“แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง” ไหลผ่าน 6 ประเทศ ด้วยความยาวเกือบ 5,000 กิโลเมตร ผ่านภูเขาและที่ราบสูงในประเทศจีน ในชื่อ “แม่น้ำล้านช้าง” ก่อนเรียกขานกันว่า “แม่น้ำโขง” เมื่อไหลเข้าสู่ประเทศเมียนมาร์ ลาว ไทย กัมพูชา และไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ 795,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 496.875 ล้านไร่ มหานทีสายเดียวแต่มีสองชื่อนี้ จึงกลายเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสำคัญในคาบสมุทรอินโดจีน ภายใต้ความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง หรือ เรียกชื่อย่อว่า LMC (Lancang-Mekong Cooperation)
ความร่วมมือของแม่น้ำล้านช้าง และ แม่น้ำโขง หรือ LMC เป็นเวทีความร่วมมือระดับอนุภูมิภาครูปแบบใหม่ที่จีนกับ 5 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงร่วมก่อตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือฉันมิตรระหว่าง 6 ประเทศ ผลักดันการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมระดับภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาระหว่างกัน ส่งเสริมการสร้างสรรค์ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของอาเซียนและภายในภูมิภาค โดยทั้ง 6 ประเทศต่างร่วมแรงร่วมใจกันสร้างสรรค์ประชาคมประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงซึ่งมีชะตาชีวิตร่วมกัน
LMC กลายเป็น “แบรนด์เนม” ของประชาคมอาเซียนซึ่งมีชะตาชีวิตร่วมกัน อีกทั้งเป็นเวทีสำคัญของการสร้างสรรค์โครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เชื่อมโยง 6 ประเทศด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เติมเต็มความอุดมสมบูรณ์ให้กับไร่นาด้วยตะกอนดินที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ ป่าไม้และพื้นที่ชุ่มน้ำก็เป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญให้กับการอุตสาหกรรม ช่วยกรองน้ำและฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ รวมถึงการปกป้องเมืองต่างๆ จากภัยธรรมชาติอย่างอุทกภัยและวาตภัย ผู้คนประมาณร้อยละ 80 จากทั้งหมด 300 ล้านคนในภูมิภาคนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยระบบธรรมชาตินี้โดยตรงในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร วิถีชีวิต และประเพณีวัฒนธรรม
ในทุกๆ ปี 6 ประเทศจะมีการประชุมหารือเชิงลึกเกี่ยวกับการบรรลุสันติภาพและการพัฒนา ผลประโยชน์ร่วมกัน ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย และการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนในภูมิภาค รวมถึงการมีส่วนร่วมสรรสร้างประชาคม LMC ที่มีอนาคตร่วมกันอันใกล้ชิดยิ่ง ซึ่งต่างเห็นพ้องว่าผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมได้ถูกส่งมอบแก่กลุ่มประเทศที่เข้าร่วมทั้ง 6 ประเทศแล้ว นับตั้งแต่มีการก่อตั้งกรอบความร่วมมือ และกรอบความร่วมมือนี้ได้ส่งเสริมมิตรภาพระหว่างผู้คนใน 6 ประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การดำเนินความร่วมมือระหว่าง 6 ประเทศในด้านต่างๆ เช่น การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การเกษตร การลดความยากจน ความมั่นคง และการปกป้องสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างมิตรภาพและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และบอกเล่าเรื่องราวของประชาคม LMC
นับตั้งแต่กลไก MLC ได้รับการจัดตั้ง ทุกประเทศได้ส่งเสริมให้ MLC ผลักดันความร่วมมือในการปกป้อง บริหาร ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนและถือเป็นหนึ่งในเนื้อหาความร่วมมือหลักระหว่าง 6 ประเทศสมาชิก ในกระบวนการเข้าร่วม MLC รวมถึงการเปิดโทรศัพท์สายด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบนแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง
การประชุม MLC หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 เน้นการฟื้นฟูและการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านการผลักดันการเชื่อมโยงการค้า เศรษฐกิจดิจิทัล การผลิต ห่วงโซ่อุปทาน อำนวยความสะดวกให้แก่การแลกเปลี่ยนทางการค้า การรับมือภัยธรรมชาติ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เสริมสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุม การป้องกันและรับมือโรคระบาด ทักษะความสามารถของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผลักดันความร่วมมือด้านแพทย์แผนโบราณ การพบปะสังสรรค์ผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรม การท่องเที่ยว สื่อสาร การกีฬา การศึกษาและการพัฒนาบุคลากร
ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคและโลกมีความผันผวนซับซ้อน ทั้ง 6 ประเทศได้ย้ำถึงหลักการร่วมมือที่มีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ มีความเสมอภาค การทาบทามระหว่างกัน การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ การเคารพกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายสากล สอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมายของแต่ละประเทศ ผลักดันความร่วมมือตามแนวทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันเพื่อนบ้านมิตรภาพ มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของประเทศสมาชิก การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนและการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2030
MLC จึงเป็นสายสัมพันธ์ที่คนในภูมิภาคนี้ เข้าใจ เข้าถึง ในความสามัคคีและสันติภาพ สามารถพูดคุยกันเมื่อเกิดปัญหาหรือสิ่งที่เป็นความเห็นต่าง โดยมิตกเป็นเครื่องมือของใครจากนอกภูมิภาคเข้ามาบอนไซโดยไม่เข้าในใจในบริบท วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และมิได้มีความปรารถนาดีอย่างแท้จริง