วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกการเมืองยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร

Related Posts

ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร

ด่วน ! 1 ตุลาคม 65 เป็นต้นไป ยุบ ศบค. โควิดติดต่อไม่อันตราย ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร

วันที่ 19 สิงหาคม 2565 คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมครั้งที่ 11/2565 โดยศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุข เสนอกรอบนโยบาย และแนวปฏิบัติ ในการดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะ Post-pandemic

ภายใต้หลักการว่า เพื่อให้ประชาชนอยู่ร่วมกับโควิดอย่างปลอดภัย สามารถดำเนินชีวิตได้ปกติ จะมีการยกเลิกพระราชกำหนดฉุกเฉินที่มีการประกาศบังคับใช้ควบคุมโรคติดต่อมาแล้ว 19 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2562 และยุบ-เปลี่ยนแปลงอำนาจของคณะกรรมการ ศบค.

พร้อมกันนี้ ได้กำหนดแนวปฏิบัติด้านต่าง ๆ ตามห้วงเวลาของทุกหน่วยงานต่าง ๆ  ดังนี้

เดือนสิงหาคม

  • คงสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ศบค. เป็นกลไกการจัดการ

เดือนกันยายน

  • คงสถานการณ์ฉุกเฉิน ปรับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
  • ศบค. + คกก.โรคติดต่อระดับชาติ เป็นกลไกการจัดการ

เดือนตุลาคม

  • ประกาศโรคระบาดเฉพาะพื้นที่ (เมื่อมีเหตุจำเป็น)
  • EOC สธ. + คกก.โรคติดต่อระดับชาติ/จังหวัด/กทม. เป็นกลไกการบริหารจัดการ
  • ยังไม่มีการกำหนดเรื่องพื้นที่สถานการณ์ฉุกเฉิน และการขยายการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

  • ประกาศโรคระบาดเฉพาะพื้นที่ (เมื่อมีเหตุจำเป็น)
  • คกก.โรคติดต่อจังหวัด/กทม. เป็นกลไกการจัดการ
กรอบแนวปฏิบัติต่างๆ ตามห้วงเวลา
กรอบแนวปฏิบัติต่างๆ ตามห้วงเวลา

ด้าน ศ.นพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) กล่าวก่อนการประชุม ศบค.ว่า พระราชกำหนด (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ยกเลิกแน่นอนในเดือนตุลาคม ผมคิดว่าสถานการณ์ขณะนี้เริ่มโอเคแล้ว คนไข้ในระบบวันละ 2,000 คน คนไข้ ATK วันละ 30,000 คน คาดการณ์ว่าคนไข้นอกระบบประมาณ 1-2 เท่า

“ถ้าดูภาพรวมคนไข้ติดเชื้อประมาณ 6-7 หมื่นคน และอาจจะอยู่อย่างนี้สักเดือนหนึ่ง เพราะฉะนั้น 1 ต.ค.น่าจะเริ่มลง จึงคาดการณ์ว่า คนไข้จะต่ำ วันละพัน และตายวันละ 10 คน ก็จะเป็นโรคเฝ้าระวังในวันที่ 1 ต.ค.นี้ แต่ยังไม่เป็นโรคประจำถิ่น” ศ.นพ.อุดมกล่าว

ทางด้านนายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ( ศบค. ) แถลงภายหลังการประชุมศบค.ชุดใหญ่ว่า ไทม์ไลน์กรอบแนวปฏิบัติด้านต่างๆ ตามห้วงเวลามีดังนี้ ช่วงเดือนสิงหาคม- กันยายน ยังคงใช้ระบบที่ทำอยู่ ส่วนเดือนตุลาคม คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จะมีการประกาศออกมา หากมีการระบาดเฉพาะพื้นที่ หรือเมื่อมีเหตุจำเป็น

“โดยบทบาทของ ศบค.ก็จะโทนดาวน์ลง และทางศูนย์อีโอซี หรือศูนย์ปฎิบัติฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ /คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร จะเป็นคนที่นำไปสู่การทำงานลักษณะที่ทำกันอยู่เป็นประจำ นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้น” นายแพทย์ทวีศิลป์กล่าว

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts