วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
หน้าแรกท้องถิ่นคคบ. ฟาดหนัก! สั่งฟ้องผู้ประกอบการละเมิดสิทธิ มูลค่ากว่า 23 ล้านบาท

Related Posts

คคบ. ฟาดหนัก! สั่งฟ้องผู้ประกอบการละเมิดสิทธิ มูลค่ากว่า 23 ล้านบาท

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2567 เวลา 13.30 น. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวจิราพร สินธุไพร) ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มอบปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

(นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส) เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) ครั้งที่ 4/2567 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล จากการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) เดินหน้าบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น สั่งฟ้องผู้ประกอบการกว่า 52 ราย ฐานละเมิดสิทธิผู้บริโภค คดีใหญ่รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 23 ล้านบาท ครอบคลุมหลากหลายธุรกิจ ตั้งแต่อสังหาริมทรัพย์ สินค้าและบริการทั่วไปรายละเอียด ดังนี้ ทบทวนการดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจ 2 ราย

  1. ซื้อห้องชุดแล้วขอเลิกสัญญา บริษัทฯ ไม่คืนเงิน ผู้บริโภค 2 ราย ซื้อห้องชุดแล้วต้องการยกเลิกสัญญา ปฏิเสธการคืนเงินและริบเงินที่ผู้บริโภคชำระไปแล้วทั้งหมด ทั้งเงินจอง เงินทำสัญญา และเงินดาวน์ รวมเป็นเงิน 2,352,000 บาท มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งบังคับให้คืนเงิน 2,352,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย รวมถึงดำเนินการให้ผู้บริโภครายอื่นที่ได้รับความเสียหายที่มีลักษณะเดียวกัน
  2. สั่งซื้อเครื่องยนต์ใช้แล้วไม่ตรงกับที่สั่ง ผู้บริโภคสั่งซื้อเครื่องยนต์ใช้แล้วจากเฟซบุ๊กแห่งหนึ่ง และชำระเงิน 30,000 บาท ต่อมาผู้ร้องพบว่าเครื่องยนต์ดังกล่าวไม่ตรงกับที่ใช้งานจึงแจ้งยกเลิกสัญญา และผู้ขายตกลงคืนเงินให้ หลังจากนั้นปรากฏว่าผู้ขายไม่คืนเงินให้และไม่สามารถติดต่อผู้ขายได้ มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งบังคับให้คืนเงิน 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ 14 ราย
  3. ซื้อห้องชุด บริษัทฯ ก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา ผู้บริโภคทำสัญญาจะซื้อจะขาย ห้องชุดกับบริษัทฯ แต่บริษัทฯ ดำเนินการก่อสร้างห้องชุดไม่แล้วเสร็จตามสัญญา ผู้ร้องจึงมีความประสงค์ขอยกเลิกสัญญาและเงินทั้งหมดคืน มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งบังคับให้คืนเงิน 1,194,375 บาทพร้อมดอกเบี้ย
  4. ทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างบ้านพักอาศัย ผู้บริโภคได้ทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างบ้านกับผู้รับจ้าง จำนวน 2,400,000 บาท แต่ผู้รับจ้างก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญา ต่อมาได้จ้างบริษัทฯ ทำการประเมินราคาส่วนที่เหลือและจะต้องดำเนินการต่อให้แล้วเสร็จ เป็นเงิน 800,000 บาท ผู้ร้องจึงมีความประสงค์ให้ผู้รับจ้างเดิมคืนเงินจำนวนดังกล่าว มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งบังคับให้คืนเงิน 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
  5. ว่าจ้างก่อสร้างรั้ว ผู้รับจ้างก่อสร้างรั้วผิดสัญญา โดยรั้วที่สร้างล้มซ้ำซาก ผู้เสียหาย จึงจ้างผู้อื่นซ่อมแซมและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม คณะกรรมการมีมติให้ผู้รับจ้างชดใช้ค่าเสียหาย จำนวน 20,800 บาท พร้อมดอกเบี้ย เนื่องจากผู้รับจ้างไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตามที่ตกลงกันไว้ ทั้งที่ไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งผู้รับจ้างให้คืนเงิน 20,800 บาท พร้อมดอกเบี้ย
  6. ซื้อห้องชุด บริษัทฯ ก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา ผู้บริโภคทำสัญญาจะซื้อ จะขายห้องชุดกับบริษัทฯ ชำระเงินจอง เงินสัญญา และเงินดาวน์ รวมเป็นเงิน 766,200 บาท แต่บริษัทฯ ดำเนินการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญาและไม่คืนเงินให้ผู้บริโภค จึงเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งบังคับให้คืนเงิน 766,200 บาท พร้อมดอกเบี้ย
  7. จ้างเหมาก่อสร้างบ้าน สร้างไม่เสร็จตามสัญญา ผู้บริโภคทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างบ้าน จำนวน 2 หลัง ได้ชำระเงินไปแล้ว จำนวน 9,900,000 บาท ต่อมาบริษัทฯ ไม่ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จและทิ้งงานไป ได้พยายามติดต่อบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง แต่เพิกเฉย มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งบังคับให้คืนเงิน 5,471,047.50 บาท พร้อมดอกเบี้ย และชดใช้ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาก่อสร้างส่วนที่คงค้าง จำนวน 20,000 บาท รวมเป็นเงิน 5,491,047.50 บาท
  8. ซื้อห้องชุดไม่เป็นไปตามแบบที่โฆษณาขาย ผู้บริโภคทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับบริษัทฯ ชำระเงินจอง เงินสัญญา และเงินดาวน์ รวมเป็นเงิน 832,190 บาท ต่อมาได้เข้าตรวจสอบห้องชุดพบว่า ภายในห้องนอนมีคานเสาขนาดใหญ่เป็นโครงสร้างอาคารที่สร้างล้ำเข้าไปในบริเวณห้องนอน ไม่เป็นไปตามที่โฆษณาขายและไม่มีการแจ้งล่วงหน้า การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งบังคับให้คืนเงิน 832,190 บาท พร้อมดอกเบี้ย
  9. ซื้อห้องชุดไม่เป็นไปตามแบบแปลนที่กำหนด กรณีผู้ร้องได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับบริษัทฯ โดยได้ชำระเงินให้กับบริษัทฯ แล้วเป็นเงินจำนวน 68,606 บาท ต่อมาปรากฏว่าห้องชุดดังกล่าวสร้างผิดแบบแปลนที่กำหนดในสัญญา ผู้ร้องจึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้บริษัทฯ คืนเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมด มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งบังคับให้คืนเงิน 68,606 บาท พร้อมดอกเบี้ย
  10. ซื้อห้องชุดแล้วขอเลิกสัญญา บริษัทฯ ไม่คืนเงิน ผู้บริโภคทำสัญญาจะซื้อจะขาย ห้องชุดกับบริษัทฯ ชำระเงินจอง เงินสัญญา และเงินดาวน์ รวมเป็นเงิน 261,000 บาท ต่อมาสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อ จึงขอยกเลิกสัญญาและขอเงินคืน แต่บริษัทฯ ไม่คืนเงิน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งบังคับให้คืนเงิน 261,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
  11. ว่าจ้างตกแต่งภายใน ไม่เสร็จตามสัญญา ผู้บริโภคได้ทำสัญญาว่าจ้างตกแต่งภายในราคา 1,022,057.72 บาท ตกลงแบ่งชำระจำนวน 4 งวด ได้ชำระเงินแล้วงวดที่ 1 และงวดที่ 2 เป็นเงินจำนวน664,337.52 บาท ปรากฏว่าผู้รับจ้างไม่เข้าดำเนินการให้แล้วเสร็จตามสัญญา ทำให้ได้รับความเสียหาย จึงขอความเป็นธรรม มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งบังคับให้คืนเงิน 397,724.52 บาท พร้อมดอกเบี้ย และชดใช้ค่าส่วนต่าง จำนวน 102,890028 บาท ค่าเสียหายจากการปรับเปลี่ยนดีไซน์และวัสดุ จำนวน 43,442 บาท รวมเป็นเงิน 544,056.80 บาท
  12. ซื้อห้องชุดแล้วขอเลิกสัญญา บริษัทฯ ไม่คืนเงิน ผู้บริโภคทำสัญญาจะซื้อจะขาย ห้องชุดกับบริษัทฯ ชำระเงินจอง เงินสัญญา และเงินดาวน์ รวมเป็นเงิน 100,000 บาท ต่อมาสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อ จึงขอยกเลิกสัญญาและขอเงินคืน แต่บริษัทฯ ไม่คืนเงิน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งบังคับให้คืนเงิน 95,100 บาท พร้อมดอกเบี้ย
  13. ว่าจ้างเจาะเสาเข็ม ไม่เสร็จตามสัญญา ผู้บริโภคได้ว่าจ้างเจาะเสาเข็มจำนวน 33 ต้นในราคา 350,000 บาท ชำระเงินไปแล้ว 262,500 บาท แต่บริษัทฯ ดำเนินการล่าช้ากว่ากำหนดและเจาะเสาเข็มได้ 20 ต้น จากนั้นหยุดการทำงาน จึงได้ติดต่อบริษัทฯ เพื่อขอคืนเงิน แต่เพิกเฉย จึงขอความเป็นธรรม มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งบังคับให้คืนเงิน 62,000.02 บาท พร้อมดอกเบี้ย
  14. ทำสัญญาว่าจ้างต่อเติมบ้าน พบปัญหา ผู้บริโภคทำสัญญาว่าจ้าง ต่อเติมบ้าน ในราคา 360,000 บาท กำหนดแล้วเสร็จภายใน 45 วัน ภายหลังรับมอบงานพบปัญหา 5 รายการ จึงแจ้งให้ผู้รับจ้างดำเนินการแก้ไข แต่ไม่หายขาดยังคงเกิดปัญหาเช่นเดิม จึงมีความประสงค์เรียกร้องค่าเสียหาย มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งบังคับให้คืนเงิน 145,449.41 บาท พร้อมดอกเบี้ย
  15. ว่าจ้างปรับระดับพื้นด้วยปูนและระบบกันรั่วซึม แต่แก้ไขไม่ได้ ผู้บริโภคว่าจ้างบริษัทรับเหมาปรับระดับพื้นและทำระบบกันรั่วซึมให้นิติบุคคลอาคารชุด แต่หลังจากทำงานเสร็จแล้ว หลังคาดาดฟ้ายังคงรั่ว ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อาศัย บริษัทไม่ยอมแก้ไขและนิติบุคคลต้องจ้างคนอื่นมาแก้ไข จึงต้องการให้บริษัทชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งบังคับให้คืนเงิน 90,860 บาท พร้อมดอกเบี้ย
  16. ซื้อห้องชุดแล้วขอเลิกสัญญา บริษัทฯ ไม่คืนเงิน ผู้บริโภคทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับบริษัทฯ ชำระเงินจอง เงินสัญญา และเงินดาวน์ รวมเป็นเงิน 556,260 บาท ต่อมาสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อ จึงขอยกเลิกสัญญาและขอเงินคืน แต่บริษัทฯ ไม่คืนเงิน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งบังคับให้คืนเงิน 396,156 บาท พร้อมดอกเบี้ย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts