วันอาทิตย์, กันยายน 22, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนเลขาฯ EEC ชี้การลงทุนจาก 'จีน' ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

Related Posts

เลขาฯ EEC ชี้การลงทุนจาก ‘จีน’ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

เมื่อไม่นานนี้ จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวซินหัวของจีนว่า การลงทุนของจีนที่เพิ่มขึ้นในไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ก่อให้เกิดห่วงโซ่อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการพัฒนาอันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

จุฬาเผยว่า ไทยในฐานะฐานการผลิตและส่งออกยานยนต์แห่งสำคัญของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ดึงดูดกลุ่มผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าจากจีนเข้ามาเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนการจูงใจด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาลไทย โดยบริษัทจีนมากมายเข้ามาลงทุนในไทย บางส่วนได้ตอบสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศและส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

ข้อมูลสมาคมยานยนต์ของไทยระบุว่าแบรนด์จีนครองส่วนแบ่งตลาดยานยนต์ไฟฟ้าของไทยสูงราวร้อยละ 90 ในปี 2021 โดยผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าจากจีนอย่างเอ็มจี (MG) และเกรท วอลล์ มอเตอร์ (Great Wall Motor) ได้จัดตั้งโรงงานในเขตพัฒนาฯ ขณะบีวายดี (BYD) และเนตา ออโต (Neta Auto) ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยเช่นกัน ทำให้ไทยมีแนวโน้มส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

อนึ่ง รัฐบาลไทยต้องการให้การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าครองสัดส่วนราวร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในประเทศภายในปี 2023 โดยผลสำรวจพบยอดจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้าในไทยพุ่งขึ้นจากไม่เกิน 2,000 คันในปี 2021 เป็นเกือบ 10,000 คันในปี 2022 และคาดว่ายอดจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นสองเท่าตัวในปีนี้

จุฬากล่าวว่า กลุ่มบริษัทยานยนต์ไฟฟ้าจากจีนได้ดึงดูดผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุตสาหกรรมยานยนต์เข้าสู่ไทย ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนยานยนต์ ยางล้อ แบตเตอรี่ และสถานีชาร์จไฟฟ้า ซึ่งไม่เพียงสร้างการจ้างงานในท้องถิ่น แต่ยังนำเทคโนโลยีและการฝึกอบรมผู้มีความสามารถเข้ามา ซึ่งมีส่วนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพแรงงานของไทยอีกด้วย 

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของไทย ซึ่งครอบคลุมจังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ถือเป็นแกนกลางความพยายามของรัฐบาลไทยในการกระตุ้มการเติบโตและการลงทุน โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรกรมเทคโนโลยีขั้นสูง มุ่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและดำเนินการสารพัดมาตรการจูงในทางการลงทุน เพื่อดึงดูดอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ขณะเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงานราคาถูก

ปัจจุบันอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ปิโตรเคมี ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ครองส่วนแบ่งกรลงทุนสูงสุดในเขตพัฒนาฯ โดยการลงทุนจากจีนครองสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ของการลงทุนจากต่างประเทศในเขตพัฒนาฯ เมื่อนับจากปี 2018 จนถึงไตรมาสแรก (มกราคม – มีนาคม) ของปีนี้ ทำให้จีนกลายเป็นหนึ่งในนักลงทุนรายใหญ่

จุฬาเสริมว่าจีนมีส่วนส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจขของไทยอย่างมาก นอกจากความร่วมมือทางอุตสาหกรรมและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศแล้ว นักท่องเที่ยวจีนยังมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนการเติบโตของการท่องเที่ยวไทยด้วย กลายเป็นหนึ่งในตลาดนักท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่สุดด้วย

“ไทยและจีนมีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้น ทั้งด้านการลงทุนและการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน แม้กิจกรรมการค้าอาจจะลดลงในช่วงเกิดโรคระบาดใหญ่ แต่ด้วยสายสัมพันธ์อันแข็งแกร่งเหล่านี้ ผมคิดว่าจะเกิดการฟื้นตัวในเร็วๆ นี้” จุฬากล่าวทิ้งท้าย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts