วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนG7 สะท้อนบทบาทจีนในเวทีโลก ผ่านความแข็งแกร่งของ “เงินหยวน”

Related Posts

G7 สะท้อนบทบาทจีนในเวทีโลก ผ่านความแข็งแกร่งของ “เงินหยวน”

การประชุม G7 ประจำปี 2566 ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2566 ให้น้ำหนักของเนื้อหาการประชุมไปที่ประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ สะท้อนว่าประเด็นภูมิรัฐศาสตร์โลกจะยังคงเป็นชนวนสำคัญที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเศรษฐกิจโลกในระยะกลาง-ระยะยาว มาตรการกดดันทางเศรษฐกิจเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการแบ่งห่วงโซ่การผลิตโลกชัดขึ้น เช่นเดียวกับการชำระเงินเพื่อการค้าระหว่างประเทศ ที่ในระยะข้างหน้าสกุลเงินหยวนจะมีบทบาทมากขึ้นในการเป็นสกุลเงินภูมิภาค

ผลพวงของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลให้มีสัญญาณหันมาใช้เงินสกุลท้องถิ่นเพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้เงินดอลลาร์ฯ โดยเฉพาะการผลักดันเงินหยวนเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการระหว่างประเทศมากขึ้น เริ่มจากการใช้ในกลุ่ม BRICS นำโดยรัสเซียที่หลังจากถูกชาติตะวันตกคว่ำบาตรได้หันมาใช้เงินหยวนทำการค้ากับจีนจนทำให้เงินหยวนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จากรายงานของ SWIFT ระบุว่าในระยะเวลาเพียงปีเดียวเงินหยวนได้ขยับขึ้นมามีสัดส่วนถึง 4.5% ของการชำระเงินเพื่อการค้าและบริการระหว่างประเทศในโลก (ก่อนสงครามรัสเซีย-ยูเครนเงินหยวนมีสัดส่วนที่ 1.9%) แม้สกุลเงินดอลลาร์ฯ จะยังเป็นสกุลเงินที่มีสัดส่วนการใช้ในโลกสูงที่สุดถึง 84% แต่การใช้เงินหยวนก็มีสัดส่วนการใช้มากขึ้นจากการที่จีนเองเร่งทำความตกลงการค้าในรูปเงินหยวนกับอีกหลายประเทศ

การเติบโตของกลุ่มเศรษฐกิจ Global South กำลังพัฒนาในซีกโลกใต้เป็นที่หมายตาของทั่วโลก กลุ่มนี้มีทั้งประเทศเกิดใหม่ในกลุ่ม BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้) กลุ่มประเทศอเมริกาใต้ กลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกา รวมถึงอาเซียน ซึ่งประเทศเหล่านี้มีทั้งตลาดขนาดใหญ่และเศรษฐกิจที่ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีในระยะยาว โดยจีนเข้าไปกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจผ่านโครงการ BRI มากว่าทศวรรษ นั่นทำให้สกุลเงินหยวนเริ่มเป็นสกุลเงินท้องถิ่นธุรกิจที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางการพึ่งพาสินค้าและบริการ รวมถึงการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างกัน

นอกจากนี้ ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 42 ที่ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 9-11 พฤษภาคม 2566 ยังมีมติให้สมาชิกใช้สกุลเงินท้องถิ่นเพื่อความสะดวกในการชำระเงินข้ามพรมแดนที่อยู่ในระยะเริ่มต้น นั่นหมายความว่าในระยะข้างหน้า หากสกุลเงินหยวนเริ่มเป็นสกุลเงินท้องถิ่นธุรกิจที่มีการค้าขายกับจีน ทุกภูมิภาคอาจจะต้องใช้สกุลเงินหยวนในการชำระสินค้าและบริการมากขึ้น รวมถึงหลายประเทศในกลุ่ม G7

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts