วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนสถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ ก้าวใหม่สำรวจอวกาศเชิงลึกไทย–จีน

Related Posts

สถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ ก้าวใหม่สำรวจอวกาศเชิงลึกไทย–จีน

ไทยเพิ่งประสบความสำเร็จส่งดาวเทียม THEOS-2 ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 9 ต.ค. ที่ท่าอวกาศยานเฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้  นับเป็นภารกิจครั้งประวัติศาสตร์  ถือเป็นดาวเทียมสำรวจโลกรายละเอียดสูง (Very High Resolution) สามารถเก็บภาพรายละเอียดสูงถึง 50 เซนติเมตรต่อพิกเซล ดีที่สุดในกลุ่มของประเทศอาเซียน เทียบชั้นกับดาวเทียมรายละเอียดสูงในกลุ่มผู้นำโลก

ล่าสุด สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. ลงนามความร่วมมือกับ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศเชิงลึก (DSEL) องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) ภายใต้โครงการสถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ (International Lunar Research Station) เพื่อร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบอุปกรณ์ปฏิบัติภารกิจอวกาศ ดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์สนับสนุนอื่น ๆ ส่งเสริมให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรไทยมีโอกาสพัฒนาขีดความสามารถ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะเชิงวิจัย ด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์ และวิศวกรรมดาราศาสตร์เชิงลึก ครอบคลุมถึงการสำรวจอวกาศ การพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง

นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรไทย นำโดย สดร. และ ม.มหิดล ร่วมกำหนดประเด็นในการสำรวจทรัพยากรของดวงจันทร์ โดยนำเสนออุปกรณ์ที่รองรับภารกิจหลักของอวกาศยานฉางเอ๋อ 7 เช่น อุปกรณ์สำรวจสภาพอวกาศระหว่างโลกและดวงจันทร์ ตรวจวัดรังสีคอสมิก ติดตามผลกระทบต่อโลก ซึ่งผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมฝ่ายจีนแล้ว จะเป็น 1 ใน 7 อุปกรณ์ที่จะติดตั้งไปกับยาน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเชิงวิศวกรรมร่วมกัน

จีนมีแผนจะส่งไปสำรวจดวงจันทร์ภายในปี ค.ศ. 2026 สภาพอวกาศ และอนุภาคในห้วงอวกาศ เป็นปัจจัยที่อาจกระทบต่อกิจกรรมของมนุษย์ปัจจุบัน เช่น รบกวนระบบดาวเทียม การสื่อสาร การผลิตพลังงานของเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบไฟฟ้าแรงสูง การศึกษาจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาระบบแจ้งเตือนด้านสภาพอวกาศได้แม่นยำมากขึ้น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts