วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนจีนพัฒนา 'สมองกล' ช่วยผู้ป่วยอัมพาต ใช้ 'ความคิด' ขยับเคอร์เซอร์บนจอคอม

Related Posts

จีนพัฒนา ‘สมองกล’ ช่วยผู้ป่วยอัมพาต ใช้ ‘ความคิด’ ขยับเคอร์เซอร์บนจอคอม

สำนักข่าวซินหัว รายงาน ชายวัย 35 ปีที่มีภาวะอัมพาตทั้งตัว ใช้สายตาจ้องวงกลมสีแดงที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งตอบสนองต่อการควบคุมด้วย “ความคิด” ของเขาและค่อยๆ เคลื่อนผ่านหน้าจอจนเข้าใกล้วงกลมสีน้ำเงินและทับซ้อนกันได้ในที่สุด โดยนี่ไม่ใช่ฉากจากภาพยนตร์ไซไฟเรื่องไหน แต่เป็นผลลัพธ์จากความก้าวหน้าของจีนในแวดวงเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างคลื่นสมองและอุปกรณ์ภายนอก (brain-machine interface)

@suebjarkkhao

จีนพัฒนา ‘สมองกล’ ช่วยผู้ป่วยอัมพาต ใช้ ‘ความคิด’ ขยับเคอร์เซอร์บนจอคอม สำนักข่าวซินหัว รายงาน ชายวัย 35 ปีที่มีภาวะอัมพาตทั้งตัว ใช้สายตาจ้องวงกลมสีแดงที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งตอบสนองต่อการควบคุมด้วย “ความคิด” ของเขาและค่อยๆ เคลื่อนผ่านหน้าจอจนเข้าใกล้วงกลมสีน้ำเงินและทับซ้อนกันได้ในที่สุด โดยนี่ไม่ใช่ฉากจากภาพยนตร์ไซไฟเรื่องไหน แต่เป็นผลลัพธ์จากความก้าวหน้าของจีนในแวดวงเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างคลื่นสมองและอุปกรณ์ภายนอก (brain-machine interface) เมื่อไม่นานมานี้ทีมงานที่นำโดยหงโป ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยชิงหัว ซึ่งร่วมมือกับทีมงานที่นำโดยศาสตราจารย์เจี่ยวั่ง จากโรงพยาบาลปักกิ่ง เทียนถาน สังกัดมหาวิทยาลัยการแพทย์นครหลวง ประสบความสำเร็จในการช่วยให้ผู้ป่วยคนนี้ใช้ความคิดควบคุมการเคลื่อนไหวของเคอร์เซอร์บนหน้าจอ ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนคอ บริเวณซี3-ซี4 (C3-C4) จากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อ 5 ปีก่อน ส่งผลให้เขาสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเองไปอย่างสิ้นเชิง ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ทีมงานของเจี่ยได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยและครอบครัวให้ทำการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กเพื่อฝังอุปกรณ์เชื่อมต่อสมองกับเครื่องมือภายนอกแบบไร้สาย โดยใช้อุปกรณ์สื่อประสาทชนิดฝังในร่างกาย ที่มีชื่อว่านิวรัล อิเล็กทรอนิก ออพพอร์ทูนิตี หรือนีโอ (NEO) เจี่ยกล่าวว่าเราใส่ขั้วไฟฟ้าไว้ด้านนอกเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (dura mater) ระหว่างการผ่าตัด เพื่อปกป้องเซลล์ประสาทของผู้ป่วยไม่ให้ได้รับความเสียหาย โดยทีมงานทำงานเพื่อรับรองว่าขั้วไฟฟ้าถูกจัดวางในตำแหน่งที่แม่นยำ รวมถึงมีสัญญาณไฟฟ้าที่ชัดเจนและเสถียรในสมอง ผ่านการเปรียบเทียบและการตรวจสอบหลายครั้งโดยใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การนำวิถีระหว่างการผ่าตัด การตรวจติดตามทางประสาทสรีรวิทยา และการถ่ายภาพความเป็นจริงผสม อุปกรณ์นีโอใช้แหล่งจ่ายพลังงานไร้สายและการส่งสัญญาณในระยะใกล้ ทำให้อุปกรณ์ชนิดฝังเครื่องนี้ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่แต่อย่างใด ผู้ป่วยได้รับการปล่อยตัวออกจากโรงพยาบาลหลังผ่าตัดได้ 10 วัน ซึ่งหลังจากฝึกฝนเป็นเวลาสองเดือนทักษะการเคลื่อนไหวของเขาก็ฟื้นตัวจนสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ เช่น หยิบขวดน้ำโดยใช้ถุงมือสูบลมที่ขับเคลื่อนด้วยคลื่นสมอง และยังสามารถใช้ความคิดขยับเคอร์เซอร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ในสภาพแวดล้อมครัวเรือนปกติ “การใช้วงกลมสีแดง ‘ไล่ตาม’ วงกลมสีน้ำเงินอาจดูเหมือนเป็นการเคลื่อนไหวที่เรียบง่าย แต่มันบ่งบอกถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างสมองและอุปกรณ์ภายนอก

♬ เสียงต้นฉบับ – Suebjarkkhao – Suebjarkkhao

เมื่อไม่นานมานี้ทีมงานที่นำโดยหงโป ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยชิงหัว ซึ่งร่วมมือกับทีมงานที่นำโดยศาสตราจารย์เจี่ยวั่ง จากโรงพยาบาลปักกิ่ง เทียนถาน สังกัดมหาวิทยาลัยการแพทย์นครหลวง ประสบความสำเร็จในการช่วยให้ผู้ป่วยคนนี้ใช้ความคิดควบคุมการเคลื่อนไหวของเคอร์เซอร์บนหน้าจอ

ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนคอ บริเวณซี3-ซี4 (C3-C4) จากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อ 5 ปีก่อน ส่งผลให้เขาสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเองไปอย่างสิ้นเชิง

ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ทีมงานของเจี่ยได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยและครอบครัวให้ทำการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กเพื่อฝังอุปกรณ์เชื่อมต่อสมองกับเครื่องมือภายนอกแบบไร้สาย โดยใช้อุปกรณ์สื่อประสาทชนิดฝังในร่างกาย ที่มีชื่อว่านิวรัล อิเล็กทรอนิก ออพพอร์ทูนิตี หรือนีโอ (NEO)

เจี่ยกล่าวว่าเราใส่ขั้วไฟฟ้าไว้ด้านนอกเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (dura mater) ระหว่างการผ่าตัด เพื่อปกป้องเซลล์ประสาทของผู้ป่วยไม่ให้ได้รับความเสียหาย โดยทีมงานทำงานเพื่อรับรองว่าขั้วไฟฟ้าถูกจัดวางในตำแหน่งที่แม่นยำ รวมถึงมีสัญญาณไฟฟ้าที่ชัดเจนและเสถียรในสมอง ผ่านการเปรียบเทียบและการตรวจสอบหลายครั้งโดยใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การนำวิถีระหว่างการผ่าตัด การตรวจติดตามทางประสาทสรีรวิทยา และการถ่ายภาพความเป็นจริงผสม

อุปกรณ์นีโอใช้แหล่งจ่ายพลังงานไร้สายและการส่งสัญญาณในระยะใกล้ ทำให้อุปกรณ์ชนิดฝังเครื่องนี้ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่แต่อย่างใด

ผู้ป่วยได้รับการปล่อยตัวออกจากโรงพยาบาลหลังผ่าตัดได้ 10 วัน ซึ่งหลังจากฝึกฝนเป็นเวลาสองเดือนทักษะการเคลื่อนไหวของเขาก็ฟื้นตัวจนสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ เช่น หยิบขวดน้ำโดยใช้ถุงมือสูบลมที่ขับเคลื่อนด้วยคลื่นสมอง และยังสามารถใช้ความคิดขยับเคอร์เซอร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ในสภาพแวดล้อมครัวเรือนปกติ

“การใช้วงกลมสีแดง ‘ไล่ตาม’ วงกลมสีน้ำเงินอาจดูเหมือนเป็นการเคลื่อนไหวที่เรียบง่าย แต่มันบ่งบอกถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างสมองและอุปกรณ์ภายนอก ซึ่งปูทางสู่ฟังก์ชันการทำงานที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในอนาคต” เจี่ยกล่าว

ความสำเร็จนี้มีปัจจัยจากการฝังขั้วไฟฟ้าที่แม่นยำ รวมทั้งการส่งสัญญาณและการถอดรหัสสัญญาณสมองที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมืออันแข็งแกร่งระหว่างทั้งสองทีม

หงกล่าวว่าทีมงานกำลังเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอัลกอริธึมการถอดรหัสของเทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบนี้ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมกิจกรรมต่างๆ เช่น การพลิกดูอีบุ๊กส์ (e-book) หรือการคลิกเคอร์เซอร์โดยใช้ความคิด และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอุปกรณ์เชิงโต้ตอบสำหรับผู้ป่วย

ทั้งนี้ ความสำเร็จในการปลูกถ่ายอุปกรณ์ดังกล่าว และการขยับเคอร์เซอร์แบบควบคุมด้วยสมองที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก คาดว่าจะส่งมอบแนวทางใหม่แก่การฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีภาวะอัมพาตทั้งตัว โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และความผิดปกติทางระบบประสาทอื่นๆ ซึ่งจะช่วยปูทางความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับผู้คนจำนวนมากที่หวังฟื้นฟูการทำงานทางสรีรวิทยาของพวกเขา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts