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา

นอกจากนี้ผู้ใช้นามดังกล่าวยังโพสต์เกี่ยวกับโครงการฝายแกนดินซีเมนต์ที่ตนไม่เห็นด้วยหลายประเด็นและเสนอตัดงบประมาณปี 2567 ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั่วประเทศขอสนับสนุนจากรัฐบาล ดังนี้

ผมเสนอตัดงบจริง เพราะผมไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ (โครงการฝายแกนดินซีเมนต์) มั่นใจในเหตุผลที่จะคัดค้านโครงการแจกงบใน

ผู้ใช้นามว่า นายสุรเชษฐ์ โพสต์ว่า ส่วนผมน่ะ ชัดเจนอยู่แล้วและภูมิใจด้วยว่าผมเป็นคนเสนอให้ตัดงบก้อนนี้ทิ้งไป เพราะ “ไม่คุ้มค่าและไม่โปร่งใส”

”สืบจากข่าว“ สัมภาษณ์ รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เพื่อไขข้อเท็จจริง

นายสังศิต กล่าวถึงความเป็นมาของฝายแกนดินซีเมนต์ว่า “คณะกรรมาธิการฯ ต้องการค้นหาและช่วยเหลือกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่ยากจน  ซึ่งได้ค้นพบว่ามีกลุ่มพี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งมีพื้นที่ทางการเกษตรถึงร้อยละ 78 อยู่นอกเขตชลประทาน สามารถทำการเกษตรได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น  จึงคิดว่าถ้าหาน้ำให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี 365 วัน จะทำให้เขามีรายได้เพิ่มขึ้น และถ้ามีการส่งเสริมความรู้ทั้งในด้านการเพาะปลูก การแปรรูปผลิตภัณฑ์และการตลาด จะทำให้เกษตรกรสามารถพ้นจากความยากจนได้”

คณะกรรมาธิการฯ แสวงหาความรู้ทุกส่วนของแผ่นดิน ค้นหานวัตกรรมที่จะสามารถทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรตลอดทั้งปี 365 วันได้ จนได้ค้นพบนวัตกรรม “ฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์” และได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับฝายดังกล่าวไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ตลอดช่วง 3-4 ปี จนเริ่มเห็นผลเป็นที่ประจักษ์ว่าทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรตลอดทั้งปี 365 วัน

ปัจจุบันได้มีการสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ทั้งประเทศ 638 แห่ง เฉพาะในภาคอีสาน 8 จังหวัด รวม 256 แห่ง ภาคเหนือ 10 จังหวัด จำนวน 381 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตัวเลข กันยายน 2566)

“สืบจากข่าว” ถามอีกว่าภาคอีสานกับภาคเหนือสร้างฝายแกนดินซีเมนต์เยอะ และของบประมาณปี 2567 มากทั้งสองภาค?

นายสังศิต ตอบ ”ภาคอีสานมีพื้นที่เกษตร 63.6 ล้านไร่ (43% ของทั้งประเทศ  149.2 ล้านไร่) พื้นที่แล้งซ้ำซาก 48,721,711 ไร่ เสี่ยงภัยแล้ง 17 จังหวัด 4,089,591 ไร่ อยู่นอกเขตชลประทาน 86.50 % ของพื้นที่เกษตรทั้งภาค 63.6 ล้านไร่ มีเกษตรกร 3,503,763 ครัวเรือน“

”ส่วนภาคเหนือตอนบนมีพื้นที่ชลประทานเพียง 2,662,373 ไร่

ร้อยละ 9.07 ของพื้นที่ชลประทานทั้งประเทศ (29.34 ล้านไร่) พื้นที่นอกเขตชลประทานมีโอกาสเกิดความแห้งแล้ง  17 จังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 1,300,896 ไร่ มีพื้นที่แล้งซ้ำซาก 26,965,594 ไร่“

คณะกรรมาธิการฯ เดินทางไปหลายจังหวัดทั้งภาคเหนือและภาคอีสานในรอบ 3-4 ปี ที่ผ่านมา มีโอกาสพบกับชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่น ประชุมร่วมกับทุกภาคส่วนนับหมื่นคน ต่างเห็นว่า “น้ำ” เป็นปัญหาสำคัญที่สุด และต้องการเร็วที่สุด เรียกร้องขอฝายแกนดินซีเมนต์ทุกพื้นที่

”สืบจากข่าว“ ถามว่า ผู้โพสต์ในเฟสบุ๊คดังกล่าวโพสต์ว่า ”ส่วนผมน่ะ ชัดเจนอยู่แล้วและภูมิใจด้วยว่าผมเป็นคนเสนอให้ตัดงบก้อนนี้ทิ้งไป เพราะ “ไม่คุ้มค่าและไม่โปร่งใส”

นายสังศิต ตอบด้วยใบหน้าเรียบๆ ยิ้มมุมปากเล็กน้อยว่า “ความจริงมีการวิจัยการประเมินผลด้านเศรษฐกิจและสังคมการพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำนอกเขตชลประทาน สนับสนุนการวิจัยโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 29 กุมภาพันธ์ 67 มี รศ.ดร.ทวนทัน กิจไพศาลสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าทีมวิจัย พบความจริง 2-3 ประเด็นที่น่าสนใจ คือ

1. ทางด้านสังคม พบว่า มีงานทำในพื้นที่ ไม่ต้องไปทำงานต่างพื้นที่ (ร้อยละ 73.4) รองลงมาได้แก่ มี การพูดคุย ช่วยเหลือกันของคนในชุมชนมากขึ้น (65.6)

2. พื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้นหลังจากมีฝายแกนดินซีเมนต์ ฝายขนาดใหญ่ พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 11.8 ไร่ต่อครัวเรือน ฝายขนาดกลาง พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.1 ไร่ต่อครัวเรือน ฝายขนาดเล็ก พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 14.4 ไร่ต่อครัวเรือน ฝายขนาดจิ๋ว พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.3 ไร่ต่อครัวเรือน

3. รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ประโยชน์จากฝาย ฝายขนาดใหญ่ รายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 1,159 บาท ฝายขนาดกลาง รายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 1,474 บาท ฝายขนาดเล็ก รายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 1,096 บาท ฝายขนาดจิ๋ว รายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 656 บาท

”สืบจากข่าว“ ถามต่อว่า เขาโพสต์ว่า สว. ที่ใส่ความผม อยู่เบื้องหลังการแจกงบฝายแกนดินซีเมนต์ใช่หรือไม่?

นายสังศิต (หัวเราะลั่น…) พร้อมกับกล่าวว่า ”ผมอยู่เบื้องหน้ามาตลอดผมและกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำวุฒิสภาเป็นผู้ผลักดันและเผยแพร่ความรู้ความคิดและวิธีการสร้างฝายแกนดินซีเมนต์มาตลอดเกือบ 5 ปีแล้ว เพื่อให้ชาวบ้านนอกเขตชลประทานมีน้ำใช้ในฤดูแล้งซึ่งมีน้ำใช้จริงเพียงพอใน1 ปี ท้องถิ่น องค์กรเอกชน ชาวบ้านเขาช่วยกันทำถึงปัจจุบันมีเกือบ 1 พันตัวแต่ไม่เคยได้งบจากรัฐบาลกลาง เพิ่งมีครั้งนี้ที่รัฐบาลจัดสรรงบให้

“พวกเขาไม่รู้จักฝายแกนดินซีเมนต์เลย ไม่เคยเห็นเลย ไม่รู้แม้กระทั่งความแข็งแรงของฝายแกนดินซีเมนต์ซึ่งมีผลการวิจัยมาเรียบร้อยแล้ว ฝายตัวแรกเคยสร้างมาตั้งแต่ปี 2558 ที่แม่น้ำชี อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ ยาว 60 เมตร ทุกวันนี้ยังแข็งแรงดี และฝายแกนดินซีเมนต์ที่สร้างในปีถัดมาอีก 150 ตัว ก็ยังแข็งแรงดีอยู่จนทุกวันนี้ ที่บอกว่าฝายแกนดินซีเมนต์พังเป็นความไม่รู้ที่น่าเศร้าใจมาก ฝายที่พังไม่มีฝายแกนดินซีเมนต์แม้แต่ตัวเดียว”

“สว.ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือบทบาทเกี่ยวกับตั้ง ตัด เปลี่ยนแปลงงบประมาณแผ่นดิน มีก็แต่ สส.เท่านั้น สว.แทรกแซงไม่ได้หรอกครับ…“ (หัวเราะ)

”สืบจากข่าว” คำถามสุดท้ายครับ เขาโพสต์ว่า ”หาก สว. สังศิตไม่หยุด ผมก็พร้อมชน หากหยุด ผมก็พร้อมให้อภัย จบนะท่าน สว.“ อาจารย์ว่าไงครับ

นายสังศิต หัวเราะในลำคอเบาๆ พร้อมกับพูดด้วยน้ำเสียงเมตตาต่อผู้กล่าววาจานั้นว่า “อภัยทาน…ผมเคยหวังว่าพรรคนี้จะคิดเรื่องดีดี สร้างวิสัยทัศน์ที่ดีให้กับประเทศไทย ช่วยแก้ปัญหาใหญ่ๆ ของประเทศไทย แต่ในที่สุดคนรุ่นใหม่ก็อยู่ในวงเวียนและวงจรอุบาทว์ทางการเมือง คือคิดแต่เรื่องไม่ดี คิดเป็นเรื่องการเมืองไปหมด น่าเสียดายเวลาของประเทศไทยจริงๆ”

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts