วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 21, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนศึกชิง “ลุ่มน้ำโขง” จีน..ซึมลึก! อเมริกา..ยาก!บอนไซ  

Related Posts

ศึกชิง “ลุ่มน้ำโขง” จีน..ซึมลึก! อเมริกา..ยาก!บอนไซ  

กว่า 30 ปีที่จีนและกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง 5 ประเทศคือ ลาว เมียนมา ไทย กัมพูชา และเวียดนาม เปิดความร่วมมือ ‘อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง’ ตั้งแต่ปี 1992 ใช้เวทีนี้ในการหารือความร่วมมือและส่งเสริมการพัฒนา ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ใช้ประโยชน์จากความเกื้อกูลทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ดำเนินความร่วมมือเชิงปฏิบัติในด้านต่างๆ อย่างลึกซึ้ง ในขณะที่โลกเข้าสู่ยุคแห่งความปั่นป่วน และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่

การเดินหน้าเปิดกว้างในระดับที่สูงขึ้นและขนาดที่ใหญ่ขึ้น เพื่อสร้างตลาดขนาดใหญ่พิเศษที่มีประสิทธิภาพและพลวัตยิ่งขึ้น พร้อมเสนอแนะว่า กลุ่มประเทศเหล่านี้ ควรสร้างหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางที่มีคุณภาพสูง ขยายความร่วมมือในด้านอุตสาหกรรมใหม่ อาทิ พลังงานสะอาด การผลิตอัจฉริยะ คลังข้อมูลขนาดใหญ่ และเมืองอัจฉริยะ การเชื่อมต่อในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย อาทิ ถนน ทางรถไฟ และท่าเรือ รวมถึงด้านนโยบาย กฎหมาย การกำกับดูแล กฎระเบียบ และมาตรฐาน เพื่อเร่งบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ล่าสุดจีนได้ออก “วีซ่าล้านช้าง-แม่น้ำโขง” ให้แก่กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง 5 ประเทศอีกด้วย

กลุ่มประเทศอนุภูมิภาคฯ ต่างปฏิบัติตามหลักพหุภาคีที่แท้จริง ส่งเสริมการพัฒนาที่สอดประสานกับความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง และกลไกระดับภูมิภาคอื่นๆ ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือกับสหประชาชาติ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย และสถาบันอื่นๆ เพื่อกำกับดูแลการค้าเสรี และการพัฒนากลุ่มประเทศอนุภูมิภาคฯ ที่ครอบคลุมและยั่งยืน

ขณะที่สหรัฐอเมริกา พยายามเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคแถบนี้ เปิดศึกชิงลุ่มน้ำโขงกับจีน ด้วยการนำข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative) ประกอบด้วย สหรัฐฯ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย ใช้มาตั้งแต่สมัยอดีตประธานาธิบดี บารัก โอบามา ก่อนจะมาต่อยอดใหม่ เป็นกรอบความร่วมมือหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐ (Mekong-US Partnership) ในยุคโดนัลด์ ทรัมป์ สมัยแรก

ภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ สหรัฐฯมอบความช่วยเหลือในด้านเงินทุน สาธารณสุข และ เศรษฐกิจ รวมถึงการพยายามใช้ความอ่อนไหวของแม่น้ำโขง มาบั่นทอนความเชื่อมั่นของ 5 ประเทศที่มีต่อจีน แต่ผลลัพธ์ในเชิงการเมืองที่สหรัฐฯวาดหวัง ยังคงไม่สัมฤทธิ์ผล เนื่องจากกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง ต่างสงวนท่าทีที่เป็นมิตรกับจีน

เมื่อ โจ ไบเดน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้จัดทัพสกัดกั้นอิทธิพลของจีนในลุ่มน้ำโขงอย่างต่อเนื่อง มีการให้ทุนผ่านโครงการต่างๆ มากมาย ขณะที่จีนก็เปิดเกมรุก ให้ทุนผ่านนักวิชาการและสถาบันการศึกษา ศึกกุมอำนาจในแม่น้ำโขง เข้มข้นขึ้นทุกวัน และน่าจะเข้มขึ้นอีก จากการเข้ามาดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 ของทรัมป์ 

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า การก้าวขึ้นมาเจิดจรัสของภูมิภาคอาเซียน ผู้ค้ารายใหญ่ที่สุดคือจีน  ในขณะที่ความสัมพันธ์แบบพหุภาคี ระหว่างจีนกับประเทศในอาเซียนและลุ่มน้ำโขง แน่นแฟ้นกว่าอเมริกา  ความสัมพันธ์แบบทวิภาคี ระหว่างจีนกับแต่ละประเทศของภูมิภาคนี้ ซึมลึกจนยากที่สหรัฐฯจะเข้ามาแทรกแซง แผ่ขยายอิทธิพลได้เหมือนในภูมิภาคอื่น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts