วันที่ 23 ธันวาคม 2565 กองบัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ., พ.ต.อ. ธรากร เลิศพรเจริญ , พ.ต.อ.สําเริง อําพรรทอง, พ.ต.อ.ณัฐวัฒน์ เกศะรักษ์, พ.ต.อ.สมเกียรติ ตันติกนกพร รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ., สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการ อาหารและยาและนพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุลรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาร่วมกันแถลงผลงานจับกุม กวาดล้างเภสัชเถื่อน เบื้องต้นมีการดําเนินคดีกับผู้ต้องหา 4 ราย พร้อมตรวจยึดของกลาง 22 รายการ
สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนจาก อย. ให้ทําการตรวจสอบร้าน ขายยาที่มีการสั่งซื้อยากลุ่มแก้ปวด (ทรามาดอล) และยาแก้แพ้ แก้ไอในปริมาณสูงผิดปกติ ซึ่งกลุ่มวัยรุ่นมักจะ นํามาผสมสารเสพติดชนิด 4×100 จึงทําการสืบสวน และในวันที่ 21 ธันวาคม 2565 ได้ร่วมกับ อย. ลงพื้นที่ ตรวจสอบพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวม 4 จุด ผู้ต้องหา 4 ราย ตรวจยึดของกลาง 22 รายการ รายละเอียดดังนี้
1.ร้านน้ําหวานเภสัช เลขที่ 57 ซอยพหลโยธิน 55 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โดยขณะ ตรวจสอบร้านขายยาดังกล่าวไม่มีเภสัชกรอยู่ปฏิบัติหน้าที่ จับกุมนายนฤมิตร์ (สงวนนามสกุล) อายุ 31 ปี ที่ขายยา ในความผิดฐาน “ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต” โดยนายนฤมิตร์ฯ เป็นเจ้าของร้าน เปิดร้าน และขายยาด้วยตนเอง จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีความรู้เรื่องยาเนื่องจากพี่สาวเป็นเภสัชกร โดยทํา มาแล้วประมาณ 2 ปี ตรวจยึดของกลางเป็นยาแก้ไอแก้แพ้ 11 ขวด, ยาเขียวเหลือง (ทรามาดอล) และยากลุ่ม บรรเทาปวดอื่น 610 แคปซูล
2.ร้านต้นยา 8 ฟาร์มาซี เลขที่ 35 ห้อง T.002 อาคารตุลาแมนชั่น ซอยรามคําแหง 50 (สหกรณ์ 1) ถนนรามคําแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ซึ่งขณะตรวจสอบร้านขายยาดังกล่าวไม่มีเภสัชกร อยู่ปฏิบัติหน้าที่ และจับกุมนายปภัสสร(สงวนนามสกุล) อายุ 22 ปี พนักงานที่ขายยา ในความผิดฐาน “ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต และขายยาอันตรายระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่” โดยนายประภัสสรฯ จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และรับว่าตนเคยมีประสบการณ์ทํางานร้านขายยา มาก่อนโดยทํามาแล้วประมาณ 3 ปี และรับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท ตรวจยึดของกลางเป็นยากลุ่ม บรรเทาปวด จํานวน 1,510 แคปซูล
3.บ้านยา B&M เลขที่ 54 ซอยลาดกระบัง 13/5 ถนนฉลองกรุง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ซึ่งขณะตรวจสอบร้านขายยาดังกล่าวไม่มีเภสัชกรอยู่ปฏิบัติหน้าที่ จับกุม น.ส.นรูอาดณี (สงวนนามสกุล) อายุ 24 ปี พนักงานขายยาในร้าน ในความผิดฐาน “ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต” โดย น.ส.นรูอาดณีฯ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่ได้มีความรู้หรือประสบการเรื่องยาแต่อย่างใด และเพิ่งทํางานร้านขายยาได้ 2 วัน รับค่าจ้างเดือนละ 12,000 บาท ตรวจยึดของกลางเป็นยาเขียวเหลือง (ทรามาดอล) จํานวน 1,960 แคปซูล และยาแก้ไอยี่ห้อ Datissin จํานวน 3,607 ขวด
4.ร้านยาโปรด เลขที่ 243/11 ซอยลาดพร้าว 1 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ซึ่งขณะตรวจสอบร้านขายยาดังกล่าวไม่มีเภสัชกรอยู่ปฏิบัติหน้าที่ จับกุมนายเศรษฐโรจน์ (สงวนนามสกุล) อายุ 35 ปี พนักงานขายยาในร้าน ในความผิดฐาน “ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต” โดยนายเศรษฐโรจน์ฯ ยอมรับว่าจบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีความรู้เรื่องยาเนื่องจากเคยอบรม หลักสูตรผู้ช่วยร้านขายยา และทํามาแล้วประมาณ 1 ปี รับค่าจ้างเดือนละ 9,000 บาท ตรวจยึดของกลางเป็น ยากลุ่มแก้แพ้แก้ไอ จํานวน 217 ขวด และยากลุ่มบรรเทาปวดอื่น 2,090 แคปซูล
รวมตรวจค้น 4 จุด โดยร้านขายยาทั้งหมดเป็นสถานที่ได้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน แต่ไม่มี เภสัชกรประจําอยู่ และผู้ที่ขายยาไม่ใชเ่ ภสัชกรโดยจบการศึกษาระดับปริญญาตรี 3 ราย และมัธยมศึกษาปีที่ 6 จํานวน1ราย ตรวจยึดของกลางรวม 22 รายการ เป็นยาแก้ไอแก้แพ้ 3,835 ขวด, ยาทรามาดอล และยากลุ่มแก้ปวด 6,170 เม็ด รวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท ดําเนินคดีกับผู้ต้องหาที่ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม โดยไม่ได้รับอนุญาต 4 ราย โดยผู้ต้องหาทั้งหมดให้การรับสารภาพตลอดทุกข้อกล่าวหา
การกระทําดังกล่าวเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรมพ.ศ.2537 มาตรา 28 ฐาน “ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมฯโดยมิได้ขึ้น ทะเบียนและรับใบอนุญาต” ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
พ.ร.บ.ยาพ.ศ.2510 มาตรา 32 ฐาน “ขายยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่” ระวางโทษปรับ 1,000-5,000 บาท
นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า การดําเนินการ ตรวจสอบจับกุมเครือข่ายร้านขายยายากลุ่มเสี่ยงร่วมกับ บก.ปคบ. ครั้งนี้เป็นการดําเนินการครั้งที่ 4 พบร้าน ขายยาที่ได้รับอนุญาตมีผู้ดําเนินกิจการเป็นชื่อเดียวกันและเปิดเป็นเครือข่ายหลายร้าน และกลุ่มร้านขายยาที่ มิใช่เครือข่าย โดยทั้ง 2 กลุ่มนี้ มีพฤติการณ์ในยาแก้ปวดทรามาดอล และยาแก้แพ้ แก้ไอ ให้แก่กลุ่มวัยรุ่นเพื่อ นํายาไปใช้ในทางที่ผิด ส่งเสริมการมอมเมาเยาวชนและเกิดปัญหาต่อสังคมตามมาอีกมากมาย
จึงขอเตือนผู้ประกอบการร้านขายยาให้ตะหนักว่าร้านขายยาเป็นด่านคัดกรองความเจ็บป่วย เบื้องต้นในชุมชน ดังนั้นการแนะนําการใช้ยาต้องแนะนําในทางที่ถูกต้อง ไม่ควรเน้นหวังเน้นกําไรและไม่มี ความรับผิดชอบต่อสังคม และตัวเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการควรมีจรรยาบรรณรับผิดชอบต่อวิชาชีพต่อ ตนเอง ที่ผ่านมา อย. ดําเนินการทางกฎหมายและทางปกครองกับกลุ่มที่ฝ่าฝืนกฎหมายมาโดยตลอด โดยใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จนถึงปัจจุบัน อย.ได้ดําเนินการพักใช้ใบอนุญาตร้านขายยาแผนปัจจุบัน 20 แห่ง ส่งสภาเภสัชเพื่อพิจารณาจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกร 26 ราย และส่งสภาดําเนินคดีกับผู้ประกอบวิชาชีพ เภสัชกรรมฯ ที่มิได้ข้ึนทะเบียนและรับใบอนุญาต 23 ราย ทั้งนี้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบร้านขายยาที่ได้รับ อนุญาตจาก อย. ได้ที่ www.fda.moph.go.th และหากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยหรือไม่ได้รับอนุญาต สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือผ่าน Email:1556@fda.moph.go.th Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ ตู้ปณ.1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสํานักงาน สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. กล่าวฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่า ร้านขายยาเป็นสถานที่ซึ่งมีเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาสุขภาพได้สะดวกและต้องได้รับคําแนะนําจาก ผู้มีความรู้ทางเภสัชกรรม ไม่ใช่สถานที่ที่ใช้เพื่อใช้ช่องว่างในการอํานวยความสะดวกให้เยาวชนเข้าถึงยาเสพติด ง่ายขึ้น บก.ปคบ.จะดําเนินกวดขันจับกุมร้านขายยารวมถึงเครือข่ายที่อาศัยช่องว่างทางกฎหมายในการขอ อนุญาตเปิดร้านขายยาเพื่อหวังโควต้าในการซื้อยาแก้ไอ แก้แพ้ในปริมาณสูงแล้วนํายาดังกล่าวไปขายแก่กลุ่ม เยาวชน เพื่อตัดตอนการเข้าถึงยาเสพติดชนิด 4×100 ให้ถึงที่สุด และจะดําเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยประชาชนทั่วไปหากพบเห็นการกระทําความผิด สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน ปคบ. 1135 หรือเพจ ปคบ.เตือน ภัยผู้บริโภค