วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกสืบเศรษฐกิจการเงินเลือกกฎคุมเข้ม เซฟตัวเองให้ปลอดภัย ล้าหลัง ช่างหัวมัน ไม่โดนก่นด่าเป็นพอ

Related Posts

เลือกกฎคุมเข้ม เซฟตัวเองให้ปลอดภัย ล้าหลัง ช่างหัวมัน ไม่โดนก่นด่าเป็นพอ

คิดเองเป็นไหม… ถ้าจะมีหน่วยงานกำกับในประเทศ น่าจะเลือกคิดแก้กฎระเบียบ เพื่อใช้กฎหมายอย่างเปิดกว้าง ไม่ขัดขวางระบบนิเวศเทคโนโลยี  เมื่อได้ชื่อว่าเป็นหน่วยงานกำกับ เหตุใด เดินตามตูดสิงคโปร์ ไม่หันไปมองฮ่องกง  อย่าอวดอ้างว่าเก่งบนเวทีโลก หากวันนี้ ก.ล.ต. ยังจัดระเบีบบแพลตฟอร์มเทรดต่างชาติที่รุกนักลงทุนไทยไม่ได้เต็ม 100 % หรือกลัวกระดานเทรดไทยจะดึงเม็ดเงินต่างชาติเข้าประเทศได้ แล้วผลงานนี้จะทำ ก.ล.ต. ตกกระป๋อง ทาง 2 แพร่ง นักลงทุนอยากถาม ยุบหน่วยงานหรือ เปลี่ยนตัว เลขา ก.ล.ต.  อะไรง่ายกว่ากัน

ช่วงนี้  “รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต.” ออกหน้าออกตาถี่เป็นพิเศษ ในงานแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกับหน่วยงานต่างชาติ  วันก่อนก็เริ่มต้นกับ MoU ภายใต้กรอบความร่วมมือด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงิน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเทคโนโลยีสำหรับการส่งเสริมนวัตกรรมด้านการให้บริการทางการเงิน ซึ่งครอบคลุมถึงเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการกำกับดูแล (RegTech) ไปเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ที่ผ่านมา

ต่อมาตระเวรตามรอบปี เข้าร่วมนิทรรศการด้านเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ระดับโลก ที่จัดโดย Monetary Authority of Singapore (MAS) หน่วยงานกำกับดูแลทางด้านการเงินของประเทศสิงคโปร์ โดย ก.ล.ต. เข้าร่วมเป็นปีที่ 3

ล่าสุดเป็นเจ้าภาพเองในเวทีสัมมนาออนไลน์ SEC Thailand International Digital Asset Webinar 2022 ซึ่ง ก.ล.ต. จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Digital Asset: Lesson Learned and Moving Forward” เพื่อเป็นเวทีในการรับฟัง แลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล

เห็นขยัน เอาการเอางานอย่างนี้ ชักจะอยากฟังเนื้อหามุมมองการพัฒนาวงการตลาดทุน ตลาดคริปโตฯ ไทย แต่พอเห็นเนื้อหารายงานข่าวแล้วรู้สึกผิดหวังเล็กน้อย เพราะมีเพียงเนื้อหาภาพกว้าง ถนัดควบคุม สร้างสมดุลจนมีคำถามว่า คนที่จะขึ้นแท่นเป็นตำแหน่ง เวลา ก.ล.ต. ในยุคต่อไปควรจะต้องเข้าใจเทคโนโลยีด้วยหรือไม่ เพราะอำนาจที่ถืออยู่ในมือภายใต้กฎหมายตลาดทุน และกฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล ในยุคอนาคต  เป็นเครื่องหมายคำถามต่อนักลงทุนทั่วไปว่า.. เราควรจะได้ผู้นั่งแท่นคุมกฎที่เข้าใจคำว่าเทคโนโลยีอย่างถ่องแท้มากกว่าในยุคปัจจุบันหรือไม่…?

ในเวทีสัมมนาออนไลน์ SEC Thailand International Digital Asset Webinar 2022 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 เน้นหนักในการแลกเปลี่ยนประเด็นเชิงนโยบายต่อแนวโน้มการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลในระดับสากล จากผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินจากสิงคโปร์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล  

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า “ในช่วงที่ผ่านมาสินทรัพย์ดิจิทัลได้รับความสนใจจากผู้คนในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นภาคการเงิน การลงทุน การธนาคาร การค้าเชิงพาณิชย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนภูมิทัศน์ (landscape) ของระบบการเงิน วิถีการประกอบธุรกิจ การทำธุรกรรม และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน”

ทั้งนี้ เทคโนโลยีเบื้องหลังสินทรัพย์ดิจิทัลยังเป็นเรื่องใหม่และอยู่ในระยะเริ่มต้น ผู้เกี่ยวข้องจึงต้องสั่งสมประสบการณ์และติดตามศึกษาอย่างใกล้ชิดว่า เทคโนโลยีสามารถสร้างคุณค่าให้กับผู้ใช้งานและเศรษฐกิจโดยรวมอย่างไร ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลก็ต้องติดตามเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการทำธุรกรรม ดังนั้น ความท้าทายของหน่วยงานกำกับดูแลจึงเป็นเรื่องของการสร้างสมดุลระหว่างการสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมกับการมีกลไกคุ้มครองผู้ลงทุนที่เหมาะสม ขณะที่ยังสามารถรักษาเสถียรภาพ ความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นให้กับระบบการเงินโดยรวม

สำหรับบทเรียนจากเหตุการณ์ของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในช่วงที่ผ่านมา ก.ล.ต. เห็นว่า มีส่วนช่วยในการทำความเข้าใจและการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การออกนโยบายการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีกลไกคุ้มครองผู้ลงทุนที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงเชิงระบบ และป้องกันความเสี่ยงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดซ้ำได้อีกในอนาคต

สำหรับคำพูดในเนื้อหาข่าวของ เลขาฯ ก.ล.ต. ชักจะคลับคล้ายคลับคลาไม่ต่างอะไรจากกฎของหน่วยงานในสิงคโปร์มากนัก อย่าให้นักลงทุนสับสน ตั้งคำถามว่า ลอกกฎ MAS (The Monetary Authority of Singapore)  กันมาหรือเปล่า

เพราะในปี 2563 สิงคโปร์ได้ตรากฎหมาย Payment Services Act (PSA) หรือกฎหมายบริการชำระเงิน ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับระบบชำระเงินหลากหลายรูปแบบ โดยรวมถึงการกำหนดให้การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Virtual Asset Service Providers) เป็นการให้บริการทางการเงินประเภทหนึ่งตามกฎหมายที่ต้องได้รับอนุญาตจาก MAS (The Monetary Authority of Singapore) และที่ผ่านมา MAS ก็ได้ให้ใบอนุญาตในหลายรูปแบบแก่ตลาด คริปโตฯ ในประเทศเพื่อหวังจะดึงดูดเม็ดเงินจากต่างประเทศ

ช่วงต้นปี 2565 พบว่า MAS ได้มีแผนขยายขอบเขตการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเพิ่มประเด็นการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคจากการลงทุนในคริปโตฯ เช่น จำกัดการโฆษณาในบางลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคริปโตฯโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขึ้นโฆษณาผ่านตู้ ATM ที่มีการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล

ซึ่ง ก.ล.ต. ก็ได้ ควบคุมการโฆษณาเมื่อ 1 กันยายน 2565 ไปตามหลัง  MAS  ทั้งการโฆษณาในเชิงแจ้งความเสี่ยงชัดเจน และ  มีการต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและค่าใช้จ่ายในการโฆษณา รวมถึงรายละเอียดการจ้างบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจต่อผู้ใช้บริการ  (ขยายความว่าหากจ้าง Blogger หรือ Influencer) ต่อ ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และเงื่อนเวลา ที่กำหนด ซึ่งไม่ต่างจาก MAS ที่ไม่อนุญาตใช้อินฟลูเอนเซอร์

นี่เราเดินตามหลังชาวบ้าน จนสังคมถามกันอย่างกว้างขวางว่า ภาวะการนำของ ก.ล.ต. อยู่ตรงไหน จะตามใครไปทุกเรื่องเลยหรือไม่ และเลือกวิธีการเดินตามแบบเซฟตัวเองไว้ก่อนทุกเรื่องโดยไม่คำนึงถึง การพัฒนาระบบนิเวศในวงการเทคโนโลยีหรือไม่ โดยเอาที่ตนเองปลอดภัยไว้ก่อน ประเทศล้าหลัง ช่างหัวมัน…!?!

แต่แล้วผลงานความเข้มงวดที่ผ่านมาก็ใช่ว่า จะทำให้นักลงทุนปลอดภัยภายใต้กฎหมายที่ ก.ล.ต. มีอำนาจ ทั้งกรณี หุ้น MORE ถล่มโบรกเกอร์ เบี้ยวชำระค่าดันราคาหุ้น กรณีนักลงทุนเจ๊งในโปรแกรมล็อคเหรียญฝากเงินของ ZIPMEX  2,000 ล้านบาท   และยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่ามีผู้ลงทุนเสริมสภาพคล่องตามข่าวลือแล้วหรือไม่

อีกประการหนึ่งการควบคุมวงการคริปโตฯ อย่างตันๆ ที่ผ่านมา ก็ไม่สามารถระงับยับยั้งกระดานเทรดต่างชาติที่มีออฟชั่นให้เลือกใช้เครื่องมือทางการเงินที่เสี่ยงเจ๊ง มากกว่ากระดานเทรดไทยได้เลย นอกจากปล่อยให้ต่างชาติตีตลาดคนไทย ดูดเงินนักลงทุนไทยแล้ว ยังไม่สามารถควบคุมได้เต็มที่ นี่เรียกได้ว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์ดำหรือไม่…?

แปลกใจทำไมการเลือกออกกฎระเบียบ แก้กฎหมาย   ส่อแวว เดินตามรอยสิงคโปร์ ….ซึ่งประเทศเขามีรายการจากโลจิสติกส์เป็นหลัก จุดแข็ง จุดอ่อนในวงการตลาดทุน-ตลาดคริปโตฯ สู้ประเทศไทยไม่ได้ ก.ล.ต.หากฝันใหญ่ว่า ประเทศไทยสามารถเป็นฐานดึงดูดเม็ดเงินต่างชาติ  หากต้องการเป็นผู้นำที่ดีอาจจะต้องเปรียบเทียบ สอบถาม ทำเวที สร้างการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนมากกว่าการ  คิดเอง เออเอง เซฟตัวเองเป็นพอ  ไม่พัฒนาช่างหัวมัน ….  ดังนั้นทางออกที่มากด้วยวิสัยทัศน์ทำให้นักลงทุนจำนวนมาก ชายตามองไปที่ ฮ่องกง เป็นแบบอย่าง

 “ฮ่องกง” ประกาศปรับแผนการแข่งขันตลาดคริปโตฯ โดยมีการวางแผนปรับปรุงข้อกฏหมายหลายอย่าง เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนรายย่อย สามารถเทรดคริปโตฯ ได้แบบถูกต้องตามกฎหมาย ตามกลยุทธ์เมืองท่าเขตปกครองเศรษฐกิจพิเศษ   หลังจากที่จีนแผ่นดินใหญ่ออกมาตรการคุมเข้ม จำกัดการใช้และการเข้าถึงคริปโตฯ และการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล

ฮ่องกง ได้มีการพิจารณาถึงโครงการออกใบอนุญาตสำหรับแพลตฟอร์มคริปโตฯ ที่จะมีการกำหนดบังคับใช้ในเดือนมีนาคมปี 2566 นี้ ซึ่งจุดประสงค์ของกฎหมายที่ปรับปรุงนี้ จะอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนรายย่อย สามารถเทรดคริปโตฯ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายบนพื้นที่เมืองท่าเขตปกครองเศรษฐกิจพิเศษ  เพื่อหวังว่า จะเป็นศูนย์กลางการลงทุนคริปโตแห่งใหม่ของเอเชีย เพื่อสร้างการแข่งขัน และดึงส่วนแบ่งการตลาดกระดานเทรดคริปโตฯ นอกเหนือจากกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางที่พยายามสร้างศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งใหม่ และเพื่อให้นักลงทุนในประเทศจีนและนักลงทุนจากต่างประเทศ สามารถเข้ามาลงทุนได้ง่าย และเพื่อให้เม็ดเงินในอุตสาหกรรมคริปโตฯ ไหลออกไปยังเขตพื้นที่อื่นน้อยที่สุด โดยขณะนี้กฎหมายฉบับดังกล่าวอยู่ในช่วงของการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถสรุปรายละเอียดเสร็จได้ทันตามกระบวนการ

ดูเหมือนว่ากฎระเบียบในประเทศไทยที่ยุบยับ  ไม่เอื้อเท่าที่ควร   ต่อการพัฒนาเทคโนโลยี  จะด้วยความไม่เข้าใจของผู้คุมกฎไทย หรือการปิดหู ปิดตา เอาปลอดภัยตัวเองไว้ก่อนหรือไม่ อาจทำให้บ้านเราต้องสูญเสียโอกาสเป็นศูนย์กลางการเทรดคริปโตฯ ที่น่าเชื่อถือไป  ส่อเค้าแล้วว่าเอกชนไทยบางรายเริ่มให้ความสนใจลงทุนในฮ่องกง เพราะมองว่าเป็นพื้นที่เหมาะแก่การลงทุน เปิดกล้างในสุจริตชน-นักลงทุน สามารถเป็นจุดแข็งของในภูมิภาคอาเซียนตะวันออกเฉียงใต้ 

ทั้งที่ในด้านการลงทุน แม้ประเทศไทยมีความก้าวหน้ามากกว่าฮ่องกง  “กฎระเบียบไม่ควรก้าวล้ำกว่าเทคโนโลยี” 

ส่วนอนาคตในวงการคริปโตเคอร์เรนซี่ เวลานี้แม้จะมีเหรียญของกระดานเทรดต่างชาติล่มสลายไปบ้าง แต่นี่คือโอกาสสำคัญในการชะล้างสิ่งปฏิกูลในวงการ ให้เหลือเพชรแท้

Robert Kiyosaki  ออกมาให้สัมภาษณ์กับผู้จัดรายการวิทยุ  iHeart และ Mark Moss ผู้เขียน ‘Uncommunist Manifesto’ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ใจความโดยสรุปว่า  แม้ว่า  FTX เกิดวิกฤติล่มสลายลง   ทำให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรม crypto  แต่  “ผมยังคงเชื่อมั่นใน Bitcoin  ในทำนองที่ว่า  Bitcoin  ไม่ใช่  Sam Bankman-Fried เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นปัญหาการล่มสลายของ  FTX

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts