ตัวแทนผู้เสียหายถูกหลอกลงทุนแชร์ลูกโซ่กาแฟ พบตำรวจ ปอศ.หลังรับโอนคดีจากตำรวจขอนแก่น
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 14 พ.ย.66 ที่ ศูนย์รับแจ้งความ บช.ก.
ตัวแทนผู้เสียหายทั่วประเทศจำนวน 24 คน เดินทางเข้าพบ พงส.กก.4 บก.ปอศ.
หลังตกเป็นผู้เสียหายจากการลงทุนทำธุรกิจกาแฟ กับ เอกชน บริษัทฯ หนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ในลักษณะคล้ายแชร์ลูกโซ่
บริษัทฯ ดังกล่าว ได้ชักชวนผู้เสียหายให้มาร่วมลงทุน โดยเสนอผลตอบแทนในอัตราสูง จ่ายเงินปันผลมาตลอด
แต่ล่าสุดไม่จ่าย อ้างว่าประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ติดต่อผู้บริหารบริษัทฯ ไม่ได้
ผู้เสียหายกว่า 100 คนพากันไปแจ้งความ พงส.สภ.เมือง ภ.จว.ขอนแก่น เมื่อ ก.ค.ที่ผ่านมา ตำรวจขอนแก่นได้สอบปากคำ รวบรวมความเสียหายเบื้องต้นกว่า 20 ล้านบาท ก่อนจะประสานโอนคดีให้ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางรับโอนคดี วันนี้จึงเดินทางมาเพื่อติดตามสอบถาม บก.ปอศ.ว่าคดีมีความคืบหน้าอย่างไร
ผู้เสียหายหลายจังหวัด ยื่นเรื่องต่อผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางและตำรวจปอศ. หลังจากได้รับความเสียหายจากการลงทุนกับบริษัทขายตรงแห่งหนึ่ง อาจเข้าข่ายเป็นแชร์ลูกโซ่ ที่ชักชวนสมาชิกลงทุนขายกาแฟ แต่ไม่ต้องขายกาแฟ เพียงแต่ฝากให้บริษัทดำเนินการทำผลกำไร และจ่ายเงินปันผล สุดท้ายบริษัทอ้างว่าขาดทุนและหยุดจ่ายผลกำไร ทำให้สมาชิกกว่า 1หมื่นรหัส ได้รับความเสียหาย มูลค่ากว่า 22 ล้านบาท
วันนี้ (14 พ.ย.66) กลุ่มผู้เสียหายจากการลงทุนผลิตภัณฑ์กาแฟ กับบริษัท ฟินน์ เน็ทเวิร์ค จำกัด เข้ายื่นเรื่องร้องเรียน และขอให้ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ประสานตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ให้เร่งรัดติดตามคดี และเอาผิดกับผู้บริหารบริษัทพร้อมพวก
หลังจากโฆษณาชักชวนให้สมาชิกมาลงทุนซื้อขายผลิตภัณฑ์กาแฟเพื่อสุขภาพ แต่สมาชิกไม่ต้องขายกาแฟเอง โดยทางบริษัทเสนอผลตอบแทนในอัตราสูงเป็นเครื่องล่อใจให้ร่วมลงทุนด้วย
หนึ่งในผู้เสียหาย เปิดเผยว่า ทางบริษัทอ้างว่าให้สมาชิกมาลงทุนซื้อแพ็กเกจ เริ่มต้นที่ 2,500 บาท ถึง 500,000 บาท เพียง 10 วัน จะได้ผลกำไร เช่น หากสมาชิกซื้อ แพ็กเกจ 10,000 บาท จะได้เงินปันผลร้อยละ1 ต่อวัน รอ 10 วัน ได้รับ 1,000 บาท ระยะเวลา 20 รอบ รวมเงินที่ได้รับ 20,000 บาท
และ1 คน สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้หลายรหัส และบางส่วนรู้จักบริษัทนี้ โดยการชักชวนบอกต่อ เพื่อที่จะได้ค่าคอมมิชัน ซึ่งในช่วงนั้นจ่ายเงินปันผลตามปกติ
จนมาถึงประมาณ เดือน ก.พ.2566 ทางบริษัทเรียกสมาชิกประชุมด่วน และแจ้งว่าบริษัทขาดทุน และขอจ่ายผลตอบแทนเหลือเพียงร้อยละ 0.5 ต่อมาช่วงก่อนสงกรานต์ ทางผู้บริหารบริษัทขอทำสัญญารับสภาพหนี้ กับสมาชิกบางส่วน นัดจ่ายเงิน ก.ค.2566 แต่ก็ไม่มีใครได้รับ พอทวงถามผู้บริษัทมักเลื่อน สุดท้ายเงียบหาย
ทำให้ผู้เสียหาย 175 คน แจ้งความไว้ที่ สภ.เมืองขอนแก่น ตั้งแต่24 ก.ค. 2566 หลังสอบปากคำผู้เสียหาย ตำรวจจึงตั้งข้อกล่าวหา ทั้ง 4 คน คือ ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน,ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันฟอกเงิน
ก่อนส่งสำนวนมายัง สอบสวนกลาง เมื่อประมาณเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา
ทางด้าน พ.ต.ท.วรเดช ชมภูพันธ์ รองผู้กำกับการ กก.4 บก.ปอศ. ได้มารับหนังสือ โดยกล่าวว่าคดีนี้ ได้ตั้งคณะพนักงานสอบสวนไว้แล้ว
และเช็คข้อมูลทางคดี พบว่าผู้บริหารบริษัทดังกล่าว มีหมายจับจาก สภ.หางดง จ.เชียงใหม่
ซึ่งหลังสอบปากคำแล้วจะเร่งรัด ออกหมายเรียกหรือหมายจับ ตามกฎหมายต่อไป