วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีน2024 “ล้านช้าง-แม่โขง” เดินหน้ามุ่งสู่เป้าหมายปี 2030

Related Posts

2024 “ล้านช้าง-แม่โขง” เดินหน้ามุ่งสู่เป้าหมายปี 2030

“เราควรอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และสร้างความร่วมมือแบบได้ประโยชน์ทุกฝ่าย ด้วยท่าทีที่มีเหตุผลและปฏิบัติได้จริง รวมถึงการทำงานในทิศทางเดียวกัน” เป็นคำกล่าวของ สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน

ปธน.สี จิ้นผิง เรียกร้องความพยายามร่วมกันสร้างประชาคมที่มีการพัฒนาร่วมกัน และรับรองว่าไม่มีประเทศใดถูกทิ้งไว้ข้างหลังในกระบวนการสร้างความทันสมัยระดับโลก ยกระดับกระบอกเสียงของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในกิจการระดับโลก และสนับสนุนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในการบรรลุการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น ด้วยคำกล่าวสั้นๆแต่ได้ใจว่า “จีนเป็นและจะยังคงเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเสมอ”

กรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (LMC) เป็นหนึ่งกลไกสำคัญที่เชื่อมโยงประเทศลุ่มน้ำโขงและแม่น้ำล้านช้างของจีน กลายเป็นต้นแบบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาร่วมกันและเอื้อประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย โดยมีเป้าหมายก้าวไปสู่ความทันสมัยและพัฒนา กลมกลืนด้วยสันติภาพของปัจจุบันและอนาคต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยั่งยืน ครอบคลุมการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยถือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ไม่ปล่อยให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

คณะผู้นำ 6 ประเทศ (กัมพูชา จีน ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย) ยืนยันความมุ่งมั่นทำงานร่วมกัน เพื่อจัดการกับความท้าทาย เห็นพ้องเดินหน้าการพัฒนาเศรษฐกิจจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรม เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค และการฟื้นฟูพลังความมีชีวิตชีวา

นับจาก LMC จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2558 สมาชิกทั้ง 6 ประเทศได้ขยายกรอบความร่วมมือด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ เศรษฐกิจดิจิทัล การป้องกันสิ่งแวดล้อม การแลกเปลี่ยนระหว่างเยาวชน และการพัฒนาที่ยั่งยืน ในปี 2565 มูลค่าการค้าระหว่างจีนและสมาชิกทั้ง 5 ประเทศ มีมูลค่ากว่า 416.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีก่อน มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรของจีนจาก 5 ประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 โดยเฉพาะทุเรียน รังนก ลำไย มะพร้าว และผลิตภัณฑ์เกษตรชนิดอื่นๆ สินค้าจากประเทศสมาชิกได้เข้าสู่ตลาดจีนมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ รถไฟจีน-ลาว ได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่าง 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงที่มีก้าวหน้าเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง

LMC กลายเป็นศูนย์กลางของประชาคมอาเซียนซึ่งมีชะตาชีวิตร่วมกัน อีกทั้งเป็นเวทีสำคัญของการสร้างสรรค์โครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เชื่อมโยง 6 ประเทศด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เติมเต็มความอุดมสมบูรณ์ให้กับไร่นาด้วยตะกอนดินที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ ป่าไม้และพื้นที่ชุ่มน้ำก็เป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญให้กับการอุตสาหกรรม ช่วยกรองน้ำและฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ รวมถึงการปกป้องเมืองต่างๆ จากภัยธรรมชาติอย่างอุทกภัยและวาตภัย ผู้คนประมาณร้อยละ 80 จากทั้งหมด 300 ล้านคนในภูมิภาคนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยระบบธรรมชาตินี้โดยตรงในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร วิถีชีวิต และประเพณีวัฒนธรรม

ปี 2024 สถานการณ์ในภูมิภาคและโลกยังมีความผันผวนซับซ้อน ที่ประชุมได้ย้ำถึงหลักการร่วมมือที่มีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ มีความเสมอภาค การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ การเคารพกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายสากล  สอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมายของแต่ละประเทศ เห็นพ้องการผลักดันความร่วมมือตามแนวทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันท์มิตรภาพ มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของประเทศสมาชิก

ด้วยจุดมุ่งหมายการก้าวไปสู่การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียน และการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2030 ตามแนวทางความร่วมมือ 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1) การเมืองและความมั่นคง 2) เศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3) สังคมและวัฒนธรรม โดยมีทิศทางสำคัญ 5 ประการสำหรับความร่วมมือระหว่างกัน คือ 1) การพัฒนาความเชื่อมโยง 2) การสร้างความร่วมมือด้านพลังงาน 3) การพัฒนาเศรษฐกิจข้ามพรมแดน 4) การสร้างความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ และ 5) การสร้างความร่วมมือในการแก้ปัญหาความยากจน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts