วันอาทิตย์, กันยายน 29, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนยุทธศาสตร์ ‘ล้านช้าง-แม่โขง’ สายน้ำการค้าที่ไม่มีวันสะดุด

Related Posts

ยุทธศาสตร์ ‘ล้านช้าง-แม่โขง’ สายน้ำการค้าที่ไม่มีวันสะดุด

ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคและโลกมีความผันผวนซับซ้อน โครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กลายเป็นความคาดหวังสร้างถนนการค้าที่ไม่มีวันสะดุด  หนึ่งในนั้นคือกรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง และ แม่น้ำโขง หรือ (Lancang-Mekong Cooperation : LMC) ได้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2558 สมาชิกทั้ง 6 ประเทศได้ขยายกรอบความร่วมมือด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ เศรษฐกิจดิจิทัล การป้องกันสิ่งแวดล้อม การแลกเปลี่ยนระหว่างเยาวชน และการพัฒนาที่ยั่งยืน ในปี 2565 มูลค่าการค้าระหว่างจีนและสมาชิกทั้ง 5 ประเทศ มีมูลค่ากว่า 416.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีก่อน มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรของจีนจาก 5 ประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 โดยเฉพาะทุเรียน รังนก ลำไย มะพร้าว และผลิตภัณฑ์เกษตรชนิดอื่นๆ สินค้าจากประเทศสมาชิกได้เข้าสู่ตลาดจีนมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ รถไฟจีน-ลาว ได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่าง 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงที่มีก้าวหน้าเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง

ทั้ง 6 ประเทศ ได้ย้ำถึงหลักการร่วมมือที่มีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ มีความเสมอภาค การทาบทามระหว่างกัน การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ การเคารพกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายสากล  สอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมายของแต่ละประเทศ บรรดารัฐมนตรี MLC ได้เห็นพ้องที่จะผลักดันความร่วมมือตามแนวทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อบ้านมิตรภาพ มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของประเทศสมาชิก การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนและการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2030

ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ทั้ง 6 ประเทศได้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างพื้นที่การพัฒนาขึ้นในภูมิภาค และได้ร่วมกันสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่มีคุณภาพสูง การค้าลุ่มแม่น้ำโขงเอาชนะผลกระทบจากโรคระบาดและมีมูลค่ารวมที่ 416,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 ทางรถไฟจีน-ลาวเปิดเดินรถอย่างราบรื่น ขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 320% ทั้ง 6 ประเทศได้ร่วมกันสร้างพื้นที่ปลอดภัยและร่วมกันรักษาเสถียรภาพในภูมิภาคอย่างมั่นคง รับมือภัยคุกคามและความท้าทายด้านความมั่นคงทั้งแบบดั้งเดิมและแบบใหม่ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทำงานร่วมกันเพื่อรักษาห่วงโซ่อุตสาหกรรมระดับภูมิภาค การเงิน และความมั่นคงด้านพลังงาน สร้างตลาดล้านช้าง-แม่โขงขนาดใหญ่ที่เน้นการมีส่วนร่วมและเกิดผลประโยชน์ถ้วนหน้า ทั้ง 6 ประเทศยังได้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างสถานที่ที่ปลอดภัย มีความสุขในการอยู่อาศัยและแบ่งปันผลประโยชน์จากความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ใช้มาตรการ 4 ข้อเพื่อประโยชน์ของลุ่มน้ำโขง ได้แก่ “แผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรล้านช้าง-แม่โขง” “แผนพัฒนาทรัพยากรน้ำเพื่อประโยชน์ของประชาชนล้านช้าง-แม่โขง” “แผนพัฒนาบุคลากรชั้นเลิศล้านช้าง-แม่โขง” และ “แผนความร่วมมือด้านสาธารณสุขล้านช้าง-แม่โขง” เพื่อกระชับความร่วมมือด้านการเกษตร สาธารณสุข การบรรเทาความยากจน การลดภัยพิบัติ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เพื่อประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมแก่ประชาชนใน 6 ประเทศ

ความร่วมมือ LMC จึงเป็นเวทีความร่วมมือระดับอนุภูมิภาครูปแบบใหม่ที่จีนกับ 5 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงร่วมก่อตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือฉันมิตรระหว่าง 6 ประเทศ ผลักดันการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมระดับภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาระหว่างกัน ส่งเสริมการสร้างสรรค์ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของอาเซียนและภายในภูมิภาค โดยทั้ง 6 ประเทศต่างร่วมแรงร่วมใจกันสร้างสรรค์ประชาคมประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงซึ่งมีชะตาชีวิตร่วมกัน  ด้วยความยาวเกือบ 5,000 กิโลเมตร ผ่านภูเขาและที่ราบสูงในประเทศจีน ในชื่อ “แม่น้ำล้านช้าง” ก่อนเรียกขานกันว่า “แม่น้ำโขง” เมื่อไหลเข้าสู่ประเทศเมียนมาร์ ลาว ไทย กัมพูชา และไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ 795,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 496.875 ล้านไร่ มหานทีสายเดียวแต่มีสองชื่อนี้ จึงกลายเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสำคัญในคาบสมุทรอินโดจีนอย่างแท้จริง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts