วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ ร่วมกันแบ่งปันอนาคตที่สดใสระหว่างจีนและไทย โดย หาน จื้อเฉียง

Related Posts

ร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ ร่วมกันแบ่งปันอนาคตที่สดใสระหว่างจีนและไทย โดย หาน จื้อเฉียง

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566ที่ผ่านมา สำนักงานสารนิเทศของคณะมนตรีรัฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีนได้เผยแพร่สมุดปกขาวเรื่อง “ร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ: ความคิดริเริ่มและการดำเนินการของจีน” ได้อธิบายภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ความหมายและเส้นทางสู่ความสำเร็จตลอดจนความสำคัญระดับโลกของแนวความคิดของการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ  และแสดงให้เห็นถึงการดำเนินการอย่างแข็งขันและบทบาทสำคัญของจีนในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ  เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ส่งเสริมค่านิยมร่วมกันของมวลมนุษยชาติ และร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ และสร้างโลกที่ดีขึ้น

ปีนี้เป็นปีครบรอบ 10 ปีที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้เสนอแนวความคิดการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ภายใต้การวางแผน การผลักดันของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเอง การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติมีการพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่องจากแนวความคิดสู่การปฏิบัติจริงและได้บรรลุผลสำเร็จอย่างงดงามในระดับโลก ในแง่ของแนวความคิด ได้ค่อยๆ พัฒนาจนกลายเป็นทฤษฎีที่เป็นระบบอย่างเป็นวิทยาศาสตร์โดยมีเป้าหมายโดยรวมคือ “โลกห้าประการ” ซึ่งประกอบด้วยโลกแห่งสันติภาพที่ยั่งยืน ความมั่นคงปลอดภัยรอบด้าน ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ความเปิดกว้างและความครอบคลุม ความสะอาดและความสวยงาม โดยมีการแสวงหาคุณค่าร่วมกันของมวลมนุษยชาติเป็นค่านิยมร่วมกันและยึดการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบใหม่เป็นเส้นทางพื้นฐานและยึดการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เป็นเวทีแห่งการปฏิบัติและมีข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลก ข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงระดับโลกและข้อริเริ่มว่าด้วยอารยธรรมระดับโลกเป็นเนื้อหาสาระสำคัญ

ในแง่ของการปฏิบัติ จีนกับอีกหลายสิบประเทศได้ร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันในรูปแบบที่แตกต่างกันตั้งแต่ระดับทวิภาคีไปจนถึงพหุภาคี จากระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับโลก ข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลก ข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงระดับโลกได้รับการสนับสนุนจาก 100 กว่าประเทศอย่างชัดเจน ข้อริเริ่มว่าด้วยอารยธรรมระดับโลกเพิ่งมีการนำเสนอไม่นานก็ได้รับการตอบรับเชิงบวกจากหลายประเทศ ในด้านความท้าทายสำคัญที่สังคมมนุษย์กำลังเผชิญอยู่ไม่ว่าเรื่องสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ก็ได้เสนอแบบแผนของจีนในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน ซึ่งเป็นการอุทิศภูมิปัญญาเพื่อรับมือกับความท้าทายระดับโลกอย่างเหมาะสม และเป็นการปรับปรุงธรรมาภิบาลระดับโลกให้มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ฉันทามติระหว่างประเทศเกี่ยวกับการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาตินับวันพัฒนาและเติบโตมากขึ้น ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติได้ถูกบันทึกลงในมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นเวลาหกปีติดต่อกัน และได้ถูกบรรจุอยู่ในมติหรือแถลงการณ์ร่วมของกลไกพหุภาคี เช่น องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ และ BRICS หลายครั้ง โดยได้รับความเข้าใจและการสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติสอดคล้องกับกระแสประวัติศาสตร์ ตอบคำถามแห่งยุคสมัย สะท้อนความปรารถนาของประชาชนทุกประเทศในการแสวงหาสันติภาพ ความเป็นธรรม และความก้าวหน้า และรวบรวมผู้มีส่วนร่วมที่มีจำนวนมากที่สุดในการสร้างโลกที่ดีกว่าจนกลายเป็นธงนำที่มีความชัดเจนที่สุดที่นำกระแสแห่งยุคสมัยและทิศทางของความก้าวหน้าของมนุษยชาติซึ่งมีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงต่อการส่งเสริมความสามัคคีและความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสร้างอนาคตที่ดีขึ้นสำหรับมนุษยชาติ

@suebjarkkhao

ร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ ร่วมกันแบ่งปันอนาคตที่สดใสระหว่างจีนและไทย โดย หาน จื้อเฉียง

♬ เสียงต้นฉบับ – Suebjarkkhao – Suebjarkkhao

ปีนี้เป็นปีที่ครบรอบ 10 ปีของการร่วมกันสร้างข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ซึ่งเป็นเวทีเชิงปฏิบัติสำหรับการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ จนเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 จีนได้ลงนามในเอกสารความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กับประเทศต่างๆ มากกว่าสามในสี่ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก และองค์กรระหว่างประเทศมากกว่า 30 องค์กร จัดตั้งกลไกความร่วมมือทวิภาคีมากกว่า 90 กลไก และจัดตั้งโครงการความร่วมมือมากกว่า 3,000 โครงการ ซึ่งกระตุ้นการลงทุนมูลค่าล้านล้านดอลลาร์และมีส่วนช่วยให้ผู้คนเกือบ 40 ล้านคนหลุดพ้นจากความยากจน ปริมาณการค้าสินค้าสะสมระหว่างจีนและประเทศต่างๆ ตามแนว “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้ขยายตัวจาก 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเป็น 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี การลงทุนแบบสองทางสะสมมีมูลค่าเกิน 2.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ยังได้สร้างโครงข่ายการเชื่อมต่อกันแบบ “หกระเบียงหกเส้นทาง หลายประเทศ และหลายท่าเรือ”

การประชุมสุดยอดความร่วมมือระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ครั้งที่ 3 จะจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งในเดือนตุลาคมปีนี้ ณ ขณะนี้ ตัวแทนจากประเทศต่างๆ กว่า 130 ประเทศได้ยืนยันการเข้าร่วมประชุม ยังมีตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศจำนวนมากยืนยันที่จะเข้าร่วมประชุม จีนจะใช้การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดความร่วมมือระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ครั้งที่ 3 นี้ เป็นโอกาสที่รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเพื่อร่วมกันผลักดันการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และเพื่อชี้แนะการพัฒนา “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่มีคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่องต่อไป

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ประสบความสำเร็จในการเยือนประเทศไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว จีนและไทยบรรลุฉันทามติที่สำคัญในการสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งเป็นการวาดพิมพ์เขียวและชี้ทิศทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในอนาคต เมื่อมองไปในอนาคตข้างหน้า จีนยินดีที่จะเสริมสร้างความสามัคคีกับรัฐบาลไทยชุดใหม่ แสดงบทบาทมากขึ้นเพื่อความก้าวหน้าและกระบวนการความทันสมัยของมนุษยชาติ ตลอดจนร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติบนพื้นฐานของการสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกัน 

ประการแรกคือ เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจทางการเมืองซึ่งกันและกันและร่วมกันทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังในการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างประเทศและในระดับภูมิภาค จีนยินดีที่จะกระชับการเยี่ยมเยือนกันของผู้นำระดับสูงให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เสริมสร้างการสื่อสารเชิงยุทธศาสตร์กับประเทศไทย เคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของกันและกัน เคารพผลประโยชน์หลักและประเด็นสนใจหลักของกันและกัน และสนับสนุนซึ่งกันและกันในการดำเนินตามเส้นทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพของตนเอง ให้มีการประสานงานและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดภายใต้ความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง ความร่วมมือจีน-อาเซียน รวมถึงกรอบความร่วมมืออื่นๆ และทำงานร่วมกันเพื่อรักษาเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค ให้มีการประสานงานเวทีความร่วมมือ เช่น เอเปค สหประชาชาติ เป็นต้น อย่างใกล้ชิด เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมกันสนับสนุนลัทธิพหุภาคีและระเบียบระหว่างประเทศที่ยุติธรรมและความเป็นธรรม ร่วมกันปกป้องคุณค่าร่วมกันของมวลมนุษยชาติ ยึดมั่นในเส้นทางที่ถูกต้องแห่งสันติภาพ มิตรภาพ และความร่วมมือและปฏิเสธความคิดแบบผลรวมเป็นศูนย์ ปฏิเสธความคิดแบบสงครามเย็น 

ประการที่สองคือ การเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงเพื่ออุทิศภูมิปัญญาและกำลังให้กับโลกที่มีความมั่นคงปลอดภัยรอบด้าน จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับไทยเพื่อส่งเสริมการดำเนินการตามความคิดริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงระดับโลก กระชับความร่วมมือด้านการทหาร การบังคับใช้กฎหมาย และด้านอื่น ๆ ส่งเสริมให้มีการประสานงาน การเจรจาและความร่วมมือในด้านต่างๆ ให้มีความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นในการรักษาความมั่นคงทั้งแบบดั้งเดิมและที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม และเร่งการปรับปรุงความปลอดภัยทางชีวภาพ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ความปลอดภัยของข้อมูล ความปลอดภัยปัญญาประดิษฐ์ ความมั่นคงทางอุดมการณ์ ฯลฯ เพื่อร่วมกันป้องกันความเสี่ยง สนับสนุนแนวคิดด้านความปลอดภัยร่วมกัน ที่มีความครอบคลุม ร่วมมือ และยั่งยืน ยึดมั่นในการแก้ไขประเด็นปัญหาร้อนในภูมิภาคผ่านการเจรจาและการปรึกษาหารือ ให้ความสนใจต่อข้อกังวลด้านความปลอดภัยที่ชอบด้วยกฎหมายของกันและกัน และต่อต้านการขยายพันธมิตรทางทหารและการบีบรัดพื้นที่ความปลอดภัยของประเทศอื่นตามอำเภอใจ 

ประการที่สามคือ การเสริมสร้างความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมที่สามารถปฏิบัติได้จริงและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับไทยเพื่อดำเนินการตามข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลก เสริมสร้างการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนา และสร้างรูปแบบใหม่ของความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันในระดับสูง เดินหน้าส่งเสริมการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่มีคุณภาพสูง เร่งก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย และสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งผ่านคาบสมุทรอินโดจีน ใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบของความร่วมมือในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีการสื่อสาร  5G เพิ่มความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และสร้างไฮไลท์ใหม่ในเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจดิจิทัล ใช้เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์ เช่น RCEP และเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน เพื่อเสริมสร้างร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และร่วมกันผลักดันกระบวนการบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค เพื่อเป็นการชี้แนะและรักษาทิศทางที่ถูกต้องของโลกาภิวัตน์และต่อต้านการแยกตัวและขาดการเชื่อมต่อ คัดค้านการสร้าง “กติกาเพื่อปกป้องสาขาอุตสาหกรรมของตน” ต่อต้านลัทธิกีดกันทางการค้าและการคว่ำบาตรฝ่ายเดียว และส่งเสริมการสร้างกฎระเบียบทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศที่ยุติธรรม ความเป็นธรรม และโปร่งใส

ประการที่สี่คือ การเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรม และส่งเสริมการเปิดกว้างและมีความครอบคลุมต่อไป จีนยินดีทำงานร่วมกับไทยเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากรและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างทั้งสองฝ่าย และขยายความร่วมมือในด้านวัฒนธรรม ศิลปะ และการศึกษา จะพยายามผลักดันการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งสองฝ่ายอย่างรวดเร็ว และรักษาสถานะของจีนในฐานะแหล่งนักท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดของไทย เพื่อให้ปรับตัวก้าวทันโลกทางไซเปอร์ เราควรเพิ่มพูนและขยายช่องทางใหม่ตลอดจนวิธีใหม่ในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและข้อมูลระหว่างทั้งสองประเทศ กระชับการแลกเปลี่ยนระหว่างเยาวชนของทั้งสองประเทศและส่งต่อมิตรภาพจีน-ไทยจากรุ่นสู่รุ่น ดำเนินการตามข้อริเริ่มว่าด้วยอารยธรรมระดับโลก ร่วมกันส่งเสริมประเพณีตะวันออกและค่านิยมของเอเชีย สนับสนุนแนวความคิดทางอารยธรรมที่มีความเท่าเทียม การเรียนรู้ร่วมกัน การสนทนา และการยอมรับกันและกัน ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและกลมกลืนของอารยธรรมที่แตกต่างกัน และต่อต้านวาทกรรมที่ว่าด้วยความเป็นปรปักษ์ของ “ประชาธิปไตยกับอำนาจนิยม” และคัดค้านการนำค่านิยมและแบบแผนของตนเองไปบังคับใช้กับผู้อื่น

ประการที่ห้าคือ การเสริมสร้างการดำเนินการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและร่วมกันสร้างโลกที่สะอาดและสวยงาม จีนชื่นชมโมเดลเศรษฐกิจสีเขียว หมุนเวียน ชีวภาพ หรือ BCG Model ที่เสนอโดยไทย จีนยินดีที่จะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนกับประเทศไทยในด้านเศรษฐกิจสีเขียวและคาร์บอนต่ำ การประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รักษาไว้ซึ่งความร่วมมือในห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่คุณค่า เช่น ยานยนต์พลังงานใหม่และพลังงานแสงอาทิตย์ และส่งเสริมโครงการที่ใช้เทคโนโลยีสีเขียวและอุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งจะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลง ยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวในประเทศจีนและไทย และร่วมกันส่งเสริมแนวปฏิบัติของแนวความคิดเรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ สร้างความตระหนักรู้ในการเคารพธรรมชาติ ปฏิบัติตามธรรมชาติ และปกป้องธรรมชาติ ปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ หมุนเวียน และยั่งยืน ในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ และร่วมกันสร้างระบบการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เสมอภาคและความเป็นธรรม ที่มีความร่วมมือแบบได้ประโยชน์ทุกฝ่ายเพื่อปกป้องโลกซึ่งเปรียบเสมือนบ้านของเราที่มนุษย์เราต้องพึ่งพาอาศัย

กระแสตามยุคสมัยที่มีการพัฒนาอย่างสันติและความร่วมมือแบบเอื้อประโยชน์ทุกฝ่ายนั้นไม่อาจหยุดยั้งได้ การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติถือเป็นอนาคตของผู้คนทั่วโลก ผมเชื่อว่าด้วยความพยายามร่วมกันของจีนและไทย การสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนมากขึ้นย่อมจะประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาความมั่นคงในระยะยาวร่วมกัน และความเจริญรุ่งเรืองที่ยั่งยืนของทั้งสองประเทศและจะมีส่วนช่วยในการบรรลุวิสัยทัศน์ที่สวยงามในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts