วันอังคาร, พฤษภาคม 7, 2024
หน้าแรกสืบเศรษฐกิจซาอุฯ NEWSซาอุฯ ทุ่มการลงทุนการเพาะปลูกในโรงเรือน 4 พันล้าน ริยาล

Related Posts

ซาอุฯ ทุ่มการลงทุนการเพาะปลูกในโรงเรือน 4 พันล้าน ริยาล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม น้ำ และการเกษตร ประธานคณะกรรมการกองทุนพัฒนาการเกษตร นาย อับดุลเราะฮฺมาน บิน มุฮฺซิน อัล ฟัฏดี้ (Abdul Rahman bin Abdul Mohsen Al-Fadhli) อนุมัติแผนการขยายในภาคทรัพยากรพืชและโรงเรือน โดยคาดว่าจะมีการลงทุนใหม่ มูลค่า 4 พันล้านริยาล จนถึงปี 2025 โดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบริษัทเอกชน โดยมุ่งเพิ่มศักยภาพการผลิตโดยสนับสนุนการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในภาคการเกษตร

รัฐมนตรี กระทรวงสิ่งแวดล้อมฯ ยืนยันว่าแผนการขยายที่ได้รับอนุมัติระหว่างช่วง (2023-2025) จะช่วยเพิ่มผลผลิตประมาณ 430,000 ตัน ทำให้กำลังการผลิตโดยรวมของโรงเรือนมีมากกว่าหนึ่งล้านตันต่อปี ด้วยการเพิ่มการลงทุนใหม่ในภาคทรัพยากรพืชและโรงเรือนที่มีมูลค่าเกิน 4 พันล้านริยาล (ราวๆ 40,000 ล้านบาท) จนถึงปี 2025 โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรลุความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ เพิ่มการมีส่วนร่วมในท้องถิ่น และจัดหาโอกาสในการทำงานตามวัตถุประสงค์ของวิสัยทัศน์ของซาอุดีอาระเบีย 2030

รัฐมนตรี กระทรวงสิ่งแวดล้อมฯ อธิบายว่าแผนการขยายดังกล่าวเป็นการขยายการสนับสนุนอย่างไม่มีขีดจำกัดที่ภาคเกษตรกรรมในซาอุดีอาระเบียได้รับจาก กษัตริย์ ซันมาน บิน อับดุลอาซีซ และ มงกุฎราชกุมาร เจ้าชาย มูฮัมหมัด บิน ซัลมาน นายกรัฐมนตรี มูลค่าของเงินกู้ที่กองทุนพัฒนาการเกษตรมอบให้กับภาคการผลิตในช่วงปี 2022 เกินกว่า 5 พันล้านริยาล (ราวๆ 50,000 ล้านบาท) และโครงการโรงเรือนเป็นหนึ่งในภาคส่วนหลักที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนหลักที่สำคัญของความมั่นคงทางอาหารในประเทศ

เป็นที่น่าสังเกตว่าการเตรียมแผนการขยายโรงเรือนโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในข่วงเวลาอันเริ่มต้นที่ซึ่งการเกษตรประเภทนี้ถูกนำมาใช้ในประเทศมากว่า 30 ปี และการเกษตรในโรงเรือนได้เห็นการพัฒนาที่โดดเด่นในด้านเทคนิค การผลิต และการป้องกันทั้งหมด เนื่องจากโรงเรือนช่วยในการผลิตพืชผลได้ตรงเวลาและขยายการผลิตได้ทุกฤดูกาลและเพียงพอ เนื่องจากถือเป็นปัจจัยหลักสำหรับความสำเร็จของการผลิตเกษตรเฉพาะอย่าง เช่น เกษตรอินทรีย์ และป้องกันผลกระทบจากสภาพอากาศที่แตกต่างกัน เช่น อากาศที่ร้อนสูงและอากาศที่หนาวจัด และ ฝนลม และจำกัดการแพร่กระจายของศัตรูพืช

ผลการวิจัยและการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ดำเนินการโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อม น้ำ และการเกษตร แสดงให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในภาคการเกษตรและโรงเรือนช่วยประหยัดน้ำชลประทานได้มากถึง 60% นอกเหนือจากการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มผลกำไรของเกษตรกร

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts