“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เลื้อยเลาเกาะโลกขั้วต่างๆ เชื่อมสู่ความเป็นหนึ่ง สอดประสานแนวคิด วิถีชีวิต วัฒนธรรม สู่เป้าหมายคว้าชัยชนะร่วมกัน กำลังผลิดดอกออกผล ทำลายกฎเกณฑ์เก่าๆอย่างสิ้นเชิง
“จีน-แอฟริกา” ความศิวิไลซ์โลกใต้
การประชุมสุดยอดความร่วมมือจีน-แอฟริกา (FOCAC) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในกรุงปักกิ่ง เป็นการหารือระดับทวิภาคี ระหว่างผู้นำจีนกับผู้นำแอฟริกา ท่ามกลางสถานการณ์โลก ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง และความผันผวน จีนและแอฟริกา เดินหน้าเสริมสร้างความสามัคคี และความร่วมมือให้มากขึ้น เพื่อสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน ในระดับสูง และปกป้องผลประโยชน์ร่วมกันของโลกใต้
สี จิ้นผิง ชี้ว่า การพัฒนาและการเติบโตอย่างต่อเนื่องของจีนกับแอฟริกา จะช่วยเสริมสร้างพลังเพื่อสันติภาพโลก และความยุติธรรมระหว่างประเทศ ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ตลอดจนสร้างแรงผลักดัน ให้กับกระบวนการพัฒนาโลกให้ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาและฟื้นฟูโลกใต้
“CELAC” สานสัมพันธ์จีน-ละตินอเมริกา
ประชาคมละตินอเมริกาและแคริบเบียน หรือ CELAC ประกอบด้วยสมาชิก 32 ประเทศ เป็นตัวอย่างของการบูรณาการที่ลึกซึ้งของจีน และกลุ่มประเทศละตินอเมริกา
“จากต้นกล้าจนกลายเป็นต้นไม้ใหญ่” จีนและกลุ่มประเทศ CELAC ได้สร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน โดยเน้นด้านความเท่าเทียม และผลประโยชน์ร่วมกัน ยึดมั่นในหลักความเปิดกว้าง และการไม่แบ่งแยก ตลอดจนมุ่งหวังที่จะทำให้เกิดผลประโยชน์ ที่เป็นรูปธรรมแก่ประชาชน
ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา จีนได้เป็นพันธมิตรการค้ารายใหญ่อันดับที่สอง ของกลุ่มประเทศ CELAC และปัจจุบันยังเป็นพันธมิตรรายใหญ่ที่สุดสำหรับชิลี บราซิล และเปรู ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนอย่างดีเยี่ยมจากผู้คนในท้องถิ่น จากการสำรวจความคิดเห็นของชาวละตินอเมริกา พบว่า ผู้คนร้อยละ 80.4 มองว่า BRI เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ด้านเศรษฐกิจและสังคม ในภูมิภาคนี้
“จีน-อาเซียน” ภูมิภาคทำเลทอง
ความร่วมมือจีน-อาเซียน ได้กลายเป็นต้นแบบความร่วมมือระดับภูมิภาค ที่ประสบความสำเร็จ และมีพลวัตมากที่สุดในเอเชีย-แปซิฟิก ปูทางสู่ความก้าวหน้าครั้งใหม่ ในการสร้างประชาคมจีน-อาเซียน ที่มีอนาคตร่วมกัน อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
จีนซึ่งมีประชากรกว่า 1,400 ล้านคน และมีคนที่มีรายได้ปานกลางกว่า 400 ล้านคน เป็นตลาดสินค้าและบริการขนาดใหญ่ สำหรับอาเซียน เอื้อให้ผลิตภัณฑ์อาเซียนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ สามารถเข้าสู่ห่วงโซ่การบริโภคของจีน อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตลาดร่วมกัน ทำให้ภูมิภาคนี้ กลายเป็น “ทำเลทอง” แห่งใหม่ของโลก







