วันพุธ, พฤษภาคม 8, 2024
หน้าแรกคอลัมนิสต์สืบจากข่าว“ประหยัด” ลุยรื้อกระบวนการไต่สวนโดยมิชอบของกรรมการ ป.ป.ช. ส่อทุจริต เจตนากลั่นแกล้ง ให้ได้รับโทษทางอาญาและออกจากราชการ

Related Posts

“ประหยัด” ลุยรื้อกระบวนการไต่สวนโดยมิชอบของกรรมการ ป.ป.ช. ส่อทุจริต เจตนากลั่นแกล้ง ให้ได้รับโทษทางอาญาและออกจากราชการ

“…มติชี้มูลนั้นมีคะแนนเสียงเท่ากัน (4  ต่อ 4 เสียง) แต่ปรากฏว่ามีการชี้มูลไปในทางที่เป็นผลร้ายแก่ นายประหยัด พวงจำปา จึงยื่นฟ้อง พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป.ป.ช. และ กรรมการ ป.ป.ช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-2 คือ นางสาวสุภา  ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. ประธานกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน และ นางสาวอพาลินทุ์  ลิ้มธเนศกุล พนักงานไต่สวน ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยดำเนินการตรวจสอบธุรกรรมการเงิน และกระแสเงินสดผ่านแดนทั้งในและต่างประเทศ โดยไม่มีอำนาจ ฝ่าฝืนกฎหมาย  ทั้งที่เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีเรื่องกล่าวหา หรือเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ช. และฐานความผิดตามมูลฐานความผิดฟอกเงินแต่อย่างใด อีกทั้งเมื่อสำนักงาน ป.ป.ง. แจ้งผลการตรวจสอบธุรกรรมการเงินของบุคคล และบริษัทต่างชาติ ไม่พบธุรกรรมผิดปกติแต่อย่างใด กลับปกปิดซ่อนเร้นพยานเอกสารหนังสือสำนักงาน ป.ป.ง. ไม่นำเข้าสำนวนเพื่อเป็นคุณ ให้ความเป็นธรรม จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ…”

จากคำสั่งของประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)  เมื่อวันที่  26 ส.ค.2565 ลงโทษไล่ นายประหยัด  พวงจำปา อดีตรองเลขาธิการ ป.ป.ช.ออกจากราชการ ในข้อหาร่ำรวยผิดปกติ โดยตรวจสอบธุรกรรมการเงินของ นายประหยัด  พวงจำปา  , คู่สมรส , บุคคลเอกชนสัญชาติอังกฤษ และบริษัทต่างชาติ แม้มติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ลงมติชี้มูลนั้นมีคะแนนเสียงเท่ากัน (4  ต่อ 4 เสียง) แต่ปรากฏว่ามีการชี้มูลไปในทางที่เป็นผลร้ายแก่ นายประหยัด พวงจำปา เป็นเหตุให้ นายอาทร ดำคง ทนายความผู้รับมอบอำนาจ นายประหยัด พวงจำปา ได้ยื่นฟ้อง พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. และ กรรมการ ป.ป.ช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-2 คือ นางสาวสุภา  ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. ประธานกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน และ นางสาวอพาลินทุ์  ลิ้มธเนศกุล พนักงานไต่สวน ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของประธาน ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 26 ส.ค.65 ที่มีมติว่า นายประหยัด ร่ำรวยผิดปกติ และมีคำสั่งลงโทษไล่ออก เพราะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายประการ

โดยเรื่องร้องเรียนกล่าวหา นางสาวสุภา  ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. ประธานกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน และ นางสาวอพาลินทุ์  ลิ้มธเนศกุล พนักงานไต่สวน ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ดำเนินการตรวจสอบธุรกรรมการเงิน และกระแสเงินสดผ่านแดนทั้งในและต่างประเทศ โดยไม่มีอำนาจ ฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่เสนอเรื่องและรายชื่อบุคคล และบริษัทที่จะขอตรวจสอบธุรกรรมการเงินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาอนุมัติเห็นชอบก่อนตามมาตรา 38 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยมีหนังสือถึงสำนักงาน ป.ป.ง. ให้ตรวจสอบ นายประหยัดฯ , คู่สมรส, นักธุรกิจชาวต่างชาติ สัญชาติสหราชอาณาจักร และบริษัทนิติบุคคลต่างชาติ ทั้งที่เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีเรื่องกล่าวหา หรือเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ช. และฐานความผิดตามมูลฐานความผิดฟอกเงินแต่อย่างใด โดยนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ของตนโดยมิชอบ จึงเป็นการทำความผิดโดยไม่มีอำนาจ และการกระทำดังกล่าว เป็นการละเมิดสิทธิ และกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลตามมาตรา 25 และมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญ และการไต่สวนไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 67 และเมื่อสำนักงาน ป.ป.ง. แจ้งผลการตรวจสอบธุรกรรมการเงินของบุคคล และบริษัทต่างชาติ ไม่พบธุรกรรมผิดปกติแต่อย่างใด กลับปกปิดซ่อนเร้นพยานเอกสารหนังสือสำนักงาน ป.ป.ง. ไม่นำเข้าสำนวนเพื่อเป็นคุณ ให้ความเป็นธรรม จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 46 ซึ่งปรากฏพยานเอกสารชัดเจน

ชี้เจตนามุ่งร้ายให้ได้รับโทษ กลั่นแกล้งให้ออกจากราชการ

นายประหยัดฯ ยื่นเรื่องกล่าวหาร้องเรียนว่า ตามที่ นางสาวสุภา  ปิยะจิตติ ประธานกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน นายประหยัด  พวงจำปา รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าจงใจปกปิดทรัพย์สินและหนี้สิน โดยการนำเอารายการทรัพย์สินห้องชุดที่สหราชอาณาจักร และบัญชีธนาคารกรุงเทพ 3 บัญชี ของธนาคารกรุงเทพ สาขาลอนดอน ที่คู่สมรสถือครองแทนบุคคลอื่นที่ นายประหยัดฯ ได้มีหนังสือยื่นชี้แจงประกอบรายการแสดงบัญชีทรัพย์สินฯ ที่ยื่นเป็นครั้งแรกให้มีความสมบูรณ์ ป้องกันการนำมาเป็นเหตุการกลั่นแกล้ง กล่าวหา เมื่อ นายประหยัดฯ จะสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่ปรากฎว่า นางสาวสุภา ปิยะจิตติ กลับนำเอารายการทรัพย์สินดังกล่าว มาเป็นทรัพย์สินแจ้งข้อกล่าวหาดำเนินคดีกับ นายประหยัดฯ ว่าปกปิดทรัพย์สิน ซึ่งไม่ใช่เป็นการตรวจสอบพบเองของกรรมการ ป.ป.ช. เหมือนคดีอื่นทั่วไป หรือมีเรื่องร้องเรียนจากบุคคล หรือสื่อมวลชนเหมือนคดีอื่น อีกทั้งไม่ได้เปิดโอกาสให้ นายประหยัดฯ ได้มีโอกาสชี้แจงอธิบายก่อน กลับเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งคณะดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินโดยมิชอบ และแจ้งข้อกล่าวหาทันที ผิดกับกรณีการตรวจสอบนาฬิกาหรูที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งให้นักการเมืองผู้นั้นชี้แจงก่อนถึง 3 ครั้ง จึงเป็นการปฏิบัติ 2 มาตรฐานอย่างชัดเจน และเมื่อนักการเมืองชี้แจง ได้มีมติให้คดีตกไป ไม่มีมูล แต่กรณี นายประหยัดฯ ได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นเอกสารแล้ว ก็ขอความเป็นธรรม ขอให้ถ้อยคำชี้แจงด้วยตนเองต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ เพื่อให้ทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ซักถามจนหมดข้อสงสัย แต่กลับถูกปิดกั้น โดยประธานกรรมการ ป.ป.ช. ได้ใช้อำนาจแจ้งที่ประชุมว่ามีพยานเอกสารชัดเจนแล้วไม่จำเป็นต้องอนุญาตให้ นายประหยัดฯ มาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการไต่สวนอีก การใช้อำนาจปิดกั้นให้ นายประหยัดฯ ให้ถ้อยคำ จึงขัดกับหลักการไต่สวนที่สุจริต เป็นธรรมให้กับผู้ถูกกล่าวหา จึงเป็นการกระทำขัดกับกฎหมายมาตรา 46 มีเจตนามุ่งร้ายชี้มูล นายประหยัดฯ ให้ได้รับโทษ และกลั่นแกล้งให้ออกจากราชการ สำนักงาน ป.ป.ช. ไม่ให้มีโอกาสเป็นเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.

ถูกดองเรื่องร้องเรียนเป็นเวลานาน ไม่มีความคืบหน้า ผิดปกติ

นายประหยัดฯ ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า การกล่าวหาร้องเรียน นางสาวสุภา ปิยะจิตติ และ นางสาวอพาลินทุ์ ลิ้มธเนศกุล  ในเรื่องปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ซึ่งได้ดำเนินการเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 และมีการติดตามทวงถาม แต่ประธานกรรมการ ป.ป.ช.  และเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. กลับละเลย เงียบเฉย เพราะหากตอบชี้แจง หรือรับดำเนินคดี นางสาวสุภา ปิยะจิตติ ตามมาตรา 48 นางสาวสุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. กับ นางสาวอพาลินทุ์ ลิ้มธเนศกุล พนักงานไต่สวนจะกลายเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ขัดแย้ง โกรธเคือง กับ นายประหยัดฯ และเข้าองค์ประกอบมาตรา 56 ต้องขอถอนตัว ไม่ไต่สวนดำเนินคดี หรือลงมติชี้มูล นายประหยัดฯ ได้ และทำให้คะแนนเสียงกรรมการเป็น 4:3 ไม่ชี้มูลความผิดนายประหยัดฯ และคดีตกไปทันที ซึ่งคำกล่าวหาร้องเรียนมีรายละเอียดครบถ้วนตามมาตรา 60 (ตาม (1) – (3)) ทั้งชื่อผู้กล่าวหา ชื่อผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง พยานเอกสารการกระทำผิดครบถ้วน ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะปฏิเสธไม่รับไว้พิจารณาไม่ได้ แต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงาน ป.ป.ช. เพิกเฉย ละเลยไม่ดำเนินการเป็นไปตามมาตรา 70 โดยเวลาผ่านมา 1 ปีกว่าแล้ว กลับไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหา นางสาวสุภา ปิยะจิตติ และ นางสาวอพาลินทุ์ ลิ้มธเนศกุล รับทราบข้อกล่าวหาแต่อย่างใด กลับมีการสอบถาม และปกปิดข้อมูลพยานเอกสาร โดยนำเอกสารดังกล่าวไปรวมไว้ในคดีอื่น โดยอ้างว่าเกี่ยวข้องกัน และอยู่ระหว่างการไต่สวนจึงเปิดเผยไม่ได้ เป็นการไต่สวนไม่สุจริต ใส่ร้ายป้ายสี และพยายามปกป้องช่วยเหลือกันเอง การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เป็นการกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายเสียเอง ทำให้ประชาชน สังคม ขาดความเชื่อมั่น และศรัทธา ประชาชนไม่ไว้วางใจกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะใช้อำนาจตรวจสอบธุรกรรม ไปกลั่นแกล้งคนดี คนบริสุทธิ์ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับพรรคพวกตนเอง 

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2561 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ร่วมกับสถาบันอิศรา จัดกิจกรรมคณะกรรมการป.ป.ช. พบสื่อมวลชนระดับบรรณาธิการ โดยมี พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. พร้อมด้วยกรรมการ ป.ป.ช. ร่วมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และตอบข้อซักถามสื่อมวลชนในประเด็นต่างๆ รวมทั้งกรณีนาฬิกาหรูของนักการเมืองใหญ่ ที่ห้องประชุมผู้บริหารชั้น 3 อาคาร 1 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

คำกล่าวหามีพิรุธ 2 มาตรฐาน

นายประหยัดฯ ร้องเรียนถึงกรณีการถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติว่า ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนของคณะกรรมการไต่สวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.แต่งตั้งขึ้น ไม่ปรากฏว่า นายประหยัดฯ มีการกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการ อันจะเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงแต่อย่างใด โดยทรัพย์สินที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลว่าร่ำรวยผิดปกติเป็นทรัพย์สินของคู่สมรส ซึ่งสามารถแสดงหรือพิสูจน์ถึงการได้มาซึ่งทรัพย์สินได้อย่างครบถ้วน โดยรายการทรัพย์สินต่างๆ มีทั้งในส่วนที่ถือครองแทนบุคคลอื่น เพื่อช่วยเหลือในทางธุรกิจ หรือเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการประกอบธุรกิจในครอบครัวกงสี และเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนที่ นายประหยัดฯ จะเข้ารับตำแหน่งรองเลขาธิการ ป.ป.ช. ซึ่งเรื่องนี้หากศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง  จะเป็นบรรทัดฐานใหม่ของข้าราชการ หรือนักการเมืองต่อไปว่าถ้าเป็นกรณีอย่างนี้ นิยาม คำว่า “ร่ำรวย” ของข้าราชการกับคู่สมรส ต้องวางมาตรฐานเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือแก้กฎหมายต่อไป

ขณะที่ การลงมติชี้มูลร่ำรวยผิดปกติ นายประหยัด  พวงจำปา ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชา กับ พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้บังคับบัญชา (ในขณะนั้น) เมื่อเปรียบเทียบคดีตรวจสอบทรัพย์สินนาฬิกาหรูของนักการเมืองที่ พลตำรวจเอก วัชรพลฯ อ้างว่าเป็นผู้รู้จักสนิทสนม เคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชามาก่อน จึงขอถอนตัวตามมาตรา 56 ปรากฏตามข่าวสื่อมวลชน แต่ในกรณี นายประหยัดฯ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ขณะไต่สวน นายประหยัดฯ ยังเป็นข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. การแต่งตั้ง ถอดถอนเป็นอำนาจของพลตำรวจเอก วัชรพลฯ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ตามกฎหมายยังเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา และมีคดีฟ้องร้องดำเนินคดีอาญา และคดีในศาลปกครอง อันเป็นเหตุโกรธแค้นเคืองอย่างรุนแรง แต่ พลตำรวจเอก วัชรพลฯ กลับไม่แสดงความสุจริต ให้ความเป็นธรรม กับผู้ใต้บังคับบัญชา โดยขอถอนตัวจากการลงมติตามมาตรา 56 เหมือนคดีนาฬิกาหรู แต่กลับเพิกเฉย และร่วมลงมติชี้มูล นายประหยัดฯ จนเป็นเหตุให้มีคะแนน 4:4 ซึ่งแสดงเจตนาเล็งเห็นผลว่าต้องการหาช่องทางไล่ออก นายประหยัดฯ จากราชการ อันเป็นวินัยร้ายแรง งดบำเหน็จบำนาญ ตามมาตรา 122 เนื่องจากในคดีปกปิดทรัพย์สิน หากศาลฎีกาฯ พิจารณาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย และพิพากษายกฟ้อง  นายประหยัดฯ และกลับเข้ารับราชการทันที จึงต้องดำเนินการปิดกั้นไม่ให้ นายประหยัดฯ กลับเข้ามารับราชการได้อีก การดำเนินการไต่สวนของ พลตำรวจเอก วัชรพลฯ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. จึงเป็น 2 มาตรฐานกับคดีตรวจสอบคดีนาฬิกาหรู ไม่มีความเป็นธรรม ไม่สุจริต มีเจตนาช่วยเหลือพวกพ้อง และมีเจตนากลั่นแกล้งไล่ผู้ใต้บังคับบัญชาตนเองให้ได้รับโทษทางอาญา หวังผลให้ออกจากราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อสกัดไม่ให้มีโอกาสเป็นเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ใช่หรือไม่? นายประหยัดจึงต้องต่อสู่เพื่อทวงคืนความบริสุทธิ์ยุติธรรมจนถึงที่สุด

#สืบจากข่าว : รายงาน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts