วันพฤหัสบดี, กันยายน 26, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนกองทุนพิเศษ “แม่โขง-ล้านช้าง” ยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป

Related Posts

กองทุนพิเศษ “แม่โขง-ล้านช้าง” ยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป

กลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นับเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญที่เป็นทั้งเส้นทางการค้าที่สำคัญและเป็นแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มีการเพาะปลูกทำการเกษตรอย่างมากมาย อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปจึงมีความสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงและสร้างความยั่งยืนทางด้านอาหาร

@suebjarkkhao

กองทุนพิเศษ “แม่โขง-ล้านช้าง” ยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป กลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นับเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญที่เป็นทั้งเส้นทางการค้าที่สำคัญและเป็นแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มีการเพาะปลูกทำการเกษตรอย่างมากมาย อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปจึงมีความสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงและสร้างความยั่งยืนทางด้านอาหาร

♬ เสียงต้นฉบับ – Suebjarkkhao – Suebjarkkhao

อย่างไรก็ดี ยังคงมีช่องว่างในด้านเทคโนโลยี ทักษะฝีมือการผลิต และมาตรฐาน ดังนั้น การพัฒนาและเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนการพัฒนาของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงที่เชื่อมต่อกันทั้งพรมแดน วัฒนธรรม ประเพณี และประชาชนไปด้วยกัน

เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับ สถาบันอาหาร จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ สนับสนุนโดยกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายสมรรถนะห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูประหว่างประเทศในภูมิภาคแม่โขง–ล้านช้าง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปของไทย เพื่อเดินหน้าไปสู่เป้าหมายการเป็นครัวของโลกต่อไป

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. เปิดเผยว่า กิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมหลักของโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสมรรถนะด้านความมั่นคงทางอาหาร “Capacity Building on Food Security in Agro- Processing Industry among Mekong Countries and People’s Republic of China” สนับสนุนโดยกองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิกแม่โขง – ล้านช้าง ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย เพื่อสร้างโอกาสในการขยายเครือข่ายและเชื่อมโยงการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยไปสู่สากล อีกทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และแสดงบทบาทผู้นำของภาคอุตสาหกรรมไทยที่ตั้งเป้าหมายสู่ครัวโลก

สำหรับกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ ได้จัดให้มีการบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 7 หลักสูตรแบบบูรณาการ ประกอบด้วย ความเชื่อมโยงของภูมิภาคแม่โขง-ล้านช้าง ในด้านความมั่นคงทางอาหาร (MLC’s connection: Food security) ความมั่นคงทางอาหาร (Food security) เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร (Food Technology) นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคและการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารของจีน (China’s macro-economic development policy and food security) เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์อาหารแปรรูป (Packaging and Materials Technology) ความรู้ด้านการเงินและการบริหารด้านการเงินสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย (Simple financial management and accounting for small entrepreneurs) และการวิจัยและพัฒนาความมั่นคงทางอาหาร (Development R&D)

รวมทั้ง การจัดศึกษาประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูปของไทยทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดนครราชสีมา อาทิ ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้างฟ่างแห่งชาติ สวนเอเดน ออร์แกนิกส์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สำหรับ กรอบความร่วมมือแม่โขง–ล้านช้าง ทั้ง 6 ประเทศ ได้ย้ำถึงหลักการร่วมมือที่มีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ มีความเสมอภาค การทาบทามระหว่างกัน การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ การเคารพกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายสากล  สอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมายของแต่ละประเทศ ผลักดันความร่วมมือตามแนวทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนบ้านมิตรภาพ มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของประเทศสมาชิก การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนและการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2030

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts